ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ตัวเลขสถิติชี้ "เเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในขั้วโลกใต้" เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์


Antartica
Antartica

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าขั้วโลกใต้เป็นจุดสุดท้ายบนโลกที่ระดับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นไปอยู่ที่ 400 ส่วนต่อล้านส่วน

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:33 0:00
Direct link

ผู้เชี่ยวชาญแห่งสำนักงานด้านสมุทรศาสตร์และบรรยากาศโลกแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NOAA ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบในการเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางทะเลและบรรยากาศโลก เปิดเผยว่า ขั้วโลกใต้ก็ตกที่นั่งเดียวกันกับพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลก ที่ระดับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น เพียงเเต่เกิดขึ้นช้ากว่าเขตอื่นๆ เท่านั้น

คุณ Pieter Tans หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ประจำฝ่าย Global Greenhouse Gas Reference Network แห่งสำนักงาน NOAA ชี้ว่า ขั้วโลกใต้เป็นจุดสุดท้ายบนโลกนี้ที่ระดับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้นในระดับ 400 ส่วนต่อหนึ่งล้าน เขากล่าวว่าระดับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกจะไม่กลับไปอยู่ต่ำกว่า 400 ส่วนต่อหนึ่งล้าน ในช่วงชีวิตของคนเรา

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าระดับเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มักจะเพิ่มสูงขึ้นในที่ฤดูหนาว เนื่องจากในช่วงหน้าร้อน ต้นไม้ในพื้นที่ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรช่วยดูดซับเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ได้ส่วนหนึ่ง แต่สำนักงาน NOAA ชี้ว่า ต้นไม้มีบทบาทช่วยดูดซับเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แต่ต้นไม้เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอในการลดระดับ CO2 ลง

เพราะระดับเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นทุกปีมาตั้งเเต่ปี ค.ศ. 1958 หรือราว 58 ปีที่แล้วตอนที่เริ่มมีการตรวจวัด

สำนักงาน NOAA เปิดเผยว่า เมื่อปีที่แล้วระดับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกอยู่ที่ 399 ส่วนต่อหนึ่งล้าน ซึ่งทำให้เชื่อว่าเป็นไปได้อย่างมากที่ในปีนี้ระดับเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 400 ส่วนต่อหนึ่งล้านหรือมากกว่านั้น

อัตราการเพิ่มขึ้นของ CO2 ต่อปี เพิ่มเเบบก้าวกระโดดขึ้นไปถึง 3 ส่วนต่อล้านเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเพิ่มสูงมากขึ้นในคราวเดียว โดยเพิ่มมากที่สุดเท่าที่ตั้งเเต่เคยมีการตรวจวัดมา

คุณ Tans แห่ง NOAA กล่าวว่า เป็นที่รู้กันดีอยู่เเล้วว่าการเพิ่มขึ้นของระดับเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการปล่อยควันเสียที่เกิดจากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นในระดับที่สูงมาก ทำให้ระดับเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

และแก๊สเรือนกระจกเหล่านี้จะคงอยู่ในชั้นบรรยากาศโลกไปอีกนานหลายพันปี!

(รายงานโดย VOA News / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว )


XS
SM
MD
LG