ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชวนดูทรัพยากรแร่ในอัฟกานิสถาน 


Afghanistan Mining Gold mine Afghanistan local miners
Afghanistan Mining Gold mine Afghanistan local miners

กลุ่มตาลิบันกลับมามีอำนาจควบคุมแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในอัฟกานิสถานอีกครั้ง หลังถูกโค่นอำนาจไปเมื่อ 20 ก่อน

อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียมของอัฟกานิสถานเคยระบุเมื่อปีค.ศ. 2010 ว่า แหล่งแร่ธรรมชาติในประเทศอาจมีมูลค่าสูงถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่า มูลค่าในปัจจุบันอาจสูงกว่าเดิม โดยเฉพาะหลังจากที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นหลังสถานการณ์การระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสในหลายประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้นในปีนี้ ทำให้ราคาแร่ในปีนี้พุ่งสูงขึ้น

ทั้งนี้ อัฟกานิสถานอุดมไปด้วยแหล่งแร่ต่างๆ เช่น ทองแดง ทองคำ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ยูเรเนียม บอกไซต์ ถ่านหิน แร่เหล็ก แร่หายาก ลิเธียม โครเมียม ตะกั่ว สังกะสี หินอัญมณี ทัลก์ กำมะถัน ทราเวอร์ทีน ยิปซัม และหินอ่อน

สำนักข่าวรอยเตอร์รวบรวมข้อมูลและมูลค่าของแร่ที่สำคัญในอัฟกานิสถาน ตามการประมาณการของกระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียมของอัฟกานิสถานและรัฐบาลสหรัฐฯ

Afghanistan Economy
Afghanistan Economy


ทองแดง

รายงานจากกระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียมของอัฟกานิสถานเมื่อปีค.ศ. 2019 ระบุว่า อัฟกานิสถานมีแหล่งแร่ทองแดงในประเทศเกือบ 30 ล้านตัน

แผนงานการทำเหมืองของกระทรวงที่เผยแพร่ในปีเดียวกันยังประมาณการด้วยว่า มีแร่ทองแดงอีก 28.5 ล้านตันในแหล่งสะสมชั้นหินเนื้อดอกที่ยังไม่ถูกสำรวจ ทำให้อัฟกานิสถานมีแร่ทองแดงในประเทศรวมกันทั้งสิ้นเกือบ 60 ล้านตัน ซึ่งมีมูลค่าหลายแสนล้านดอลลาร์ตามราคาปัจจุบันในท้องตลาด


เมื่อปีค.ศ. 2008 บริษัท Metallurgical Corp of China หรือ MCC และบริษัท Jiangxi Copper สองบริษัทโลหะของจีน ได้สัมปทานเหมืองเมส อัยนาค ซึ่งเป็นเหมืองทองแดงที่ใหญ่ที่สุดของอัฟกานิสถาน เป็นเวลา 30 ปี MCC คาดการณ์ว่า บริษัทจะทำเหมืองแร่ทองแดงได้ปริมาณ 11.08 ล้านตัน ซึ่งมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ ตามราคาของตลาดซื้อขายโลหะลอนดอน



แร่ลิเธียมและกลุ่มแร่หายาก

บันทึกภายในของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อปีค.ศ. 2010 เรียกอัฟกานิสถานว่าเป็น “ซาอุดิอาระเบียแห่งลิเธียม” ซึ่งหมายความว่า อัฟกานิสถานอาจเป็นแหล่งแร่ลิเทียมที่สำคัญของโลก เช่นเดียวกับที่ซาอุดิอาระเบียเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญของโลก

ทั้งนี้ แร่ลิเธียมเป็นแร่ที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่ในเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมถึงรถยนต์ไฟฟ้า และเป็นแร่ที่มีบทบาทสำคัญในการวงการอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ

รายงานจากกรมสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐฯ เมื่อปีค.ศ. 2017-2018 ระบุว่า อัฟกานิสถานมีแหล่งแร่สปอดูมีน ซึ่งเป็นแร่ในกลุ่มแร่ลิเธียม แต่ไม่ได้ประมาณการว่ามีแร่ดังกล่าวจำนวนเท่าใด ในขณะที่รายงานของอัฟกานิสถานเมื่อปีค.ศ. 2019 ซึ่งอ้างอิงการประเมินร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และอัฟกานิสถาน ไม่ได้ระบุถึงแร่ลิลิเธียมเลย

อย่างไรก็ตาม รายงานของอัฟกานิสถานฉบับดังกล่าวระบุว่า มีกลุ่มแร่หายากจำนวน 1.4 ล้านตันในประเทศ โดยกลุ่มแร่ดังกล่าวประกอบด้วยแร่ 17 ชนิดที่ใช้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนและอุปกรณ์ทางทหารนอกจากนี้ อัฟกานิสถานยังมีน้ำมันดิบราว 1,600 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่า 107,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก๊าซธรรมชาติ 15 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และก๊าซธรรมชาติเหลวอีก 500 ล้านบาร์เรล

FILE - An Afghan businessman checks lapis lazuli at his shop in Kabul, March 28, 2016. The brilliant blue stone, prized for millennia, is found almost exclusively in Afghanistan and is a key part of the nation's mineral wealth.
FILE - An Afghan businessman checks lapis lazuli at his shop in Kabul, March 28, 2016. The brilliant blue stone, prized for millennia, is found almost exclusively in Afghanistan and is a key part of the nation's mineral wealth.


หินอัญมณี

จังหวัดบาดัคชานทางตอนเหนือของอัฟกานิสถานเป็นแหล่งแร่ลาพิส ลาซูลี หรืออัญมณีสีน้ำเงินเข้ม ที่สำคัญมานานหลายพันปี นอกจากนี้อัฟกานิสถานยังมีหินอัญมณีอื่นๆ เช่น ทับทิมและมรกต ด้วย

รายงานของอัฟกานิสถานเมื่อปีค.ศ. 2019 ระบุว่า ลาพิส ลาซูลี ที่มีคุณภาพสูงอาจมีมูลค่าถึง 150 ดอลลาร์ต่อกะรัต อย่างไรก็ตาม การทำเหมืองแร่หินอัญมณีส่วนใหญ่ในประเทศเป็นการทำเหมืองแร่ผิดกฎหมายและทำให้ประเทศขาดรายได้ไป

แร่อื่นๆ

รายงานจากกระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียมยังระบุด้วยว่า อัฟกานิสถานมีแร่เหล็กสำหรับผลิตเหล็กกล้ากว่า 2,200 ล้านตัน มูลค่ากว่า 350,000 ล้านดอลลาร์ตามราคาท้องตลาดในปัจจุบัน

อัฟกานิสถานยังมีแหล่งแร่ทองคำ 2,700 กิโลกรัม มูลค่าเกือบ 170 ล้านดอลลาร์ ทางกระทรวงยังระบุด้วยว่า อัฟกานิสถานมีแร่อะลูมิเนียม ดีบุก ตะกั่ว และสังกะสีในหลายพื้นที่ของประเทศ

mineral resources in afghanistan infographic
mineral resources in afghanistan infographic

XS
SM
MD
LG