ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ไบเดนหารือวิโดโดนอกรอบการประชุม COP26 ถกปัญหาเร่งด่วนโลกและประเด็นอาเซียน


Presiden Joko Widodo (kiri) berbicara dengan Presiden AS Joe Biden (kanan) dalam pertemuan bilateral pada Konferensi Perubahan Iklim PBB COP26 di Glasgow, Skotlandia, pada 1 November 2021. (Foto: AFP/Brendan Smialowski)
Presiden Joko Widodo (kiri) berbicara dengan Presiden AS Joe Biden (kanan) dalam pertemuan bilateral pada Konferensi Perubahan Iklim PBB COP26 di Glasgow, Skotlandia, pada 1 November 2021. (Foto: AFP/Brendan Smialowski)
US Indonesia Meeting at Cop26
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:33 0:00


เมื่อวันจันทร์ ระหว่างการประชุม COP26 ที่สกอตแลนด์ ประธานาธิบดีไบเดนของสหรัฐฯ พบหารือนอกรอบกับประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย โดยมีประเด็นการสนทนาที่ครอบคลุมเรื่องต่างๆ นับตั้งแต่ปัญหาเร่งด่วนของโลก บทบาทของอาเซียน และวิกฤติทางการเมืองในเมียนมา

โดยการหารือนอกรอบระหว่างผู้นำสหรัฐฯ กับผู้นำของอินโดนีเซียดังกล่าวเป็นการพบปะโดยตรงแบบตัวต่อตัวครั้งแรกหลังจากที่ประธานาธิบดีไบเดนเข้ารับตำแหน่ง และผู้นำสหรัฐฯ กล่าวว่าอินโดนีเซียเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของสหรัฐฯ และการเป็นผู้นำของอินโดนีเซียในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกก็มีความสำคัญเช่นกัน

ส่วนประธานาธิบดีวิโดโดเองได้ขอบคุณสหรัฐฯ เรื่องการบริจาควัคซีนโควิด-19 จำนวน 13.4 ล้านโดสผ่านโครงการแบ่งปันวัคซีน COVAX ด้วย

ระหว่างการหารือนอกรอบที่ใช้เวลาเกือบ 1 ชั่วโมงครั้งนี้ผู้นำทั้งสองได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ตั้งแต่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การแก้ไขปัญหาโรคระบาดใหญ่โควิด-19 เสรีภาพของการเดินเรือในทะเลจีนใต้ ปัญหาการเมืองในเมียนมา รวมทั้งการกระชับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ กับอินโดนีเซียด้วย ซึ่งประธานาธิบดีไบเดนก็ได้เน้นย้ำความมุ่งมั่นผูกพันของสหรัฐฯ ต่อความเป็นแกนกลางของอาเซียนและสนับสนุนมุมมองหรือวิสัยทัศน์ของอาเซียนต่อภูมิภาคเอเชียอินโดแปซิฟิก เช่นกัน

เท่าที่ผ่านมาอินโดนีเซียในฐานะหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งและประเทศผู้มีบทบาทสำคัญในสมาคมอาเซียนได้ยึดหลักเรื่องการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดโดยพยายามสร้างความสมดุลย์และไม่ทำให้วอชิงตันหรือปักกิ่งขุ่นเคืองใจ

แต่ขณะนี้สหรัฐฯ ต้องการให้อินโดนีเซียมีบทบาทท่าทีที่แข็งขันมากขึ้นเกี่ยวกับการล่วงล้ำอาณาเขตของจีน โดยเฉพาะในบริเวณทะเลจีนใต้ ทั้งนี้ตามความเห็นของคุณ Lucas Myers ผู้ประสานงานโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของศูนย์ Wilson Center ในสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตามความพยายามในเรื่องนี้ของสหรัฐฯ ก็อาจจะต้องพบปัญหาบางอย่างได้ เพราะคุณ Aaron Connelly นักวิจัยของสถาบัน International Institute for Strategic Studies ได้ชี้ว่าปักกิ่งก็พยายามเอาชนะใจอินโดนีเซียผ่านทางการทูตวัคซีนและโครงการลงทุนจำนวนมหาศาลในระบบโครงสร้างพื้นฐานของอินโดนีเซียเช่นกัน

ซึ่งเรื่องนี้ก็ดูเหมือนจะสะท้อนให้เห็นได้จากการให้สัมภาษณ์กับวีโอเอภาคภาษาอินโดนิเซียโดยนาย Luhut Pandjaitan รัฐมนตรีผู้ประสานงานด้านการลงทุนและกิจการทางทะเลของอินโดนีเซียที่ว่าอินโดนีเซียก็ต้องการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ แต่บางครั้งก็ได้พบปัญหาเพราะขณะนี้จีนเป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซียด้วยตัวเลขการลงทุน 4,800 ล้านดอลลาร์และตัวเลขการค้ากว่า 7 หมื่น 8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 ที่ผ่านมา

ทางด้านคุณ Marc Mealy รองผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายของ U.S. - Asean Business Council ได้แสดงความหวังว่าความพยายามปฏิรูปเศรษฐกิจของประธานาธิบดีวิโดโดกำลังช่วยพัฒนาขีดความสามารถของอินโดนีเซียในการแข่งขันเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูง เช่น การทำเหมืองและรถยนต์ไฟฟ้า และเป็นที่คาดหวังได้ว่าสิ่งที่ธุรกิจอเมริกันจะให้ความสำคัญและความสนใจในอินโดนีเซียจะรวมถึงเรื่องธุรกิจการดูแลสุขภาพ การพัฒนาทรัพยากรประเภทหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นต้น

และนอกจากประเด็นเรื่องเศรษฐกิจแล้ว ผู้นำของสหรัฐฯ กับอินโดนีเซียยังเรียกร้องร่วมกันให้รัฐบาลทหารเมียนมายุติความรุนแรงและปล่อยนักโทษการเมือง โดยทั้งคู่เห็นพ้องต้องกันว่ารัฐบาลทหารของเมียนมาต้องทำให้ประเทศกลับคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตยโดยเร็วด้วย


ที่มา: VOA

XS
SM
MD
LG