ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์: ท่าทีกองทัพจีนในมหาสมุทรอินเดีย ผ่านบทบาทในศรีลังกา


Sri Lanka China
Sri Lanka China

ท่ามกลางวิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจที่ร้อนระอุของศรีลังกา รัฐบาลจีนได้ส่งเรือของกองทัพ “หยวน หวัง 5” ไปยังท่าเรือแฮมบันโตตา (Hambantota) ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของศรีลังกา และกล่าวว่าเป็นเรือสำรวจ แต่นักวิเคราะห์หลายคนกลับมองว่าการกระทำข้างต้นของจีนอาจเป็นการแสดงแสนยานุภาพทางทหารในมหาสมุทรอินเดีย

เรือลำดังกล่าวที่จะเดินทางถึงท่าเรือแฮมบันโตตาในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ถูกติดตั้งด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ล้ำสมัย พร้อมตรวจจับความเคลื่อนไหวจากทั้งทางอวกาศและดาวเทียมซึ่งมีประสิทธิภาพสูงเพื่อเป้าหมายทางยุทธศาสตร์

เดยาน จาลาทิเลกา อดีตนักการทูตศรีลังกาอธิบายให้วีโอเอถึงท่าทีดังกล่าวว่า “ทางการจีนมีเป้าหมายสองข้อในการใช้ท่าเรือแฮมบันโตตา คือ การพาณิชย์และทางทหาร จีนกำลังพยายามเพิ่มความแข็งแกร่งในการนำเรือเข้าออกท่าข้างต้นเพื่อจุดประสงค์ทางการทหาร”

เหตุที่จีนสามารถทำเช่นนี้ได้เพราะตอนปี 2017 ทางรัฐบาลศรีลังกาไม่สามารถชำระเงินที่กู้จีน ที่ใช้ในการสร้างท่าเรือได้ จึงลงนามอนุมัติสัญญาให้บริษัทจีนเช่าพื้นที่ของท่าเรือนี้เป็นระยะเวลานานถึง 99 ปี

นอกจากนี้ ยังมีการสันนิษฐานในวงกว้างว่า อดีตประธานาธิบดีโคฐาภยะ ราชปักษะของศรีลังกาที่ได้หนีออกจากประเทศไปแล้วได้ยินยอมให้จีนเข้ามาจอดเรือที่ท่าเรือแฮมบันโตตา โดยทางรัฐบาลชุดใหม่ที่เพิ่งถูกจัดตั้งน่าจะไม่ทำการคัดค้านการเข้ามาของจีนแต่อย่างใด

A demonstrator interacts with police special task force personnel standing guard while blocking a road during in a protest march against Sri Lankan President Ranil Wickremesinghe towards the Presidential secretariat office in Colombo, Sri Lanka.
A demonstrator interacts with police special task force personnel standing guard while blocking a road during in a protest march against Sri Lankan President Ranil Wickremesinghe towards the Presidential secretariat office in Colombo, Sri Lanka.

จีฮาน เพเรรา ผู้อำนวยการหน่วยงาน National Peace Council of Sri Lanka อธิบายว่า “ศรีลังกา

ต้องการความช่วยเหลือทางการเงิน ทางรัฐบาลน่าจะต้องการทำให้จีนไม่พอใจด้วยการเพิกถอนการอนุมัติที่ให้จีนนำเรือเข้ามาได้”

ทางด้าน เค. พี. เฟเบียน อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอินเดียในศรีลังกา กล่าวเพิ่มเติมว่า “เป้าหมายของจีน คือ การทำให้เรือรบของตนสามารถทำการเข้าออกท่าเรือศรีลังกาได้สะดวก ตราบใดที่เป้าหมายนี้ลุล่วง จีนก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องสร้างฐานทัพ”

จีนได้เคยปฏิเสธคำร้องจากศรีลังกาในการขอเลื่อนชำระหนี้ที่มูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์ในการสร้างท่าเรือแฮมบันโตตา หนี้ดังกล่าวที่ศรีลังกากู้จากจีนได้เลยวันชำระไปแล้ว และหากจีนไม่ยินยอมให้ศรีลังกาเลื่อนการชำระหนี้ออกไป ศรีลังกาก็จะไม่สามารถกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ได้

เพเรรา แห่ง National Peace Council of Sri Lanka กล่าวด้วยว่า “รัฐบาลศรีลังกาตั้งความหวังว่าปักกิ่งจะเปลี่ยนใจและตอบรับคำร้องขอในที่สุด และศรีลังกานั้นต้องการทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนเงินกับจีนเพื่อซื้อสินค้าจีนด้วย”

ขณะนี้ เงินสำรองต่างประเทศของศรีลังกานั้นลดน้อยลงไปมากจนแทบจะไม่มีเหลืออยู่เลย เพราะค่านำเข้าเชื้อเพลิงจากตลาดโลกมีราคาสูงมาก ขณะนี้ยังเกิดการขาดแคลนพลังงานและอาหารในประเทศ

ทั้งนี้ วิกฤตทางเศรษฐกิจในศรีลังกาเกิดจากการยืมเงินจากต่างประเทศจำนวนมาก จนทำให้สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อขนาดเศรษฐกิจกระโดดขึ้นจาก 80% ในปี 2015 ขึ้นไปถึง 101% ในปี 2020 ตามการประเมินของรัฐบาลศรีลังกา ปัจจุบัน หนี้ต่างประเทศของศรีลังกาอยู่ที่ 51,000 ล้านดอลลาร์

FILE PHOTO: Protest outside the office of Sri Lanka's PM Ranil Wickremesinghe, in Colombo
FILE PHOTO: Protest outside the office of Sri Lanka's PM Ranil Wickremesinghe, in Colombo

จีนมีโครงการก่อสร้างต่าง ๆ มากมายรวมทั้งท่าเรือในศรีลังกาที่ธนาคารจีนปล่อยเงินกู้ให้ ตามนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative) ซึ่งซาแมนต้า พาวเวอร์ ผู้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา หรือ USAID ชี้ว่า โครงการต่าง ๆ ที่จีนให้เงินกู้แก่ศรีลังกาเพื่อสร้างขึ้นนั้นไม่มีประโยชน์หรือการใช้งานจริงเท่าใดนัก

เค. พี. เฟเบียน กล่าวว่า ถ้าศรีลังกาถูกกดดันจากจีนในฐานะเจ้าหนี้ เพื่อให้ปักกิ่งสร้างฐานทัพทางการทหารได้ เรื่องนี้จะสร้างความกังวลต่ออินเดียด้วย

  • ที่มา: วีโอเอ


XS
SM
MD
LG