ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ของมันต้องมี! รู้จัก ‘ทักษะด้านอารมณ์’ ในที่ทำงาน


Soft Skills เพื่อการทำงานที่ก้าวหน้า
Soft Skills เพื่อการทำงานที่ก้าวหน้า
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:19 0:00

เมื่อ Hard Skills คือ แก่นแท้ที่ทำให้คุณได้งาน เช่น เมื่อคุณเป็นทนาย ต้องร่างสำนวนได้ ว่าความได้ เมื่อคุณเป็นสถาปนิก คุณออกแบบอาคารได้ เมื่อคุณเป็นพ่อครัว คุณปรุงอาหารได้อร่อยและถูกปากผู้คนได้

แต่ในสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ Soft Skills หรือทักษะด้านอารมณ์ จะเป็นลำต้นที่ลำเลียงน้ำและอาหารที่ทำให้หน้าที่การงานเจริญเติบโตไปได้

Soft Skills
Soft Skills

บทความของ Nelson Repenning, Don Kieffer และ Todd Astor อาจารย์และศิษย์เก่าจากคณะวิทยาการจัดการ Sloan ของสถาบันเทคโนโลยีแมตซาชูเสตซ์ หรือ MIT Sloan 1 ใน 10 สถาบัน MBA ที่ดีที่สุดในสหรัฐฯ ตอกย้ำความสำคัญของ Soft Skill หรือ ทักษะด้านอารมณ์ในการทำงาน ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กับ Hard Skill หรือทักษะด้านอาชีพ ที่ทุกคนต้องมีควบคู่กันไป

หลักการของ Soft Skills ในมุมมองของ MIT ได้แก่ การคิดเชิงวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี แต่น่าแปลกที่ทักษะสุดท้าย อย่างการระบุปัญหาได้อย่างถูกต้องและชัดเจน กลับเป็นทักษะที่ถูกมองข้ามไปในการบริหาร

ในบทความของ MIT Sloan นี้ชี้ว่า ผู้นำหรือผู้บริหารที่เข้าใจปัญหาที่แท้จริงขององค์กรได้ มักจะก้าวนำผู้อื่นไปก่อน 1 ก้าวเสมอ เพราะพวกเขาจะเสียเวลาและพลังงานไปกับการแก้ปัญหาตรงจุดและเร็วกว่าผู้บริหารที่คลำทางไม่เห็นถึงปัญหาที่แท้จริงขององค์กร

การเข้าใจปัญหาที่ถูกต้อง มีหลักการง่ายๆ 5 อย่าง

1. ปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งที่องค์กรตั้งเป้าหมาย หรือ ให้คุณค่าหรือไม่?

2. สามารถระบุถึงช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างสถานการณ์ปัจจุบันกับเป้าหมายขององค์กรได้ชัดเจนหรือไม่?

3. ตั้งเป้าหมายที่สามารถวัดค่าประเมินผลได้

4. มีความเป็นกลางในการค้นหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข

5. สามารถตั้งขอบข่ายของการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้และเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อถกเถียงถึงความสำคัญของ Soft Skills ต่อการทำงานในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะการก้าวเข้ามาของกำลังแรงงานจากรุ่นมิลเลเนียล ที่ถือว่ามีทักษะด้าน Hard Skill ที่เหนือกว่าคนรุ่นเก่า

แต่อาจารย์ John Van Maanen จาก MIT มองว่า คนยุคมิลเลเนียล ขาดทักษะการแก้ปัญหาและมนุษยสัมพันธ์ โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีม และรู้จักสื่อสารภายในองค์กร

ทั้งนี้ บทความของ Namrata Kala จากคณะเศรษฐศาสตร์ของ MIT Sloan เปิดเผยตัวเลขที่น่าสนใจว่า เมื่อองค์กรลงทุนฝึกอบรมพนักงานในการพัฒนา Soft Skills จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนด้านการอบรมมากกว่า 2 เท่าตัวภายในเวลาไม่ถึง 1 ปีที่การอบรมสิ้นสุดลง

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการอบรมทักษะ Soft Skill ยังส่งผลดีไปถึงเพื่อนร่วมงานที่ไม่เคยได้รับการอบรม ให้พัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันได้มากขึ้นด้วย

XS
SM
MD
LG