ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยเนเธอร์แลนด์พัฒนาวิธีผลิตไฟฟ้าจาก 'แรงดึงดูดโลก'


แรงดึงดูดโลกผลิตกระเเสไฟฟ้าได้
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:10 0:00

แรงดึงดูดโลกผลิตกระเเสไฟฟ้าได้

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:36 0:00

นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าวัสดุบางประเภท อาทิ คริสตัล เเละเซรามิกบางชนิด หากเจอกับความแรงกดเชิงกล วัสดุเหล่านี้จะผลิตกระเเสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยออกมา

การผลิตกระเเสไฟฟ้าแบบนี้เรียกว่าเพียโซอิเลคทริคซิตี้ (piezoelectricity) อย่างที่ใช้ในการสร้างประกายไฟแก่ที่จุดไฟเตาบาร์บีคิวเเละคริสตอล ไมโครโฟน (crystal microphones)
แต่เพียโซอิเลคทริคซิตี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อแรงดันที่กระทบวัสดุเปลี่ยนจากแรงดันและคลายเเรงลง แต่ในทางตรงกันข้าม เเรงดึงดูดขอโลก เป็นเเรงดันที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

ยุนยัพ เราเชนนาร์ส (Janjaap Ruijssenaars) สถาปนิกชาวดัทช์แห่งบริษัทกราฟวิตี้ เอ็นเนอร์จี ลิมิเต็ด (Gravity Energy Ltd.) กล่าวว่าปัญหาของเเรงดึงดูดโลกคือเป็นเเรงดันเพียงอย่างเดียว

เราเชนนาร์ส สังเกตุพบว่าหากนำแท่งยาวไปติดแนวตั้งกับจานฐาน และเมื่อออกแรงผลักเสาให้เสียสมดุล เสาจะเกิดการโอนเอนไปมาเป็นเวลานาน สร้างแรงกดลงบนขอบของจานฐาน

เราเชนนาร์สกล่าวว่านี่เป็นการคิดค้นเครื่องผลิตไฟฟ้าจากแรงโน้มถ่วงโลก โดยแรงโน้มถ่วงที่ช่วยทำให้เสาโอนเอนไปมาจะเกิดแรงดันต่อจานฐานซึ่งจะถูกแปรให้เป็นกระแสไฟฟ้า

วัสดุเพียโซอิเลคทริคที่เสียบเข้าไประหว่างจานฐานที่ขยับไปมากับพื้นที่อยู่คงที่จะผลิตไฟฟ้าออกมาเมื่อได้รับเเรงดันเเละเเรงคลายอยู่อย่างสม่ำเสมอ

แท่งเสาที่โอนเอนไปมายังสามารถผลิตไฟฟ้าได้ด้วยเมื่อนักวิจัยทดลองใช้ลมร้อนที่ได้จากหลอดไฟส่องไปที่ใช้ตัวหมุนขนาดเล็กที่ติดอยู่ด้านบนของเสา

สถาปนิกชาวดัทช์กล่าวว่าหลักการนี้ยังค่อนข้างใหม่อยู่เเละยังต้องศึกษากันต่อไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตกระเเสไฟฟ้าจากเเรงดึงดูดของโลกเพื่อดูว่าสามารถเพิ่มจำนวนวัสดุเพียโซอิเลคโทรนิคเข้าไปในระบบได้มากแค่ไหน

เราเชนนาร์สกล่าวว่าหลักการเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้ได้กับการผลิตกระเเสไฟฟ้าในปริมาณที่สูงขึ้นเพื่อชาร์ทแบตเตอรี่รถยนต์หรือใช้กับเครื่องปั่นไฟ

(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG