ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ศาลสูงสหรัฐฯ ไม่ขัดรัฐเท็กซัสใช้กฎหมายห้ามทำแท้ง   


A security guard opens the door to the Whole Women's Health Clinic in Fort Worth, Texas, Wednesday, Sept. 1, 2021. A divided United States Supreme Court refused to block a Texas law that activists say effectively bans abortions in the nation’s second-larg
A security guard opens the door to the Whole Women's Health Clinic in Fort Worth, Texas, Wednesday, Sept. 1, 2021. A divided United States Supreme Court refused to block a Texas law that activists say effectively bans abortions in the nation’s second-larg

ศาลสูงของสหรัฐฯ อนุญาตให้รัฐเท็กซัสบังคับใช้กฎหมายห้ามทำแท้งต่อไป หลังลงคะแนนเสียง 5-4 ไม่รับคำร้องฉุกเฉินจากกลุ่มเรียกร้องสิทธิการทำแท้งที่พยายามขัดขวางไม่ให้มีการใช้กฎหมายฉบับนี้

คำสั่งซึ่งไม่มีการลงนามจากตุลาการเสียงส่วนใหญ่ของศาล ระบุว่า ผู้ยืนเรื่องขอคัดค้านไม่ได้แสดงให้เห็นถึงเหตุผลความจำเป็นมากพอที่ต้องระงับกฎหมายนี้ อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ก็อาจถูกคัดค้านได้ด้วยเหตุผลอื่น

คำสั่งฉบับดังกล่าวระบุด้วยว่า ทางศาลไม่มีความประสงค์ที่จะตัดสินวินิจฉัยเกี่ยวกับคำร้องใดๆ ในเรื่องเขตอำนาจหรือคำกล่าวอ้างตามที่ปรากฎในคำร้องของผู้ยื่นฟ้อง และคำสั่งฉบับนี้ไม่ขึ้นอยู่กับข้อสรุปเรื่องความถูกต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของกฎหมายของรัฐเท็กซัส และไม่จำกัดการยื่นฟ้องอื่นใดต่อกฎหมายของรัฐเท็กซัสฉบับนี้และต่อการวินิจฉัยของศาลรัฐเท็กซัสด้วย

ในมติ 5ต่อ 4 ของศาลสูง ผู้พิพากษาจอห์น โรเบิร์ตส์ ประธานศาลสูงสหรัฐฯ ร่วมลงคะแนนกับผู้พิพากษาแนวก้าวหน้าอีกสามคนที่มีความเห็นคัดค้านกฎหมายต่อต้านการทำแท้งของรัฐเท็กซัสดังกล่าว ในขณะที่ผู้พิพากษาซอนยา โซโตมาเยอร์ หนึ่งในตุลาการแนวเสรีนิยมระบุว่า กฎหมายฉบับนี้ทำให้ผู้ป่วยจากการทำแท้งในรัฐเท็กซัสอย่างน้อย 85 เปอร์เซ็นต์ เข้าไม่ถึงการรักษา และ “ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญภายใต้บริบทปัจจุบัน”

เมื่อวันพุธ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้สนับสนุนสิทธิในการทำแท้งเช่นเดียวกับสมาชิกพรรคเดโมแครตจำนวนมาก ระบุในแถลงการณ์ว่า กฎหมายฉบับนี้ละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญตามคำตัดสินเมื่อปีค.ศ. 1973 ที่ระบุว่า ผู้หญิงมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่จะยุติการตั้งครรภ์ได้ภายในช่วงหกเดือนแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ตัวอ่อนในครรภ์ไม่สามารถดำรงชีวิตนอกครรภ์มารดาได้

ทั้งนี้ รัฐเท็กซัสเป็นหนึ่งในหลายสิบรัฐที่เป็นฐานเสียงของพรรคริพับลิกัน ที่ออกกฎห้ามทำแท้งหลังจากที่เยื่อหัวใจของตัวอ่อนในครรภ์มีจังหวะการเต้นที่สามารถตรวจจับได้ ซึ่งมักอยู่ในช่วงหกสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ และบางครั้งเป็นช่วงก่อนที่หญิงผู้ตั้งครรภ์จะรู้ตัวว่าตนมีครรภ์แล้วด้วยซ้ำ


กฎหมายห้ามทำแท้งของรัฐเท็กซัสมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากอนุญาตให้ประชาชนยื่นฟ้องผู้ให้บริการทำแท้ง และผู้ใดก็ตามที่ให้ความช่วยเหลือการทำแท้งตัวอ่อนที่มีอายุมากกว่าหกสัปดาห์ได้ โดยผู้ที่ชนะคดีอาจได้รับเงินอย่างต่ำ 10,000 ดอลลาร์

ผู้นำสหรัฐฯ ระบุว่า กฎหมายของรัฐเท็กซัสทำให้ผู้หญิงเข้าไม่ถึงบริการทางสุขภาพที่จำเป็น โดยเฉพาะผู้หญิงในชุมชนคนผิวสีและผู้มีรายได้ต่ำ และทำให้คนทั่วไปสามารถฟ้องใครก็ได้ที่พวกเขาเชื่อว่ามีส่วนช่วยในการทำแท้ง ซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่สมาชิกในครอบครัว บุคลากรด้านสาธารณสุข หรือแม้แต่คนแปลกหน้า

ปธน. ไบเดนระบุว่า รัฐบาลของเขามุ่งมั่นที่อย่างยิ่งจะปกป้องสิทธิในการทำแท้งของผู้หญิงตามคำพิพากษาของศาลสูงสหรัฐฯ เมื่อปีค.ศ. 1973

ทั้งนี้ กฎหมายของรัฐเท็กซัสฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันพุธที่ 1 กันยายนตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ศาลสูงจะออกคำสั่งไม่พิจารณาคำร้องขอโต้แย้งด้วยซ้ำ

ผู้สนับสนุนกฎหมายดังกล่าวเห็นว่า รัฐเท็กซัสเป็นรัฐแรกที่ช่วยปกป้องเด็กที่ยังไม่เกิดซึ่งเป็นกลุ่มคนที่พวกเขาเห็นว่าเปราะบางที่สุด ในขณะที่ผู้ให้บริการทำแท้งในรัฐเท็กซัสระบุว่า จำต้องเลิกให้บริการยุติการตั้งครรภ์แก่หญิงที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเกินหกสัปดาห์ไปแล้ว

สิทธิการทำแท้งเป็นหนึ่งในประเด็นการเมืองที่ร้อนแรงที่สุดของสหรัฐฯ โดยแม้ผลสำรวจระดับประเทศจะระบุว่า ชาวอเมริกันส่วนใหญ่สนับสนุนสิทธิการทำแท้ง แต่ฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐที่เป็นฐานเสียงของพรรคริพับลิกันกลับผ่านกฎหมายจำนวนมากที่จำกัดการทำแท้ง โดยมีบางส่วนยื่นเรื่องต่อศาลสูงเพื่อขอให้ห้ามการทำแท้งโดยสิ้นเชิง

ในเดือนตุลาคม ศาลสูงของสหรัฐฯ ซึ่งมีจำนวนผู้พิพากษาสายอนุรักษ์นิยมมากกว่าสายก้าวหน้าจำนวน 6 ต่อ 3 ตกลง จะรับฟังคำร้องในอีกคดีหนึ่งซึ่งคัดค้านกฎหมายของรัฐมิสซิสซิบปีที่สั่งห้ามทำแท้งหลังอายุครรภ์ 15 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลายสัปดาห์ก่อนที่ทารกจะดำรงชีพเองได้นอกครรภ์มารดา

XS
SM
MD
LG