ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์เบื้องลึกสาเหตุ 'มาเลเซียกับอินโดนีเซีย' เผาเรือประมงรุกน่านน้ำทะเลจีนใต้


FILE - Malaysian and Vietnamese fishing boats are destroyed for illegal fishing by the Ministry of Maritime Affairs and Fisheries, police and navy, in Batam, Riau Islands, Indonesia, April 5, 2016. The Indonesian government reportedly sank 28 illegal fore
FILE - Malaysian and Vietnamese fishing boats are destroyed for illegal fishing by the Ministry of Maritime Affairs and Fisheries, police and navy, in Batam, Riau Islands, Indonesia, April 5, 2016. The Indonesian government reportedly sank 28 illegal fore

อินโดนีเซียและมาเลเซียได้เผาเรือประมงต่างชาติที่ยึดได้หลังจากล่วงล้ำเข้าไปทำประมงในน่านน้ำในทะเลจีนใต้ของตน

สื่อมวลชนในมาเลเซียรายงานว่า หน่วยยามฝั่งของมาเลเซียได้ทำการเผาเรือประมงต่างชาติสองลำ ขณะลอยลำในทะเลเมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยนี่เป็นมาตรการที่ต่างไปจากเดิมที่เคยใช้วิธีการจมเรือประมงเเบบเงียบๆ

ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงงานว่า มีเรือประมงจากจีน เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ที่มักเดินเรือเข้าไปในเขตน่านน้ำที่อยู่นอกชายฝั่งมาเลเซียทางเหนือของเกาะบอร์เนียว

ส่วนในอินโดนีเซีย มีเรือประมงจากชาติเดียวกันทั้งสามชาติข้างต้นเเละจากมาเลเซีย ที่เดินเรือเข้าไปใกล้ชายฝั่งของอินโดนีเซียมากเกินไป และประธานาธิบดีโจโก้ วีโดโด้ แห่งอินโดนีเซีย ได้สั่งให้ทางการทำลายเรือประมงต่างชาติที่ล้ำเขตน่านน้ำไปแล้ว 317 ลำ ในหลายปีที่ผ่านมา

บรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า การเผาเรือประมงต่างชาติที่ล้ำเขตน่านน้ำนี้เป็นคำเตือนที่ก้าวร้าวมากขึ้นของมาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่ส่งไปยังเรือประมงต่างชาติ ซึ่งช่วยเพิ่มความสนใจรอบใหม่เเก่การกล่าวอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนบางส่วนในทะเลจีนใต้ของทั้งสองประเทศนี้

เติมศักดิ์ เฉลิมพลานุภาพ นักวิจัยทุนด้านกิจการการเมืองเเละความมั่นคงที่ศุนย์เอเชียอาคเนย์ศึกษา สถาบัน Yusof Ishak ในสิงคโปร์ กล่าวว่าอินโดนีเซียทำการเผาเรือประมงต่างชาติก่อนหน้านี้ และตอนนี้มาเลเซียก็เอาอย่างบ้าง โดยเชื่อว่าอาจจะเป็นการข่มขู่ให้กลัวเท่านั้น

เรือประมงมักจะไล่ตามฝูงปลาโดยไม่สนใจเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทสอื่นๆ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล บรรดานักวิชาการด้านทะเลจีนใต้กล่าวว่า ในขณะที่ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนมากขาดเเคลนเรือลาดตระเวณทางทะเล ที่ทำหน้าที่หยุดเรือประมงต่างชาติที่ล้ำเขตน่านน้ำของตน เเต่มีเครื่องมือในการบอกให้เรือต่างชาติรู้ว่ากำลังทำการประมงในน่านน้ำใด

Oh Ei Sun อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหนานหยางในสิงค์โปร์ กล่าวว่า บางครั้งเรือประมงเป็นหนึ่งในฝูงเรือของกลุ่มทำการประมงร่วมกัน อาทิ กลุ่มแปรรูปอาหารทะเล

ผู้เชี่ยวชาญที่เกิดในมาเลเซียคนนี้ กล่าวว่า การเผาเรือเป็นหนึ่งในวิธีการจัดการที่มาเลเซียมักจะใช้รับมือกับหลายๆ เรื่อง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติทางวัฒนธรรม เเต่ไม่ชัดเจนว่ามาเลเซียจะใช้วิธีการเผาเรือเป็นมาตรการทั่วไปในการจัดการปัญหาเรือประมงต่างชาติล่วงล้ำเขตน่านน้ำหรือไม่

กรมการประมงของมาเลเซียชี้ว่า มาเลเซียสูญเสียอาหารทะเล 980,000 ตัน มูลค่าถึง 6 พันล้านริงกิทหรือ 1 พัน 43 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ไปกับการทำประมงผิดกฏหมาย

Oh Ei Sun อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยหนานหยาง สิงค์โปร์ กล่าวว่า เรือประมงต่างชาติน่าจะเข้าไปทำการประมงในเขตน่านน้ำของมาเลเซีย เพราะได้ปลาตัวโตกว่าและมีราคาสูงกว่า

Jay Batongbacal ผู้อำนวยการเเห่งสถาบันเพื่อกิจการทางทะเลและกฏหมายทางทะเลที่มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ กล่าวว่า เรือประมงจากจีนเคยถูกพบบ่อยมากที่สุด ขณะเข้าไปทำการประมงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศอื่นๆ แต่เรือประมงจากเวียดนามที่ล่วงล้ำเขตน่านน้ำประเทศอื่น ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2010 หลังจากจีนขับไล่เรือเวียดนามจากการล่าปลาใกล้กับชายฝั่งจีน อาทิ บริเวณรอบหมู่เกาะพาราเซล

Batongbacal กล่าวว่า ชาติเหล่านี้ต่างพยายามป้องกันไม่ให้เรือประมงต่างชาติล่วงล้ำน่านน้ำของตน เนื่องจากมีถึง 6 ชาติที่ขัดเเย้งกันด้านดินแดนในทะเลจีนใต้ ซึ่งกินพื้นที่ 3 ล้าน 5 เเสน ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีทั้งเเหล่งน้ำมันเเละเเก๊สธรรมชาติ

เติมศักดิ์ เฉลิมพลานุภาพ แห่งศูนย์เอเชียอาคเนย์ศึกษา กล่าวว่า การล่วงล้ำเขตน่านน้ำของเรือประมง ไม่น่าจะกลายเป็นปัญหาความสัมพันธ์ทางการทูต เเต่เเน่นอนว่าสมาคมอาเซียนที่มีสมาชิก 10 ชาติ จะเตือนเรือประมงจากชาติตนให้เคารพต่อเพื่อนบ้าน

เขากล่าวว่า การเผาทำลายเรือประมงต่างชาติเป็นวิธีการส่วนหนึ่งของความพยายามปกป้องเขตเศรษฐกิจจำเพาะ จีนในฐานะชาติที่อ้างสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้รายใหญ่ที่สุด ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเรือประมงจีนจะยังเข้าไปทำการประมงในประเทศอื่นๆ ที่อ่อนแอกว่าต่อไปอย่างไม่ล้มเลิก เพื่อจับปลาที่ตัวโตกว่าเเละมีมูลค่าสูงกว่า

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG