ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ธุรกิจ: "เดลต้า" เพิ่มมาตรการควบคุมผู้โดยสารนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบิน


FILE - Passengers check-in their luggage at the Delta counter at Hartsfield-Jackson Atlanta International Airport, in Atlanta, Sept. 27, 2013.
FILE - Passengers check-in their luggage at the Delta counter at Hartsfield-Jackson Atlanta International Airport, in Atlanta, Sept. 27, 2013.

คนอเมริกันซื้อสินค้าอาหารออนไลน์มากขึ้น

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:53 0:00

สายการบิน "เดลต้า" เพิ่มมาตรการควบคุมผู้โดยสารนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่อง

สายการบิน เดลต้า แอร์ (Delta Air) ซึ่งเป็นสายการบินใหญ่อันดับสองของสหรัฐฯ เพิ่มความเข้มงวดสำหรับผู้โดยสารที่ต้องการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบินไปด้วย หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยงหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีมานี้

โดยตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้ สายการบิน Delta กำหนดให้ผู้โดยสารที่ต้องการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบิน ต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมที่ระบุถึงความจำเป็นที่ต้องนำสัตว์เลี้ยงตัวนั้นไปด้วย รวมทั้งหลักฐานการฉีดวัคซีนและรับรองการฝึกมาแล้วครบถ้วน เป็นเวลา 48 ชั่วโมงก่อนหน้าการเดินทาง

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 เป็นต้นมา ปริมาณการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบินเพิ่มขึ้นราว 150% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุนัขที่เดินทางพร้อมกับผู้โดยสารที่ทุพพลภาพ ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง เช่น ปัสสาวะหรืออุจจาระเรี่ยราด การติดเชื้อ หรือการกัดผู้โดยสารคนอื่นๆ เพิ่มขึ้นถึง 84% เช่นกัน

โดยนอกจากสุนัขแล้ว ยังมีสัตว์เลี้ยงประเภทอื่นๆ ที่เดินทางพร้อมกับผู้โดยสาร รวมทั้ง ไก่งวง ตัวพอสซั่ม งู และแมงมุม ด้วย

คนอเมริกันซื้อสินค้าอาหารออนไลน์มากขึ้น

รายงานจากสถาบัน Food Marketing ซึ่งตรวจสอบการซื้อสินค้าประเภทอาหารสดและอาหารแห้งออนไลน์ ระบุว่า ปริมาณการช้อปปิ้งซื้อสินค้าทางซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ของคนอเมริกันนั้น เพิ่มขึ้นในอัตราก้าวกระโดด และคาดว่าจะมียอดขายราว 100,000 ล้านดอลลาร์ ภายในปี ค.ศ. 2025 ซึ่งคิดเป็น 2-4% ของปริมาณการซื้อสินค้าตามซุปเปอร์มาร์เก็ตทั้งหมดในสหรัฐฯ

ขณะเดียวกัน สำนักวิจัย Gallop ชี้ว่า ปัจจุบันคนอเมริกันราว 20% ซื้อสินค้าบริโภคออนไลน์ แต่มีเพียง 9% ที่ซื้ออาหารสดทางอินเทอร์เน็ต

โดยเว็บไซต์ Amazon.com นำเป็นอันดับหนึ่งของแหล่งซื้อสินค้าบริโภคออนไลน์มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 18% หรือราว 2,000 ล้านดอลลาร์

XS
SM
MD
LG