ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ปธน.ไบเดน สั่งทบทวนจุดอ่อนห่วงโซ่อุปทานสหรัฐฯ


FILE - President Joe Biden signs an executive order, in the Oval Office of the White House, in Washington, Feb. 2, 2021.
FILE - President Joe Biden signs an executive order, in the Oval Office of the White House, in Washington, Feb. 2, 2021.
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:44 0:00


ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เตรียมออกคำสั่งให้มีการทบทวนหาจุดอ่อนของห่วงโซ่อุปทานสำหรับภาคการผลิตสำคัญๆ ในสหรัฐฯ ภายใน 100 วัน หลังอุตสาหกรรมรถยนต์ประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนจำเป็นอย่างหนัก

หนังสือพิมพ์ The Washington Post รายงานว่า ปธน.ไบเดน จะลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารในวันพุธตามเวลาท้องถิ่น มีจุดประสงค์ที่จะช่วยป้องกันสหรัฐฯ ไม่ให้ต้องประสบปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น หน้ากากอนามัย และถุงมือ อย่างที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วระหว่างที่การระบาดของโควิด-19 กระจายไปทั่วประเทศ

รายงานข่าวระบุว่า คำสั่งล่าสุดจากปธน.ไบเดนนี้ เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายคาดหมายไว้ก่อนแล้ว และเป็นหนึ่งในคำสัญญาตามนโยบายหาเสียงของผู้นำสหรัฐฯ

แต่ขณะที่การสั่งให้หน่วยงานรัฐต่างๆ ทำการศึกษาหาจุดอ่อนในด้านนี้เป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก การปรับเปลี่ยนสายการผลิตของสหรัฐฯ เอง และการลดการพึ่งพาซัพพลายเออร์จากต่างประเทศ ที่ดำเนินมานานนับทศวรรษ น่าจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยากและมีต้นทุนสูงมากพอควร

สำนักข่าว บลูมเบิร์ก ประเมินว่า กระบวนการทั้งหมดนี้น่าจะใช้เวลาหลายเดือน ขณะที่การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เป็นปัญหาของอุตสาหกรรมรถในการประกอบระบบความบันเทิงไฮเทคและระบบนำร่องสำหรับยานยนต์รุ่นใหม่นั้นยังไม่มีทางออก และทำให้โรงงานหลายแห่งต้องหยุดพักการผลิตอยู่ในขณะนี้

ทั้งนี้ บลูมเบิร์ก รายงานว่า การทบทวนห่วงโซ่อุปทานครั้งนี้จะครอบคลุมไปถึงด้านอื่นๆ เช่น แบตเตอรี่กำลังสูง ส่วนประกอบด้านเภสัชกรรม แร่สำคัญๆ และวัสดุที่มีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ เช่น ธาตุโลหะหายาก เป็นต้น ตามข้อมูลจากทำเนียบขาว

นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ประจำทำเนียบขาวรายหนึ่งที่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ ยืนยันว่า คำสั่งนี้ไม่ได้พุ่งเป้าไปยังประเทศจีนหรือประเทศใดโดยเฉพาะเจาะจง แต่เป็นความพยายามที่จะกระจายแหล่งที่มาของชิ้นส่วนและวัสดุสำหรับภาคการผลิต แต่เรื่องการพึ่งพาจีนและประเทศที่เป็นปฏิปักษ์ทั้งหลาย ในการจัดส่งสินค้าที่มีความสำคัญ ยังคงเป็นประเด็นความเสี่ยงที่จะต้องถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาอยู่ดี

XS
SM
MD
LG