ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ไทยถึงช่วง 'หัวเลี้ยวหัวต่อ' พัฒนาวัคซีนโควิด-19


A lab technician holds a bottle containing results for a COVID-19 vaccine at a testing center run by Chulalongkorn University in Saraburi Province, north of Bangkok, Thailand, May 23, 2020.
A lab technician holds a bottle containing results for a COVID-19 vaccine at a testing center run by Chulalongkorn University in Saraburi Province, north of Bangkok, Thailand, May 23, 2020.

นักวิทยาศาสตร์ไทยเริ่มทดลองวัคซีนโควิด-19 เข็มที่สองกับลิงในวันจันทร์ และหากการทดสอบขั้นนี้เป็นไปตามแผน คาดว่าจะมีการทดลองกับมนุษย์ได้ในเดือนตุลาคมนี้ ตามรายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์

เวลานี้ทั่วโลกกำลังมีการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 100 ชนิด และมีเพียงไม่กี่ชนิดที่เข้าสู่ขั้นตอนการทดลองกับมนุษย์ เพื่อหาทางยับยั้งการระบาดของโคโรนาไวรัสที่มีผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 9 ล้านคน

นักวิจัยได้ฉีดวัคซีนเข็มที่สองให้กับลิง 13 ตัว โดยจะใช้เวลาสองสัปดาห์จากนี้เพื่อตรวจสอบว่าวัคซีนใช้ได้ผลหรือไม่ ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

นายแพทย์เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม หัวหน้าคณะนักวิจัยโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับรอยเตอร์ว่า จะมีการวิเคราะห์ระบบภูมิคุ้มกันของลิงว่ามีการตอบสนองต่อวัคซีนหรือไม่อย่างไร หากมีการตอบสนองในระดับสูงก็ถือเป็นข่าวดี

รัฐบาลไทยสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนนี้ โดยตั้งความหวังว่าจะสามารถผลิตได้สำเร็จในปีหน้า

ในการทดสอบครั้งนี้ได้แบ่งลิง ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับวัคซีนปริมาณสูง กลุ่มที่สองได้รับในปริมาณต่ำ และกลุ่มที่สามไม่ได้รับวัคซีนเลย โดยลิงแต่ละตัวจะได้รับวัคซีนเดือนละเข็ม รวม 3 เข็ม

สำหรับเข็มแรกถูกฉีดไปเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม นายแพทย์เกียรติกล่าวว่า ลิงหนึ่งตัวในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนปริมาณสูง และสามตัวที่ได้รับวัคซีนในปริมาณต่ำ มีการตอบสนองที่ดี และหากเข็มที่สองที่ฉีดไปเมื่อวันจันทร์ได้ผลลักษณะเดียวกัน ก็จะสามารถเข้าสู่ขั้นตอนทดลองกับมนุษย์ โดยจะใช้วัคซีน 10,000 โดส ซึ่งขณะนี้มีอาสาสมัครเสนอตัวเป็นส่วนร่วมของโครงการนี้เข้ามามากมาย

XS
SM
MD
LG