ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สภาล่างสหรัฐฯ ยัน โบอิ้ง-การบินสหรัฐฯ ต้องรับผิดชอบเหตุเครื่องบินรุ่น 737 Max ตก


FILE PHOTO: Boeing 737 Max aircraft are parked in a parking lot at Boeing Field in this aerial photo taken over Seattle
FILE PHOTO: Boeing 737 Max aircraft are parked in a parking lot at Boeing Field in this aerial photo taken over Seattle
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:32 0:00


คณะทำงานของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ที่ดูแลการสอบสวนกรณีอุบัติเหตุเครื่องบินโบอิ้ง 737 แม็กซ์ (Boeing 737 Max) ตกที่เอธิโอเปียและอินโดนีเซีย สรุปผลหลังการทำงานนาน 18 เดือนว่า ผู้ผลิตเครื่องบินสัญชาติอเมริกัน และสำนักงานควบคุมการบินของรัฐบาลสหรัฐฯ หรือ FAA ต่างมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้น

รายงานการสอบสวนของคณะกรรมาธิการด้านคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ที่ออกมาเมื่อวันพุธ ตามเวลาท้องถิ่น ระบุว่า เหตุการณ์ที่เครื่องบินรุ่นดังกล่าวของสายการบิน เอธิโอเปียน แอร์ไลน์ส เที่ยวบินที่ 302 ตก ใกล้กรุงแอดดิสอาบาบา เมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2019 ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือรวม 157 คนเสียชีวิต รวมทั้ง กรณีเที่ยวบินของ ไลออนแอร์ ตกเมื่อเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2018 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 189 คน “ไม่ได้เกิดขึ้นจาก ความล้มเหลว หรือ ความผิดพลาดทางเทคนิค หรือการจัดการที่ผิดพลาด ณ จุดใดจุดหนึ่ง” แต่เป็น “ผลลัพธ์อันน่าสยดสยอง ของการตั้งสมมติฐานด้านเทคนิคที่ผิดพลาดติดต่อกันมาหลายครั้งโดยวิศวกรของโบอิ้ง และ การขาดความโปร่งใสในการบริหารงานของบริษัท รวมทั้ง การตรวจสอบโดย FAA ที่บกพร่องอย่างมาก”

บริษัทโบอิ้ง ได้ออกมายอมรับว่าตนทำพลาดในหลายเรื่องและได้เรียนรู้จากเหตุสลดทั้งหมดที่เกิดขึ้น พร้อมยืนยันให้ความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการสภาล่าง และทำการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่สำหรับเครื่องบินรุ่นนี้โดยทีมงานวิศวกรกว่า 375,000 นาย รวมทั้งทำการบินทดสอบทั้งบนพื้น และในอากาศถึง 1,300 เที่ยวบินด้วย

ในส่วนของ FAA นั้น หน่วยงานกำกับดูแลกิจการการบินของสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ที่ระบุว่า พร้อมจะทำงานกับรัฐสภาเพื่อปรับปรุงจุดต่างๆ ตามที่รายงานระบุมา

ทั้งนี้ รายละเอียดในรายงานสรุปการสอบสวนได้เสนอการปฏิรูปในหลายจุดให้กับ FAA ในด้านการออกใบรับรองเครื่องบิน ขณะที่คณะกรรมาธิการวุฒิสภาชุดที่เกี่ยวข้องจะรับร่างกฎหมายประเด็นนี้ขึ้นพิจารณาต่อไป

XS
SM
MD
LG