ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์: งานที่กำลังรอตาลิบันอยู่ - ปกครองยากกว่ายึดครอง?


FILE - Taliban fighters take control of the Afghan presidential palace after President Ashraf Ghani fled the country, in Kabul, Afghanistan, Aug. 15, 2021.
FILE - Taliban fighters take control of the Afghan presidential palace after President Ashraf Ghani fled the country, in Kabul, Afghanistan, Aug. 15, 2021.
Taliban Insurgency to Governing
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:10 0:00


หลังจากที่กลุ่มตาลิบันสามารถยึดครองอัฟกานิสถานได้สำเร็จเมื่อกลางเดือนนี้ สิ่งที่ถูกจับตามองต่อไปคือกลุ่มดังกล่าวจะดำเนินการอย่างไรในการบริหารประเทศ

ผู้สันทัดกรณีในวงการการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกล่าวว่า ดูเหมือนว่าตาลิบันต้องทำงานที่มีความสลับซับซ้อนในการปกครองประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความหลากหลายทางชนเผ่าของอัฟกานิสถาน

นอกจากนั้นยังมีประเด็นทางการเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้เป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งของประเทศเช่นกัน

คาร์เตอร์ มัลคาเซียน อดีตที่ปรึกษาแห่งกระทรวงกลามโหมสหรัฐฯ กล่าวว่า ไม่ว่าจะอย่างไร การปกครองอัฟกานิสถาน น่าจะเป็นเรื่องยากกว่าการบุกเพื่อยึดครองอำนาจในครั้งนี้

ทั้งนี้ ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งเเรกที่ตาลิบันการขึ้นมาปกครองอัฟกานิสถาน เพราะเมื่อปี ค.ศ. 1973 กลุ่มดังกล่าวขึ้นมามีอำนาจ เเต่ในช่วงเวลาของการบริหารประเทศตอนนั้น อัฟกานิสถานเต็มไปด้วยการชิงอำนาจของฝ่ายต่างๆ

นายมัลคาเซียน เขียนในบทความของนิตยสาร Foreign Affairs ว่า ตาลิบันต้องเผชิญกับปัญหามากมายเช่น ความยากจน ความขัดเเย้งในประเทศ การปลูกพืชผิดกฎหมาย นอกจากนั้นยังมีเรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านที่คอยเเทรกเเซงกิจการภายใน

การพยายามจัดระบบการปกครองหมายถึง การรื้อระบบราชการที่ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในเวลานี้ ภายในประเทศซึ่งประชากรรวม 38 ล้านคน ที่เป็นสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ 14 กลุ่ม

ขณะเดียวกันการที่ตาลิบันมีจำนวนนักรบเพียง 75,000 คน อาจเป็นสิ่งท้าทายความสามารถในการรักษาความมั่นคงในประเทศด้วย

Afghanistan Hazaras Under Attack
Afghanistan Hazaras Under Attack

ผู้เชี่ยวชาญบางรายกล่าวว่าตาลิบันได้เริ่มเข้าหากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างจริงจังมาสองปีเเล้ว ผ่านกลุ่มที่ทำงานคล้าย “รัฐบาลเงา” ตามส่วนย่อยๆของประเทศ โดยงานดังกล่าวเป็นภารกิจที่ไม่ได้ทำอย่างโจ่งเเจ้ง

หนึ่งในกลุ่มต่างๆเหล่านั้นคือชาวฮาซาราส์ ซึ่งจำนวนมากอาศัยอยู่ที่เมือง มาซาร์-อิ-ชารีฟ และพลเมืองชาวฮาซาราส์เคยถูกตาลิบันสังหารอย่างน้อย 2,000 คนเมื่อเมืองของพวกเขาถูกปกครองโดยตาลิบันเมื่อ 23 ปีก่อน

ทั้งนี้ผู้ที่เป็นสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ฮาซาราส์นับถือศาสนาอิสลามนิกายชิอะห์​ ต่างจากนิกายซุนนี ที่กลุ่มตาลิบันนับถือ

ไม่นานนี้ ผู้ทำงานเป็นรัฐบาลเงาของตาลิบันในเขตดังกล่าว ขู่ว่าจะสังหารชาวฮาซาราส์หากว่าพวกเขาไม่เปลี่ยนมานับถือนิกาย ซุนนี

อย่างไรก็ตามล่าสุดตาลิบันส่งสัญญาณว่าอาจจะมีท่าทีที่อ่อนลงในการบริหารประเทศ

หลังจากที่บุกมาถึงกรุงคาบูลในเดือนนี้ ตาลิบันจัดประชุมเพื่อหารือกับบุคคลสำคัญทางการเมือง เช่นอดีตประธานาธิบดี ฮาหมิด คาร์ไซ และนายอับดุลลาห์ อับดุลลาห์ ประธานสภาสมานฉันท์เเห่งชาติ เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลใหม่

ที่สำคัญตาลิบันยังลดระดับการวิพากษ์วิจารณ์โลกตะวันตก จนเกิดข้องสงสัยว่าตาลิบันน่าจะเห็นความสำคัญของเงินช่วยเหลือจากตะวันตกมายังอัฟกานิสถาน ว่าควรมีอยู่ต่อไปเพราะเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสำเร็จในการบริหารประเทศของตน

ฮามิด ฮาคิมิ นักวิเคราะห์จากสถาบัน Chatham House กล่าวที่ตาลิบันยังคงต้องการเงินจากมหาอำนาจตะวันตกก็เพราะความเดือดร้อนทางเศษฐกิจของคนอัฟกันนั้นรุนเเรงเเละกว้างขวางอย่างยิ่ง นั่นเอง

XS
SM
MD
LG