ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สีสันการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก 'โอลิมปิกจักรกล' เพื่อสันติภาพไร้พรมแดน


สีสันการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก 'โอลิมปิกจักรกล' เพื่อสันติภาพไร้พรมแดน

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:44 0:00

การแข่งขันหุ่นยนต์ของนักเรียนระดับมัธยม "FIRST Global Robotic Challenge" ที่กรุงวอชิงตัน มีเด็กๆ จาก 160 ประเทศเข้าร่วม เปรียบเสมือนโอลิมปิกจักรกลที่นักเรียนมัธยมทั่วโลกอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันสักครั้งในชีวิต

เช่นเดียวกับทีมโรบอติกส์หญิงชาวอัฟกัน ที่เดินทางเข้าสหรัฐฯได้ในนาทีสุดท้าย หลังจากถูกปฏิเสธวีซ่าเข้าสหรัฐฯ ถึง 2 ครั้งก่อนหน้านี้

ลิด้า อาซีซี่ หนึ่งในสมาชิกทีมโรบอติกส์อัฟกัน บอกว่า "ทั้งหมดนี้คือผลจากการที่พวกเธอไม่ยอมแพ้ และไม่ยอมหมดหวังกับอุปสรรคที่เข้ามา"

และไม่เพียงแค่ทีมโรบอติกส์จากอัฟกานิสถานเท่านั้น แต่ในปีนี้มีนักเรียนหญิงเข้าร่วมการแข่งขันถึง 209 คน จากนักเรียน 830 คนที่เข้ามาแข่งขันที่กรุงวอชิงตัน

ยิ่งไปกว่านั้นยังมีทีมโรบอติกส์หญิงล้วนที่เข้าร่วมการแข่งขันในปีนี้ถึง 5 ทีมด้วยกัน จากสหรัฐฯ กานา จอร์แดน เขตปกครองตนเองปาเลสไตน์ และทีมโรบอติกส์หญิงจากวานูอาตู ที่มีชื่อทีมว่า “SMART Sistas”

นอกจากพลังหญิงในการแข่งขันแล้ว ยังมีความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในเกมตลอด 2 วันที่ผ่านมา

กติกาในการแข่งขันการแข่งขัน คือจะต้องให้หุ่นยนต์คัดแยกลูกบอลสีส้มกับสีน้ำเงินออกจากกัน และนำไปใส่ในจุดต่างๆ ที่กรรมการกำหนด โดยทีมที่ทำภารกิจได้สมบูรณ์ที่สุดและเร็วที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

ซึ่งในรอบที่ 4 ทีมโรบอติกส์จากรัสเซีย สหรัฐฯ และซูดาน ต้องผนึกกำลังกันเพื่อแข่งขันกับฝั่งตรงข้ามจากซิมบับเว มอลโดวา ตรินิแดด และโทบาโก แต่ปรากฏว่าพ่ายแพ้ไปด้วยคะแนน 20 ต่อ 40 แต้ม

อีกหนึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศ คือ ทีมโรบอติกส์จากอิหร่าน ที่ไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ ที่ห้ามนำเข้าสินค้าประเภทเทคโนโลยีเข้าสหรัฐฯ แต่ก็ได้ความช่วยเหลือจากนักเรียนมัธยมจาก George C. Marshall High School ในเมือง Falls Church รัฐเวอร์จิเนีย ที่ช่วยประกอบหุ่นยนต์ตามที่ทีมจากอิหร่านออกแบบและส่งเข้าแข่งขันได้ในที่สุด

นอกจากนี้ ยังมีทีมของผู้ลี้ภัยจากซีเรีย ที่ตั้งชื่อทีมว่า Hope หรือ ความหวัง มาเข้าร่วมในปีนี้ โดยส่งหุ่นยนต์ "Robogee" ที่ผนวกคำว่า "Robot " กับ "Refugee" เข้าร่วมแข่งขันในปีนี้ด้วย

ชัยชนะไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่ากับความทุ่มเท เพราะ Dean Kamen ผู้ก่อตั้ง First Global ที่จัดการแข่งขันครั้งนี้ บอกว่า "การต่อสู้ระหว่างหุ่นยนต์จาก 160 ประเทศ แน่นอนว่าส่วนใหญ่ต้องกลายเป็นผู้พ่ายแพ้ แต่สิ่งที่พวกเขาได้จากการคิดค้น ออกแบบ และประดิษฐ์หุ่นยนต์ด้วยน้ำพักน้ำแรง การได้ช่วยเหลือเพื่อนในทีมและต่างทีมต่างชาติต่างภาษา ถือได้ว่าเด็กๆทุกคนได้รับชัยชนะสูงสุดแล้ว"

ปิดฉากการแข่งขัน ผู้ชนะในปีนี้ตกเป็นของประเทศฟินแลนด์ และการแข่งขันนี้จัดขึ้นครั้งต่อไปที่กรุงเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก ในปีหน้า

XS
SM
MD
LG