ลิ้งค์เชื่อมต่อ

โบอิ้ง เล็งลดพนักงานเพิ่มเพราะโควิด-19 และปัญหาเครื่องรุ่น 737 MAX


Financial Markets Wall Street Boeing
Financial Markets Wall Street Boeing
ฺBusiness News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:21 0:00


บริษัท โบอิ้ง ผู้ผลิตเครื่องบินสัญชาติอเมริกัน รายงานตัวเลขขาดทุนติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 จากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 และคำสั่งห้ามนำเครื่องรุ่น 737 Max ขึ้นบิน ที่ทำให้ยอดขายทรุดหนักต่อเนื่อง

สำนักข่าว รอยเตอร์ส รายงานว่า วิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้การเดินทางทางอากาศทั่วโลกแทบจะหยุดนิ่งเป็นเวลาหลายเดือน และทำให้สายการบินหลายแห่งมีปัญหาทางการเงินจนเกือบล้มละลาย และต้องลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งรวมถึงการชะลอการรับการส่งมอบเครื่องบินลำใหม่ หมายถึงการขาดรายได้และการมีค่าใช้จ่ายรวมกันเป็นเงินกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สำหรับโบอิ้งไปแล้ว

เดฟ แคลฮูน ซีอีโอ ของ โบอิ้ง ส่งหนังสือเวียนให้กับพนักงานในวันพุธ ที่ระบุว่า บริษัทมีแผนจะลดการจ้างงานราว 30,000 ตำแหน่ง ด้วยวิธีขายหุ้นของบริษัท เลิกจ้าง และลดขนาดทีมงานภายในสิ้นปีหน้า โดยตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าที่โบอิ้งวางแผนไว้ก่อนหน้าถึงเกือบเท่าตัว

ทั้งนี้ สภาพธุรกิจที่ย่ำแย่ในช่วงที่ผ่านมาทำให้โบอิ้งประกาศลดการผลิตไปบางส่วน และเลิกจ้างพนักงานหลายพันตำแหน่ง จากจำนวนพนักงานทั่วโลกที่มีอยู่ราว 130,000 คน

FILE PHOTO: Boeing 737 Max aircraft are parked in a parking lot at Boeing Field in this aerial photo taken over Seattle
FILE PHOTO: Boeing 737 Max aircraft are parked in a parking lot at Boeing Field in this aerial photo taken over Seattle

แคลฮูน ยังคาดการณ์ด้วยว่า บริษัทจะได้รับการอนุมัติให้นำส่งเครื่องรุ่น 737 Max ภายในไตรมาสที่ 4 ของปี หลังเกิดอุบัติเหตุเครื่องรุ่นดังกล่าวตกที่เอธิโอเปียและอินโดนีเซีย และทำให้มีการระงับการบินเครื่องรุ่นนี้มาตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีที่แล้ว พร้อมคาดว่า การเดินทางทางอากาศในช่วงสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 30-35 เปอร์เซ็นต์ของช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว ก่อนที่สถานการณ์จะกลับคืนสู่สภาวะปกติภายใน 3 ปี

รายงานข่าวระบุว่า มีการประเมินว่า สำนักงานควบคุมการบินของรัฐบาลสหรัฐฯ หรือ FAA จะยกเลิกคำสั่งห้ามนี้ในเดือนหน้าเป็นอย่างเร็ว และหากข้อเสนอของบริษัทในการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมซอฟต์แวร์และการอบรบต่างๆ ได้รับอนุมัติ สายการบินที่ใช้เครื่องรุ่นนี้จะสามารถทำการบินได้อีกครั้งในปีหน้า

ขณะเดียวกัน เกรก สมิทธ์ ผู้บริหารของโบอิ้งที่ดูแลด้านบัญชีและการเงิน หรือ CFO กล่าวว่า ทางบริษัทมีแผนที่จะลดการผลิตเครื่องบินรุ่น 787 เพิ่มเติม หากมีความจำเป็น หลังนักวิเคราะห์บางรายตั้งข้อสังเกตว่า การที่โบอิ้งตัดสินใจลดการผลิตล่าช้าทำให้บริษัทมีเครื่องรอนำส่งอยู่ในมือแล้วถึง 50 ลำในเวลานี้

แคลฮูน ซี บอกกับนักวิเคราะห์ว่า เขาคาดว่า ครึ่งหนึ่งของเครื่องบินในกลุ่ม MAX จำนวน 450 ลำที่ผลิตเสร็จแล้ว น่าจะมีการส่งมอบให้กับสายการบินที่เป็นลูกค้าได้ภายในสิ้นปีหน้า และส่วนที่เหลือประมาณ 225 ละจะเริ่มทยอยนำส่งในปีค.ศ. 2022

XS
SM
MD
LG