ลิ้งค์เชื่อมต่อ

องค์การอนามัยโลกเร่งควบคุมการระบาดของไวรัสมารเบิร์กในทวีปแอฟริกา


This negative stained transmission electron micrograph (TEM) depicts a number of filamentous Marburg virions. Authorities in West Africa have confirmed the region's first known case of Marburg virus after at least one person in Guinea died of the disease.
This negative stained transmission electron micrograph (TEM) depicts a number of filamentous Marburg virions. Authorities in West Africa have confirmed the region's first known case of Marburg virus after at least one person in Guinea died of the disease.

เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของกินี ซึ่งเป็นประเทศทางด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา กำลังพยายามป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสมารเบิร์กซึ่งมีรายงานผู้ป่วยและเสียชีวิตรายแรกเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม โดยผู้ป่วยที่ว่านี้เป็นชายในจังหวัดกูเครดูทางด้านใต้ของประเทศ

องค์การอนามัยโลกรายงานว่าผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยและเสียชีวิตรายแรกในประเทศกินีดังกล่าวมีอยู่รวม 150 คนและขณะนี้สามารถระบุตัวได้หมดแล้ว เชื้อไวรัสมารเบิร์กกับไวรัสอีโบล่านั้นอยู่ในตระกูลเดียวกันถึงแม้จะเกิดจากไวรัสต่างชนิดกันก็ตาม และลักษณะอาการจะคล้ายคลึงกันมากโดยจะระบุอย่างแน่ชัดได้ด้วยการทดสอบผลในห้องทดลองเท่านั้น

โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสสองชนิดนี้ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตอย่างรุนแรงคือตั้งแต่ 24 % - 90% และขณะนี้ถึงแม้จะมีวัคซีนสำหรับโรคอีโบล่าแล้วก็ตามแต่ยังไม่มีวัคซีนและวิธีรักษาสำหรับไวรัสมารเบิร์ก

ก่อนหน้านี้มีรายงานเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสมารเบิร์กเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1967 โดยชายคนหนึ่งในเมืองมารเบิร์กของเยอรมนีซึ่งติดเชื้อดังกล่าวขณะที่ทำงานอยู่ในประเทศอูกันด้า

ไวรัสมารเบิร์กมีลักษณะการแพร่เชื้อคล้ายกับโรคอุบัติใหม่อื่นๆ เพราะเชื่อว่ามีการแพร่จากสัตว์คือค้างคาวกินผลไม้สู่คน และการติดต่อระหว่างคนกับคนนั้นเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับของเหลวหรือสารคัดหลั่งของร่างกาย และจากการแตะต้องของเหลวที่อยู่บนพื้นผิวและวัสดุต่างๆ

XS
SM
MD
LG