ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'ทรัมป์' ทวีตโจมตีโอเปคเรื่องราคาน้ำมัน


FILE - A flag with the Organization of the Petroleum Exporting Countries (OPEC) logo is seen during a meeting of the Organization of the Petroleum Exporting Countries (OPEC) and non-OPEC producing countries in Vienna, Austria.
FILE - A flag with the Organization of the Petroleum Exporting Countries (OPEC) logo is seen during a meeting of the Organization of the Petroleum Exporting Countries (OPEC) and non-OPEC producing countries in Vienna, Austria.
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:06 0:00

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ทวีตวันนี้ โจมตีว่าราคาน้ำมันขณะนี้สูงเกินไป และกล่าวโทษโอเปค (OPEC) หรือ องค์การผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก ว่าเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้

โอเปคซึ่งมีสมาชิก 14 ประเทศ เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก โดยมีสัดส่วนการผลิตประมาณ 40% ของน้ำมันในโลก แต่เป็นผู้รับผิดชอบหรือมีสัดส่วนสำหรับน้ำมันที่ขายในตลาดโลกถึง 60%

เมื่อปี 2016 หรือสองปีที่แล้ว สมาชิกของกลุ่มโอเปคทำความตกลงเพื่อลดการผลิตลงให้เหลือ 1,800,000 บาร์เรลต่อวัน เพื่อลดภาวะน้ำมันที่ท่วมตลาดโลกและเพื่อช่วยพยุงราคา

โดยหลังจากที่มีมาตรการลดกำลังการผลิตออกมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ได้ขยับสูงขึ้นจากระดับต่ำกว่า 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขึ้นมาเป็นกว่า 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในขณะนี้

อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงควบคุมโควตาการผลิตน้ำมันจะหมดอายุลงในปลายปีนี้ และสมาชิกของโอเปคจะประชุมหารือกันอีกครั้งในสัปดาห์หน้าที่กรุงเวียนนา

เมื่อเดือนเมษายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบียบอกว่า ตลาดโลกจะสามารถทนรับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้อีก และก็ทำให้ประธานาธิบดีทรัมป์ออกมาทวีตโจมตี ถึงแม้ว่าผู้นำสหรัฐฯ จะไม่มีอำนาจควบคุมการตัดสินใจของโอเปคได้ก็ตาม

เมื่อต้นปีนี้ ขณะที่ราคาน้ำมันในสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับต่ำ ประธานาธิบดีทรัมป์เคยเสนอว่าควรเก็บภาษีน้ำมันจากคนอเมริกันที่หน้าปั๊ม 25 เซ็นต์ต่อแกลลอน เพื่อนำเงินไปช่วยสนับสนุนการสร้างถนนหนทางต่างๆ

อย่างไรก็ตาม เมื่อน้ำมันมีราคาสูงขึ้น ประธานาธิบดีทรัมป์ก็ดูเหมือนจะล้มเลิกความคิดนี้ไป

ขณะนี้ราคาน้ำมันเฉลี่ยในสหรัฐฯ อยู่ที่แกลลอนละ 2.92 ดอลลาร์ หรือถ้าคิดเป็นเงินบาทไทยก็คือประมาณ 25 บาทไทยต่อลิตร ซึ่งนับว่ายังต่ำกว่าในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะยิ่งเมื่อเทียบกับในยุโรป

XS
SM
MD
LG