ลิ้งค์เชื่อมต่อ

คำกล่าว "ขอโทษ" หรือ "เสียใจ" อาจไม่ช่วยให้ผู้ถูกปฏิเสธรู้สึกดีเสมอไป


rejection research
rejection research

ผลการศึกษาชี้ว่าการบอกว่าเสียใจมักปิดกั้นโอกาสแสดงความผิดหวัง

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:18 0:00

รายงานการศึกษาวิจัยระดับหลังปริญญาเอกของคุณ Gili Freedman ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Frontier in Psychology ระบุว่า ในความสัมพันธ์ทางสังคมที่เรามีอยู่กับคนอื่น การตอบปฏิเสธคำขอต่างๆ ที่เราไม่สะดวก หรือทำไม่ได้นั้น ไม่ควรจะตามมาด้วยคำ "ขอโทษ" หรือคำว่า "เสียใจ"

เพราะถึงแม้คำว่า "เสียใจ" ที่เราแสดงออกมา อาจช่วยให้เรารู้สึกสบายใจขึ้นจากการต้องปฏิเสธคำขอต่างๆ ก็ตาม แต่เรื่องนี้ไม่ได้ทำให้ผู้ที่ถูกปฏิเสธรู้สึกดีขึ้นแต่อย่างใด และอาจทำให้รู้สึกว่าจำใจต้องยอมรับการถูกปฏิเสธนั้น

คุณ Gili Freedman นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยของ Dartmouth College ผู้ทำการศึกษาเรื่องนี้ อธิบายว่า ในทางกลับกัน คำปฏิเสธที่ไม่มีคำขอโทษหรือคำว่าเสียใจพ่วงตามมานั้น จะเปิดโอกาสให้ผู้ที่ถูกปฏิเสธสามารถแสดงอารมณ์ผิดหวัง น้อยใจ หรือโกรธออกมาได้ง่ายกว่า

และเรื่องนี้มีประโยชน์เพราะจะเป็นโอกาสที่ช่วยปลดเปลื้องทางอารมณ์ทำให้ผู้ถูกปฏิเสธสามารถก้าวข้ามคำปฏิเสธนั้นไปได้ แทนที่จะถูกเก็บกดไว้ในใจ หรือถูกกดดันให้ต้องยอมรับจากคำขอโทษ

ผลการศึกษาเรื่องนี้อธิบายด้วยว่า คำขอโทษ หรือคำว่าเสียใจ ดูจะเป็นการตอกย้ำซ้ำเติมความรู้สึกของผู้ถูกปฏิเสธมากกว่าจะช่วยลดความรู้สึกผิดหวังลง ซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเรื่องนี้ได้ชี้ว่า ในบางลักษณะความสัมพันธ์ เช่น ในความสัมพันธ์ทางธุรกิจนั้น กฎเกณฑ์หรือกติกาเรื่องนี้อาจแตกต่างไป เช่น หากผู้จัดการฝ่ายบุคคลปฏิเสธผู้สมัครงาน หรือหัวหน้างานบอกว่า "ขอโทษ" หรือ "เสียใจ" ที่ต้องปลดคุณออกจากงาน

ในความสัมพันธ์แบบนี้การแสดงความเสียใจอาจช่วยให้ความรู้สึกของผู้ที่ถูกปฏิเสธดีขึ้นได้ เนื่องจากลักษณะของความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับอำนาจนั้นแตกต่างไป

XS
SM
MD
LG