ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์พัฒนาวัคซีนเสริมประสิทธิภาพในการต่อต้านวัณโรค


นักวิทยาศาสตร์พัฒนาวัคซีนเสริมประสิทธิภาพในการต่อต้านวัณโรค
นักวิทยาศาสตร์พัฒนาวัคซีนเสริมประสิทธิภาพในการต่อต้านวัณโรค

นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันวิจัยโรคติดต่อที่เมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน พัฒนาวัคซีนที่มีศักยภาพในการเสริมความสามารถวัคซีนต้านเชื้อวัณโรคที่มีอยู่ตอนนี้ นักวิจัยกล่าวว่า ยาทดลองนี้ อาจใช้ป้องกันเชื้อวัณโรคชนิดร้ายแรงที่ดื้อยาได้ด้วย นักวิจัยคาดว่า จะมีการทดลองที่ปลอดภัยกับคนในสหรัฐได้ในอีกไม่ช้า และจะมีการทดลองในขอบเขตกว้างขวางออกไปกับคนจำนวนมากขึ้นในอินเดียต่อไป นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า หากไม่มีปัญหาด้านความปลอดภัย ก็จะมีการอนุมัติให้นำยานี้ออกใช้กับเด็กโตหรือเด็กวัยรุ่นได้ต่อไป ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่า จะไม่มีปัญหาอะไร

ปีหนึ่งๆ วัคซีนเพียงชนิดเดียวที่ใช้ป้องกันวัณโรคอยู่ตอนนี้ ที่เรียกว่า BCG นั้น ใช้กับเด็กทารกและเด็กเล็กราว 120 ล้านคนทั่วโลกในประเทศกำลังพัฒนา แต่วัคซีนนี้มีปัญหา

Rhea Coler แห่งสถาบันวิจัยโรคติดต่อซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงกำไรที่เมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐกล่าวว่า ภูมิต้านทานที่วัคซีนนี้ทำให้เกิดขึ้นในร่างกายจะค่อยๆ ลดลง จนไม่สามารถคุ้มกันผู้ได้รับวัคซีนนี้ในวัยเด็กเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มาตอนนี้ มีพัฒนาการที่นักวิจัยกล่าวว่า เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น คือ Rhea Coler และเพื่อนร่วมงานได้พัฒนาวัคซีนเสริมความสามารถในการต่อต้านวัณโรคขึ้นมาได้ และหวังกันว่า จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีน BCG

ในการศึกษากับหนูทดลอง วัคซีนทดลองนี้ทำให้หนูทดลองที่ได้รับวัคซีน BCG ตั้งแต่ยังเป็นลูกหนูเล็กๆ มีภูมิต้านทานตลอดชีวิต

วัคซีนเสริมความสามารถในการต่อต้านวัณโรคนี้ มีสารโปรตีน 4 ชนิดจากเชื้อวัณโรค โดยคัดมาในห้องทดลองตามคุณสมบัติในการกระตุ้นการตอบสนองของภูมิต้านทานในการต่อต้านโรค นักวิจัยกล่าวว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเชื้อวัณโรคมีหลายชนิด และไม่มีสารโปรตีนชนิดหนึ่งชนิดใดมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อได้หมดทุกชนิด

นักวิทยาศาสตร์พบประโยชน์ยิ่งกว่านั้น คือ วัคซีนนี้ ดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อวัณโรคสายพันธ์ที่ไม่ไม่ตอบสนองยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการบำบัด

ประชาชนราว 1 ใน 3 ของโลกติดเชื้อวัณโรค ซึ่งแพร่ทางอากาศ ติดได้ง่ายเหมือนไข้หวัดทั่วไปจากการไอหรือจาม ส่วนใหญ่คนทั่วไปไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อ เพราะวัณโรคหรือ TB มักอยู่ในสภาพแอบแฝงหรือหลบใน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ผู้ติดเชื้อราว 5 – 10 % ที่มีอาการเจ็บป่วย

การบำบัดผู้ป่วยต้องใช้ยาสองขนานขึ้นไปพร้อมๆ กัน เป็นเวลาหลายเดือน หากไม่รับประทานยาครบตามกำหนด อาจทำให้เชื้อที่แข็งแรงยังไม่ตายและกลายเป็นเชื้อดื้อยา

นักวิจัยคาดว่า จะมีการทดลองที่ปลอดภัยกับคนในสหรัฐได้ในอีกไม่ช้า และจะมีการทดลองในขอบเขตกว้างขวางออกไปกับคนจำนวนมากขึ้นในอินเดียต่อไป

Rhea Coler กล่าวว่า หากไม่มีปัญหาด้านความปลอดภัย ก็จะมีการอนุมัติให้นำยานี้ออกใช้กับเด็กโตหรือเด็กวัยรุ่นได้ต่อไป ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่า จะไม่มีปัญหาอะไร

บทความเรื่องนี้ ลงพิมพ์ในวารสาร Science Translational medicine

XS
SM
MD
LG