ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สตรีฝีมือดีมีโอกาสเป็นวาทยากรวงดุริยางค์ระดับโลกเพียง 6%


Korean-American contestant Holly Hyun Choe conducts during La Maestra. She currently conducts in Switzerland. (L. Bryant/VOA)
Korean-American contestant Holly Hyun Choe conducts during La Maestra. She currently conducts in Switzerland. (L. Bryant/VOA)
Classical Music Gender Imbalance
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:26 0:00

ในโลกยุคปัจจุบัน สตรีมีบทบาทสำคัญโดดเด่นมากขึ้นในหลายอาชีพหลายวงการที่ผู้ชายเคยยึดครองอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในภาคธุรกิจ กีฬา หรือการเมืองก็ตาม แต่ยังมีงานด้านหนึ่งซึ่งผู้หญิงมีสัดส่วนอยู่เพียงแค่ 6% เท่านั้น นั่นคือการเป็นวาทยากรวงดนตรีประเภท orchestra หรือ วงดุริยางค์ ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลากหลายชนิดระดับโลก

การแข่งขันระหว่างประเทศ La Maestra ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในเดือนนี้ เพื่อคัดเลือกนายวงดนตรีหญิงมุ่งจะแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะขณะนี้เส้นทางอาชีพของสตรี โดยเฉพาะโอกาสการเป็นนายวง หรือ วาทยากร ของวงดุริยางค์ประเภทออเคสตร้านี้ ยังมีอยู่ค่อนข้างจำกัด คือโดยเฉลี่ยแล้วมีเพียง 6% ของวงดุริยางค์อาชีพประเภทคลาสสิคออเคสตร้าทั่วโลกเท่านั้นที่มีผู้หญิงเป็นนายวง

และสัดส่วนดังกล่าวต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น ในเบลเยียม สตรีที่นั่นดูจะโชคดีกว่าที่ได้ทำหน้าที่เป็นวาทยากร หรือ conductor ถึง 40% แต่ในฝรั่งเศส มีผู้หญิงที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนี้ได้เพียงแค่ 3% ส่วนในสหรัฐฯ ตัวเลขนี้อยู่ที่ 8%

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันระหว่างประเทศชื่อ La Maestra ที่กรุงปารีส มุ่งจะแก้ความไม่สมดุลดังกล่าว เพราะเป็นการแข่งขันเพื่อมุ่งคัดเลือกและส่งเสริมวาทยากรหญิงฝีมือระดับโลก โดยมีสตรีผู้สนใจจะก้าวขึ้นเป็นนายวงระดับโลกทั้งจากเอเชีย ยุโรป และทวีปอเมริการ่วมสมัครถึงกว่า 200 คน ซึ่งผู้ที่ชนะตำแหน่งที่หนึ่ง สอง และสาม จะได้รับการฝึกจากพี่เลี้ยงมืออาชีพอย่างเข้มงวดเป็นเวลาสองปี และได้รับความสนับสนุนด้านอื่น ๆ เพื่อให้สามารถก้าวขึ้นเป็นวาทยากรของวงดุริยางค์ออเคสตร้าระดับโลกได้

คุณลอเรน เบล ผู้อำนวยการวงดนตรี Paris Philharmonic ซึ่งร่วมจัดการแข่งขันระหว่างประเทศครั้งนี้ บอกว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของสตรีในเรื่องอาชีพวาทยากร คือทั้งในด้านวัฒนธรรมและจากการหวงอำนาจของผู้ชาย เพราะผู้ชายมักจะเป็นผู้บริหารองค์กรหรือสถาบันดนตรีที่สำคัญ และอยากเก็บอำนาจควบคุมนี้ไว้กับตัวเอง เลยไม่อยากให้สตรีได้มีโอกาสก้าวขึ้นมา

ในการแข่งขันเพื่อคัดเลือกวาทยากรสตรีระดับโลกที่กรุงปารีสเดือนนี้ มีข้อแตกต่างบางอย่างซึ่งอาจจะช่วยให้สตรีผู้มีความสามารถทางดนตรีและในการเป็นวาทยากร เสียเปรียบน้อยลง เนื่องจากนอกจากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดจะเป็นสตรีแล้ว ประธานกรรมการตัดสินก็เป็นสตรีผู้เป็นนายวงดนตรีประเภทออเคสตร้าด้วยตัวเอง และคณะกรรมการก็ประกอบด้วยผู้ชายกับผู้หญิงจำนวนเท่า ๆ กันด้วย

สตรีผู้เข้าร่วมแข่งขันเพื่อรับการคัดเลือกเป็นวาทยากรของวงดนตรีออเคสตร้าระดับโลกครั้งนี้มีความรู้สึกแตกต่างกันไป อย่างเช่น คุณซารา คาเนวา จากอิตาลี บอกว่า เธอรู้สึกเครียดและตื่นเต้นเพราะไม่ได้ทำหน้าที่ผู้นำวงมานานจากปัญหาโควิด-19

ส่วนคุณฮอลลี่ เฮียน โช จากสหรัฐฯ ซึ่งตอนนี้เป็นนายวงอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ มีความมั่นใจและหวังว่าถ้าโชคช่วยบวกกับความสามารถและการฝึกซ้อมอย่างหนัก เธอก็คิดว่าคงจะมีโอกาสก้าวขึ้นสู่การเป็นวาทยากรของวงดุริยางค์ออเคสตร้าระดับระหว่างประเทศคนหนึ่งได้เช่นกัน และว่า คงไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรที่จะมีความหวัง มีความฝัน และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

XS
SM
MD
LG