ลิ้งค์เชื่อมต่อ

มันก็จะลำบากหน่อยๆ! 'กูเกิ้ล' ใช้ช้าง อูฐ และวิธีใหม่ๆ ช่วยแก้ปัญหาเก็บภาพทำแผนที่ในดินแดนห่างไกล



หลายคนคงคุ้นเคยกับภาพแผนที่ของ Google ที่แสดงรูปพื้นที่จริงในระดับสายตา เพื่อทำให้ผู้ใช้รู้สึกถึงสภาพทางกายภาพของสถานที่ได้มากขึ้น

เมื่อการสร้างแผนที่ครอบคลุมพื้นที่หลักๆ เช่นเมืองใหญ่ๆ ไปเรียบร้อยแล้ว Google พยายามเข้าให้ถึงจุดที่ต้องผ่านความยากลำบาก

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทรู้สึกท้าทายที่จะทำอะไรใหม่ๆ ในขณะเดียวกันการสร้างแผนที่ที่สมบูรณ์สามารถสร้างผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้

The Wall Street Journal รายงานโดยอ้างการศึกษาจากบริษัทที่ปรึกษา BIA/Kelsey ว่ามูลค่าโฆษณาที่ใช้ข้อมูลสถานที่ของลูกค้าเป็นปัจจัยนำเสนอ อาจเพิ่มเป็น 32,000 ล้านดอลลาร์ในอีก 4 ปีจากนี้ จาก 12,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว

Google เคยพยายามเก็บภาพป่าในประเทศไทยจากกล้องที่ติดอยู่กับช้าง และภาพทะเลทรายจากหลังอูฐในสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตามรายงานของ The Wall Street Journal

แต่ในประเทศออสเตรเลีย สื่อสหรัฐฯ ฉบับนี้บอกว่า ณ สถานที่ทางธรรมชาติที่ห่างไกลเมืองใหญ่อย่าง “อูลูรู” (Uluru) หรือ Ayers Rock จุดท่องเที่ยวที่อยู่ห่างจากนครซิดนีย์เกือบ 3,000 กิโลเมตร ชนเผ่าพื้นเมืองเห็นว่าบางตำแหน่งของ “อูลูรู” เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และห้ามถ่ายภาพ

ในกรณีดังกล่าว Google ยอมทำตามความเชื่อท้องถิ่นของเผ่าอะบอริจิน

ส่วนในกัมพูชา การถ่ายภาพ Google ในโครงการสร้างแผนที่ต้องหยุดชะงัก เพราะอุปกรณ์สำคัญนี้ถูกรุมทำลายโดยกลุ่มลิงที่นั่น!

A Cambodian technician carries a back-packa mounted with a device housing 15 cameras as he demonstrates the technique used to digitally map the Angkor Wat temple, part of the Angkor architectural complex in north-western Cambodia on April 3, 2014.
A Cambodian technician carries a back-packa mounted with a device housing 15 cameras as he demonstrates the technique used to digitally map the Angkor Wat temple, part of the Angkor architectural complex in north-western Cambodia on April 3, 2014.

(รายงานโดย Wall Street Journal / เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)

XS
SM
MD
LG