ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์: ความขัดเเย้งจีน-ไต้หวัน สั่นคลอนความศักดิ์สิทธิ์ของเส้นกึ่งกลางพรมเเดน


FILE - In this photo provided by China's Xinhua News Agency, a People's Liberation Army member looks through binoculars during military exercises as Taiwan's frigate Lan Yang is seen at the rear, Aug. 5, 2022. (Lin Jian/Xinhua via AP)
FILE - In this photo provided by China's Xinhua News Agency, a People's Liberation Army member looks through binoculars during military exercises as Taiwan's frigate Lan Yang is seen at the rear, Aug. 5, 2022. (Lin Jian/Xinhua via AP)

เป็นเวลาเกือบ 70 แล้ว ที่เส้นสมมติที่ช่องเเคบไต้หวัน ที่กั้นระหว่างไต้หวันเเละจีนเเผ่นดินใหญ่ เป็นเครื่องช่วยรักษาความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายให้เป็นไปอย่างสันติ

เเนวเขตเเดนดังกล่าวถือกำเนิดขึ้นตามความคิดของทหารอเมริกันในปี ค.ศ. 1954 ในช่วงเข้มข้นของสงครามเย็น

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางขัดเเย้งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ แนวดินเเดนนี้ถูกลดความสำคัญลง โดยจีนซึ่งมีกองทัพเรือสมัยใหม่มักแสดงพลังกดดันไต้หวัน อย่างที่เห็นในเดือนนี้ เมื่อมีการเยือนไต้หวันโดยนักการเมืองอเมริกัน ซึ่งจีนมองว่าเป็นการแทรกแซงกิจการของจีน

จีนไม่เคยยอมรับเส้นกึ่งกลางช่องเเคบไต้หวันอย่างเป็นทางการ

เจ้าหน้าที่ไต้หวันรายหนึ่งที่ไม่ประสงค์จะออกนามบอกกับรอยเตอร์ ว่าจีนต้องการกดดันไต้หวันจนกระทั้งไม่มีการใช้ "เส้นเขตกึ่งกลาง" นี้อีกต่อไป ขณะที่เส้นแบ่งเขตดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไต้หวันหวงเเหน

รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของไต้หวัน โจเซฟ วู กล่าวที่งานเเถลงข่าวในเดือนนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันของความสัมพันธ์จีนและไต้หวัน จะเป็นสิ่งที่ไต้หวันไม่สามารถนิ่งเฉยอยู่ได้

ขณะเดียวกัน มีเจ้าหน้าที่และนักวิเคราะก์ด้านความมั่นคงจำนวนหนึ่งที่กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ยากที่ไต้หวันจะปกป้อง "เส้นเขตกึ่งกลาง" โดยไม่เสี่ยงต่อการยั่วยุฝ่ายจีน

ประธานาธิบดีไต้หวันไช่ อิงเหวินกล่าวหลายครั้งว่า ไต้หวันจะไม่เป็นฝ่ายยั่วยุให้เกิดความตึงเครียดเพิ่มขึ้นก่อน

Taiwan President Tsai Ing-wen speaks to member of the House of Representatives of Japan Keiji Furuya and other members of the delegation
Taiwan President Tsai Ing-wen speaks to member of the House of Representatives of Japan Keiji Furuya and other members of the delegation

ยังไม่เป็นที่ทราบเเน่ชัดว่าการสนับสนุนของนานาชาติต่อไต้หวันเพีย'พอหรือไม่ที่จะป้องปรามไม่ให้จีนลาดตระเวณในบริเวณดังกล่าวซึ่งเป็นจุดสำคัญของการขนส่งสินค้าของโลก

ทั้งนี้ช่องเเคบไต้หวันมีความกว้าง 180 กิโลเมตร แต่ในจุดที่เเคบที่สุด "เส้นเขตกึ่งกลาง" ห่างจากน่านน้ำไต้หวันประมาณ 40 กิโลเมตร

กองเรือจีนมีกิจกรรมใกล้น่านน้ำไต้หวันอยู่เป็นประจำ และทำให้ความพยายามใด ๆ ของจีนที่จะปิดกั้นไต้หวันทางทะเลทำได้ง่ายขึ้น

ในช่วงไม่นานนี้เรือของทั้งสองฝ่ายปฏิบัติการเดินเรือตอบโต้กันเหมือน "แมวจับหนู" ทางการทหาร โดยที่เรือจีนพยายามเดินทางวนเวียนใกล้เรือไต้หวัน และข้ามเส้นกึ่งกลางของทั้งสองฝ่าย

นอกจากนี้ยังมีปฏิบัติการของกองทัพอากาศจีนควบคู่ไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นน้อยครั้งมาก

รอยเตอร์ติดต่อไปยังกองทัพจีนแต่ไม่ได้รับการตอบกลับ

ชิห์ ชุง นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงแห่งองค์กรวิจัยด้านนโยบาย National Policy Foundation กล่าวว่า การล้มเลิกการใช้เส้นกึ่งกลางของทั้งสองฝ่าย ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อความขัดเเย้งรุนเเรงที่อาจเเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ

เขาเเนะนำว่าควรมีการพิจารณาแนวทางการปฏิบัติของกองทัพเรือและยามผั่งไต้หวัน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย ในการตอบโต้ต่อสถานการณ์ที่สลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ

  • ที่มา: รอยเตอร์

XS
SM
MD
LG