ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การเคลื่อนตัวในชั้นเปลือกโลกแบบอ่อนๆ เป็นสัญญาณล่วงหน้าของแผ่นดินไหวรุนแรง


Emergency rescuers continue to search for the missing in a collapsed building from an earthquake in Tainan, Taiwan, Feb. 7, 2016.
Emergency rescuers continue to search for the missing in a collapsed building from an earthquake in Tainan, Taiwan, Feb. 7, 2016.

ทีมนักวิจัยญี่ปุ่นชี้ว่าค้นพบสัญญาณที่เตือนว่าจะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่อย่างที่เกิดขึ้นในฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นเมื่อปีค.ศ. 2011

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:22 0:00
Direct link

คุณ Naoki Uchida ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ศูนย์วิจัยด้านการพยากรณ์แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดแห่งมหาวิทยาลัย Tohoku ประเทศญี่ปุ่น กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า เเม้ว่ายังเป็นหนทางที่ยาวไกลกว่าจะพัฒนาให้สามารถพยากรณ์เหตุแผ่นดินไหวให้อย่างแม่นยำ แต่เขาเชื่อว่าการค้นพบข้อมูลที่เป็นสัญญาณของเหตุเเผ่นดินไหวครั้งใหญ่นี้เป็นความคืบหน้าที่สำคัญมากในการพัฒนาให้ไปถึงจุดนั้น

คุณ Uchida พร้อมด้วยเพื่อนร่วมทีมงานชาวญี่ปุ่นสองคน กับนักวิทยาศาสตร์อีกสองคนจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบิร์คลี่ย์ ได้ระบุว่าพบสัญญานที่เเสดงว่าการสั่นสะเทือนแบบไม่สามารถรู้สึกได้ จะเริ่มเพิ่มความแรงขึ้นราวสองสามวันก่อนหน้าการสั่นไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปีค.ศ. 2011 ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดคลื่นทะเลยักษ์สึนามิ

เหตุแผ่นดินไหวกับคลื่นทะเลยักษ์ครั้งนั้น ทำให้คนเสียชีวิตราว 18,000 คนและสร้างความเสียหายแก่โรงงานนิวเคลียร์รีเเอคเตอร์ในฟูกูชิม่าถึงสามโรง และเหตุแผ่นดินไหวในทะเลครั้งนั้นถือว่ารุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นกับญี่ปุ่น

คุณ Uchida กับเพื่อนร่วมงานได้วิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก มากกว่าหกพันลักษณะที่เกิดขึ้นในช่วง 28 ปี เพื่อค้นหาอัตราของการเคลื่อนตัวของชั้นเปลือกโลกอย่างช้าๆ ที่เพิ่มขึ้นและลดลงในทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น

คุณ Uchida กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า ผลการวิเคราะห์ชี้ถึงความเป็นไปได้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ หากตรวจพบว่ากำลังเกิดการเคลื่อนตัวของชั้นเปลือกโลกอย่างช้าๆ และไม่มีแรงสั่นสะเทือนรุนแรงขึ้น

เขาย้ำว่าการนำข้อมูลความเกี่ยวข้องนี้ไปพิจารณาร่วมกับการพยากรณ์เหตุแผ่นดินไหวจะมีความแม่นยำมากขึ้น

การเคลื่อนตัวของชั้นเปลือกโลกแบบช้าๆ ทำให้แผ่นหินในชั้นเปลือกโลกเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ตามไปด้วย โดยช้ากว่าเหตุแผ่นดินไหวอย่างมาก และไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนแต่อย่างใด แต่การเคลื่อนตัวของชั้นเปลือกโลกแบบไม่มีแรงสั่นสะเทือนรุนแรงเหล่านี้ จะเพิ่มความเครียดให้กับบริเวณใกล้เคียง และอาจจะเป็นเหตุให้เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงตามมา

อย่างไรก็ดี หลายคนไม่เชื่อว่าการเฝ้าระวังดูการเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ในชั้นเปลือกโลก จะช่วยพัฒนาการพยากรณ์เหตุแผ่นดินไหวให้แม่นยำมากขึ้น

คุณเดวิด เเจ็คสัน ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแอลเอ กล่าวว่า ตนคิดว่าอย่างดีที่สุด ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการเคลื่อนตัวของชั้นเปลือกโลกอย่างช้าๆ น่าจะนำไปใช้แสดงความเป็นไปได้ในระดับต่ำๆ เท่านั้น ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่

ด้านคุณฟิลลิป สตาร์ค ศาสตราจารย์ด้านสถิติแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์คลี่ย์กล่าวว่า หากนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถทดสอบการพยากรณ์ต่างๆ ที่ใช้ข้อมูลใหม่นี้ร่วมด้วย ก็ยังถือว่าเป็นการค้นพบหลักฐานสนับสนุนที่น่าสนใจแต่ไม่ใช่การค้นพบข้อมูลใหม่ที่สำคัญ คุณสตาร์ควิจารณ์ว่าการศึกษาวิจัยนี้ขาดข้อมูลทางสถิติ

นักวิจารณ์ทฏษฎีการพยากรณ์แผ่นดินไหวคนสำคัญอีกคนหนึ่งกล่าวว่า หลังเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เป็นเรื่องง่ายที่จะถือเอาว่าการเคลื่อนไหวใดๆ ใต้เปลือกโลกเป็นสัญญาณเตือนก่อนหน้าเหตุแผ่นดินไหว

คุณโรเบิร์ต เกลเล่อร์ ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว กล่าวว่า แม้ว่าจะมีการพยากรณ์ด้านนี้มานาน 100 ปีแล้ว ยังไม่มีใครสามารถค้นพบวิธีที่ดีกว่าในการแยกแยะการสั่นสะเทือนก่อนหน้าเหตุแผ่นดินไหว จากเหตุแผ่นดินไหวเเบบอ่อนๆ ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวได้

ศาสตราจารย์เเจ็คสันเห็นด้วยกับทั้งคุณสตาร์คและคุณเกลเล่อร์ในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่า ควรรอดูก่อนว่าทีมงานจะประสบความสำเร็จแค่ไหนในการใช้ข้อมูลนี้ช่วยในการพยากรณ์ล่วงหน้าถึงจุดที่จะเกิดแผ่นดอนไหว เวลาและขนาดของเหตุแผ่นดินไหว

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG