ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้เชี่ยวชาญเตือน 'สมาชิกทีมหมูป่า' อาจมีปัญหาด้านจิตใจจากประสบการณ์ติดถ้ำ


A screen grab shows boys rescued from the Thai cave wearing mask and resting in a hospital in Chiang Rai, Thailand from a July 11, 2018 handout video. (Government Public Relations Department (PRD) and Government Spokesman Bureau/Handout via Reuters TV)
A screen grab shows boys rescued from the Thai cave wearing mask and resting in a hospital in Chiang Rai, Thailand from a July 11, 2018 handout video. (Government Public Relations Department (PRD) and Government Spokesman Bureau/Handout via Reuters TV)

ส่วนชาวชิลีที่ติดเหมืองทอง 69 วัน เตือนเด็กไทยอย่าเคลิบเคลิ้มกับเงินหรือชื่อเสียงจนปรับตัวไม่ได้

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:29 0:00

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็ก เช่น ดร. Andrea Danese จาก King’s College London บอกว่า ในช่วงเวลาหลายวันหรือหลายเดือนต่อจากนี้ครอบครัวของเด็กที่ได้รับการช่วยเหลือออกจากถ้ำหลวง ควรให้ความสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมบางอย่างของลูก เช่น ภาวะซึมเศร้า ความกระวนกระวายใจ หรือปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเครียด

โดย ดร. Andrea Danese บอกว่า ความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของเด็กที่ว่านี้ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร และอาจเกิดขึ้นกับเด็กหลายคน ถึงแม้จะไม่ทุกคนก็ตาม โดยนับเป็นลักษณะการตอบสนองต่อประสบการณ์ที่เจ็บปวด

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาหลายคนชี้ว่า การที่เด็กและโค้ชทั้ง 13 คนติดอยู่ในถ้ำด้วยกันเป็นกลุ่ม มีส่วนอย่างมากที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์แบบกลุ่มอย่างแน่นแฟ้นขึ้น และช่วยสร้างขวัญกำลังใจ

ถึงแม้ประสบการณ์ที่รุนแรงในช่วง 17 วันในถ้ำ อาจทำให้มีการเปลี่ยนขั้วพฤติกรรม อย่างเช่น คนที่เดิมเคยชอบเสี่ยงมาก่อนอาจจะอยากทำอะไรที่สุ่มเสี่ยงน้อยลง ในขณะที่คนซึ่งไม่เคยกล้าเสี่ยงมาก่อนอาจจะเพิ่มระดับความทนทานและการเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นได้จากประสบการณ์ที่ว่านี้

ขณะเดียวกัน นาย Luis Urzua ชาวเหมืองของชิลี หนึ่งใน 33 คนซึ่งเคยติดอยู่ในเหมืองทองใต้ดินเป็นเวลาถึง 69 วัน ก่อนจะได้รับการช่วยชีวิตออกมาเมื่อแปดปีที่แล้ว ให้คำแนะนำสมาชิกทีมหมูป่าของไทยว่า ควรให้ความสนใจกับความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นหลัก และอย่าหลงใหลไปกับข้อเสนอด้านการเงินต่างๆ ที่จะหลั่งไหลเข้ามา รวมทั้งโอกาสการมีชื่อเสียงต่างๆ ที่อาจตามมาด้วย

นอกจากนั้น เขายังเรียกร้องให้สังคมไม่พยายามกดดันให้เด็กเหล่านี้เล่าเรื่องราวประสบการณ์ของตน จนกว่าพวกเขาจะมีความพร้อมด้วยตัวเอง

เพราะคุณ Luis Urzua บอกว่า เพื่อนของตนที่เคยติดอยู่ในเหมืองทองใต้ดินด้วยกัน บางคนยังมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ต้องแตกร้าว มีปัญหาด้านจิตใจ ไม่สามารถนอนหลับได้ หรือไม่สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ

หรือไม่สามารถยอมรับกับสภาพความเป็นจริงได้ หลังจากที่ชื่อเสียงความสนใจซึ่งเคยได้รับนั้นต้องเหือดหายไป

อย่างไรตาม คุณ Luis Urzua คนงานเหมืองของชิลี ได้ชมเชยรัฐบาลไทยที่จัดการรับมือกับสถานการณ์เกี่ยวกับเด็กทั้ง 12 คนนี้ได้อย่างดี โดยไม่เปิดเผยชื่อหรือตัวตนเพื่อช่วยรักษาความเป็นส่วนตัว

รวมทั้งยังมีการกักบริเวณให้อยู่ในโรงพยาบาลในช่วงแรก เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กเหล่านี้รวมทั้งโค้ช ปลอดจากปัญหาความเสี่ยงเรื่องการติดเชื้อใดๆ

XS
SM
MD
LG