ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สภาเศรษฐกิจโลกระบุ 'หญิงและชาย' ยังมีช่องว่างด้านความเท่าเทียมทางเพศในระดับสูง


Phung Thi Hai, 54, carries bricks at a factory outside Hanoi, Vietnam, Feb. 27, 2017.
Phung Thi Hai, 54, carries bricks at a factory outside Hanoi, Vietnam, Feb. 27, 2017.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:08 0:00

สภาเศรษฐกิจโลกเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับช่องว่างทางเพศระดับทั่วโลกประจำปี ค.ศ. 2018 โดยได้วัดความเท่าเทียมทางเพศใน 149 ชาติทั่วโลกใน 4 ด้านด้วยกัน คือ โอกาสทางเศรษฐกิจ ความเท่าเทียมทางการมือง โอกาสทางการศึกษาเเละความเท่าเทียมด้านสุขภาพกับการอยู่รอด

ตามมาตรฐานนี้ ประเทศไอซเเลนด์ถูกจัดให้เป็นชาติที่มีความเท่าเทียมทางเพศมากที่สุดในโลกเป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน ตามมาด้วย นอร์เวย์ สวีเดน เเละฟินแลนด์ ส่วนประเทศที่ติดอันดับที่ 6 คือ รวันดา ขณะที่ นามิเบีย ติดอันดับ top 10 เป็นครั้งเเรก กลายเป็นประเทศจากแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าประเทศที่สอง ที่ติดอันดับ top 10 ของชาติที่มีความเท่าเทียมทางเพศมากที่สุดในโลก

ขณะที่สหรัฐฯ ร่วงลงไปสองอันดับจากปีที่เเล้ว โดยปีนี้ไปอยู่อันดับที่ 51

Saadia Zahidi หัวหน้าทีมผู้เขียนรายงานนี้กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าสหรัฐฯ ร่วงลงไปหลายอันดับเนื่องมาจากความเท่าเทียมทางโอกาสทางเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น เเละยังขาดความเสมอภาคทางการเมือง

Zahidi กล่าวว่า ในประเด็นการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ตัวบ่งชี้ที่แย่สำหรับสหรัฐฯ คือรายได้โดยประมาณ กล่าวคือ ยังมีช่องว่างค่อนข้างกว้างมากระหว่างรายได้ของผู้หญิงในสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับรายได้โดยเฉลี่ยของผู้ชาย

และในประเด็นความเท่าเทียมทางการเมืองระหว่างผู้หญิงเเละผู้ชาย สหรัฐฯ ติดอันดับที่ 98 ในโลก เเละอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยอย่างมาก

Zahidi กล่าวว่า สหรัฐฯ ทำคะเเนนด้านการเพิ่มขึ้นของโอกาสทางการเมืองของผู้หญิงเพียงเเค่ราว 12.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ถือว่าต่ำกว่าระดับเฉลี่ยทั่วโลกที่ 22.3 เปอร์เซ็นต์ แต่เธอชี้ว่ารายงานนี้ไม่ได้รวมเอาผลการเลือกตั้งกลางเทอมที่มีนักการเมืองผู้หญิงได้รับการเลือกตั้งมากขึ้นเข้าไว้ด้วย

รายงานของสภาเศรษฐกิจโลกชี้ว่า ประเทศนามิเบียไต่อันดับขึ้นมาอยู่สูงขึ้นเพราะมีจำนวนผู้หญิงในรัฐสภาเพิ่มขึ้่น เเละยังชี้ด้วยว่า แอฟริกาใต้ซึ่งจัดอยู่ในอันดับที่ 19 มีความก้าวหน้ามากขึ้นด้านการสร้างความเท่าเทียมทางการเมืองแก่ผู้หญิง เเต่พบว่าระดับความเท่าเทียมทางค่าจ้างระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายเลวร้ายลงเล็กน้อย

รายงานชิ้นนี้พบว่า ยุโรปตะวันตก มีความเท่าเทียมทางเพศในระดับที่สูงที่สุด ตามมาด้วยอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรปตะวันออก เเละเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเเละแปซิฟิก

รายงานนี้ชี้ว่า ช่องว่างทางเพศในแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าได้เริ่มขยายกว้างมากขึ้นอีกครั้ง หลังจากมีความคืบหน้ามานาน 6 ปีติดต่อกัน

รายงานของสภาเศรษฐกิจโลกนี้ยังบอกด้วยว่า เอเชียใต้เป็นติดอันดับที่แย่ที่สุดเป็นอันดับสอง ต่อจากตะวันออกกลางเเละแอฟริกาเหนือ ที่จัดว่าเเย่ที่สุดในเรื่องความเสมอภาคทางเพศ

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)


XS
SM
MD
LG