ลิ้งค์เชื่อมต่อ

WHO ชี้ การลดมลภาวะทางอากาศ ช่วยได้หลายล้านชีวิต  


Commuters drive on a road engulfed in smog in New Delhi, India, Thursday, Nov. 5, 2020.
Commuters drive on a road engulfed in smog in New Delhi, India, Thursday, Nov. 5, 2020.

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO (World Health Organization) ได้ออกแนวทางใหม่เพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศโลก ที่อาจจะช่วยชีวิตผู้คนได้มากถึงเจ็ดล้านคน ที่ในแต่ละปีต้องเสียชีวิตเนื่องจากมลพิษทางอากาศ

ผู้อำนวยการ WHO เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส เผยว่าการหายใจเอาอากาศสกปรกเข้าไป เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคปอดอักเสบ หรือปอดบวม โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคที่ไม่ติดต่ออื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองแตก และมะเร็ง

เกเบรเยซุสยังกล่าวว่า มลภาวะทางอากาศเป็นภัยสุขภาพในทุกประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางที่ประสบกับคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่เนื่องจากความแออัดของเมือง การขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และมลพิษทางอากาศในครัวเรือนที่เกิดจากการหุงต้ม การทำความร้อนและการให้แสงสว่าง

ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลกเคยออกรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศโลกเมื่อปี ค.ศ.2005 แต่หลังจากนั้นมีหลักฐานใหม่ที่แสดงให้เห็นว่า สุขภาพของมนุษย์ได้รับอันตรายได้จากมลภาวะทางอากาศในปริมาณที่น้อยกว่าที่เชื่อกันในตอนแรก ดังนั้น องค์การอนามัยโลกจึงได้แนะนำให้ลดระดับคุณภาพอากาศสำหรับตัวก่อมลพิษที่สำคัญ 5 ประเภท เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์

มาเรีย เนรา ผู้อำนวยการแผนกสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และสุขภาพ กล่าวว่า การเปลี่ยนไปใช้พลังงานที่สะอาดให้มากขึ้นจะช่วยส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์และช่วยลดผลกระทบของภาวะโลกร้อน เพราะการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานที่สะอาดและหมุนเวียนได้ จะช่วยลดการปล่อยก๊าสเรือนกระจก แก้ไขต้นตอของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก และช่วยลดมลภาวะทางอากาศ

นอกจากจะช่วยพัฒนาสุขภาพและรักษาชีวิตผู้คนได้แล้ว การลดมลภาวะทางอากาศยังมีข้อดีอย่างมากต่อเศรษฐกิจอีกด้วย

ธนาคารโลก หรือ World Bank คาดการณ์ว่า ค่าใช้จ่ายทั่วโลกเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพที่เกิดจากมลภาวะที่อยู่ในอากาศทั่วไป อยู่ที่ประมาณปีละ 5.7 ล้านล้านดอลลาร์

XS
SM
MD
LG