ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'เกมจับผิดภาพ' ไขความลับการมองเห็นและการพรางตัวของสัตว์


นักวิจัยสัตว์ใช้ "วิดีโอเกมจับผิดภาพ" ในการทำความเข้าใจความแตกต่างในการมองเห็นของสัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งประเภทที่มองเห็นสีปกติและตาบอดสี โดยมีอาสาสมัคร 3 หมื่นคนลองเล่นเกมนี้ ซึ่งให้ผลที่น่าประหลาดใจถึงการพรางตัวของเหยื่อ และการเรียนรู้ของผู้ล่าตามธรรมชาติ

Nightjar หรือ "นกตบยุง" แอบซ่อนอยู่ในดินบนภาพถ่ายธรรมชาติ ยากต่อการตามหาหรือถูกล่า เพราะมันกำลังพรางตัวจากนักล่าตาบอดสี ที่ไม่สามารถมองเห็นสีแดงและสีเขียว

ในขณะที่มนุษย์เราที่มีจอประสาทตารับสีปกตินั้น จะมองเห็นนกตัวนี้แตกต่างออกไป

'เกมจับผิดภาพ' ไขความลับการมองเห็นและการพรางตัวของสัตว์
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:20 0:00

จูลเยน โทรเชงโก จาก University of Exeter บอกว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ตาบอดสี และพวกมันมีวิวัฒนาการให้มองเห็นสีปกติได้ไม่ยากนัก จึงเป็นเรื่องน่าแปลกที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจำนวนมากยังตาบอดสี ซึ่งนั่นอาจหมายถึงว่า ภาวะตาบอดสีอาจมีประโยชน์ต่อพวกมันก็ได้

เพื่อให้เข้าใจข้อได้เปรียบของภาวะตาบอดสีในสัตว์เหล่านี้ จูลเยนและทีมวิจัยสัตว์จาก University of Exeter ได้ออกแบบเกมออนไลน์ ที่เรียกว่า “Where is that Nightjar?” หรือ “นกตบยุงอยู่ไหน?” ซึ่งใช้รูปแบบการพรางตัวตามธรรมชาติของนกทั้ง 2 โมเดล นั่นคือ การจำแนกระหว่างนกตบยุงที่สร้างรังบนพื้น กับรังของนกต่างๆที่อยู่บนพื้น เพื่อให้รอดพ้นจากเงื้อมมื้อของนักล่าที่มองเห็นสีได้ตามปกติและตาบอดสี

ทีมงานได้นำภาพของรังนกเหล่านี้มาใช้ในวิดีโอเกม เพื่อให้อาสาสมัคร 3 หมื่นคนเข้ามาเล่นจับผิดภาพและตามหานกให้ได้โดยเร็วที่สุด โดยให้พวกเขาเลือกว่าจะเป็น "ลิง" นักล่าที่มีสายตาปกติ หรือจะเป็น "พังพอน" ที่เป็นนักล่าตาบอดสี

ผลการวิจัยผ่านวิดีโอเกมครั้งนี้ พบว่า ในตอนแรกสัตว์ที่มีสายตาปกติสามารถมองหานกและไข่นกได้รวดเร็วกว่า แต่เมื่อผ่านไปหลายๆด่าน กลับพบว่า สัตว์ที่มีภาวะตาบอดสี จะแยกแยะระหว่างแสงและเงาได้ดีกว่า และค้นหาเหยื่อที่พรางตัวตามธรรมชาติได้ดีขึ้นจนเทียบเท่าสัตว์ที่สายตาปกติได้

จูลเยน บอกด้วยว่า นี่ถือเป็นองค์ประกอบใหญ่ของการเรียนรู้ความสำคัญของการพรางตัวที่ถูกมองข้ามไปในอดีต กล่าวคือ เมื่อสัตว์ป่านักล่าชนิดหนึ่งเสาะหาเหยื่อที่พรางตัวตามธรรมชาติได้เร็วกว่าอีกชนิดแล้ว อาจช่วยเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ที่สะท้อนถึงข้อบกพร่องของการพรางตัว เนื่องจากสัตว์ที่เป็นนักล่าสามารถเรียนรู้เทคนิคพรางตัวของเหยื่อได้เมื่อเวลาผ่านไป

การวิจัยผ่านวิดีโอเกมนี้ได้เผยแง่มุมที่น่าสนใจในการพรางตัวและการมองเห็นของสัตว์ ที่อาจต่อยอดในแวดวงการทหาร ในการพัฒนาทักษะและการผลิตอุปกรณ์เพื่อให้เหมาะสมกับการพรางตัวของเหล่าทหารในอนาคต.

XS
SM
MD
LG