ลิ้งค์เชื่อมต่อ

องค์การอนามัยโลกเร่งให้วัคซีนป้องกัน 'เชื้ออหิวาต์ระบาด' ในค่ายผู้ลี้ภัยโรฮิงจะ


A Rohingya refugee child washes utensils in the Balukhali refugee camp in Cox's Bazar, Bangladesh, Oct. 6, 2017.
A Rohingya refugee child washes utensils in the Balukhali refugee camp in Cox's Bazar, Bangladesh, Oct. 6, 2017.

เวลานี้ องค์การอนามัยโลก และกองทุนเด็กของสหประชาชาติ ได้เริ่มโครงการให้วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค แก่เด็กๆ ชาวมุสลิมโรฮิงจะในค่ายผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดนบังกลาเทศแล้ว เพื่อป้องกันการระบาดของโรคนี้ในค่ายผู้ลี้ภัยดังกล่าว ซึ่งมีชาวโรฮิงจะอาศัยอยู่หลายแสนคน

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีรายงานการเกิดโรคท้องร่วง 10,300 ราย ในค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงจะ บริเวณเขต Cox’s Bazar ของบังกลาเทศ ซึ่งมีชาวมุสลิมโรฮิงจะจากเมียนมา อาศัยอยู่ราว 500,000 คน

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการระบาดของเชื้ออหิวาต์ในค่ายผู้ลี้ภัยที่ว่านี้แต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน องค์การอนามัยโลก (WHO) กำลังได้เริ่มโครงการให้วัคซีนทางปากเพื่อป้องกันอหิวาตกโรคแก่เด็กๆ หลายแสนคนในค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้ออหิวาต์ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ลี้ภัยที่มีสภาพความเป็นอยู่ยากลำบาก แออัด ขาดสุขอนามัย ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เชื้อโรคชนิดนี้สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว

A Rohingya woman holds her child and stands at a makeshift camp near Kutupalong refugee camp in Cox's Bazar, Bangladesh, Oct. 3, 2017. More than half a million Rohingya have fled from Myanmar to Bangladesh in just over a month, the largest refugee crisis
A Rohingya woman holds her child and stands at a makeshift camp near Kutupalong refugee camp in Cox's Bazar, Bangladesh, Oct. 3, 2017. More than half a million Rohingya have fled from Myanmar to Bangladesh in just over a month, the largest refugee crisis

คุณคริสเตียน ลินด์เมเยอร์ โฆษกขององค์การอนามัยโลก กล่าวกับ VOA ว่าโครงการให้วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคนี้ ถือเป็นครั้งใหญ่อันดับสองรองจากโครงการให้วัคซีนชนิดเดียวกันนี้ที่เฮติ หลังเกิดเหตุการณ์พายุเฮอริเคนแมทธิวถล่มเฮติเมื่อปีที่แล้ว

โดยในการให้วัคซีนรอบแรกนี้มีการตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะสามารถครอบคลุมชาวมุสลิมโรฮิงจะ กว่า650,000 คน ที่เดินทางมาจากรัฐยะไข่ของเมียนมา

คุณลินด์เมเยอร์ ระบุว่าองค์การอนามัยโลกได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ชุดใหญ่ไปยังค่ายผู้ลี้ภัย โดยมีทีมแพทย์เคลื่อนที่กว่า 200 ทีม ที่เข้าร่วมโครงการนี้

สำหรับการให้วัคซีนรอบที่สองจะมีขึ้นในวันที่ 31 ต.ค. ซึ่งจะครอบคลุมถึงเด็กๆ อายุระหว่าง 1 – 5 ขวบ จำนวน 250,000 คน

อย่างไรก็ตาม แม้วัคซีนจะสามารถป้องกันการระบาดของเชื้ออหิวาต์ได้ในระดับหนึ่ง แต่ทางองค์การอนามัยโลกระบุว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งสกปรก การรักษาสุขอนามัย และการเข้าถึงน้ำสะอาด

(ผู้สื่อข่าว Lisa Schlein รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG