ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สินค้าจากคาร์บอนรีไซเคิลช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน


A worker inspects a ring set with an Aether diamond made from captured CO2, at the RFG Manufacturing Riviera jewelry design facility in New York City, New York, September 30, 2021. REUTERS Mike Segar
A worker inspects a ring set with an Aether diamond made from captured CO2, at the RFG Manufacturing Riviera jewelry design facility in New York City, New York, September 30, 2021. REUTERS Mike Segar
Recycled Carbon Products
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:23 0:00


เพชร แว่นตากันแดด และชุดกีฬา ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตได้โดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซหลักที่ทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกร้อนขึ้น และบรรดาบริษัทเทคโนโลยีรายใหม่ที่ทำให้การผลิตดังกล่าวเกิดขึ้นได้ กำลังได้รับความสนใจจากกลุ่ม นักลงทุน

ทั้งนี้ ขั้นตอนการผลิตมีทั้งการใช้แบคทีเรีย โปรตีน หรือการใช้กระบวนการทางเคมีเพื่อเร่งปฏิกิริยา ตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะทำโดยการแยกคาร์บอนและออกซิเจนในก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากกัน เพื่อสร้างสารเคมีอีกชนิดที่ใช้ในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ

สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่าข้อมูลจากบริษัทวิจัย PitchBook, Circular Carbon Network, Cleantech Group และ Climate Tech VC ระบุว่าบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนรีไซเคิลสามารถระดมทุนได้ประมาณกว่า 800 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ ซึ่งมากกว่าสามเท่าของยอดรวมในปี 2020

ไรอัน เชียร์แมน (Ryan Shearman) ผู้บริหารบริษัท Aether Diamonds ซึ่งใช้วิธีแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการผลิตเพชรเทียมกล่าวว่า เขาไม่อยากจะเรียกราคาของสินค้าดังกล่าวว่าเป็นภาษีสิ่งแวดล้อม แต่ผู้ บริโภคที่ใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมจริงๆ ก็แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเต็มใจที่จะจ่ายในราคาพรีเมี่ยมนั้น

นอกจากนี้ยังมีการใช้คาร์บอนรีไซเคิลอีกรูปแบบหนึ่งคือการผลิตคอนกรีต ที่แม้จะมีประกายที่เฉิดฉายน้อยกว่าเพชรแต่ก็ยังมีความแข็งแรงอยู่ บริษัท CarbonCure Technologies กำลังพัฒนาวิธีการฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงในคอนกรีตระหว่างกระบวนการผลิต โดยคาร์บอนที่ถูกจับอยู่ภายในจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับแท่งคอนกรีตและยังช่วยกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ให้มีเพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศด้วย

Robin Niven ประธานบริษัทนี้กล่าวว่า คำว่า “สีเขียว” นั้นดีต่อการทำการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ เหล่านี้ และว่าประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้ามาจากผู้ผลิตคอนกรีตอิสระ ทั้งรายใหญ่และราย ย่อยที่กำลังมองหาความได้เปรียบในการแข่งขัน

อย่างไรก็ตาม องค์การสหประชาชาติกล่าวว่าประเทศต่างๆ จำเป็นต้องดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ปีละ 10,000 ล้านตันภายในปี 2050 เพื่อจะชะลอสภาพอากาศแปรปรวน แต่โครงการดักจับคาร์บอนในปัจจุบันสามารถกักเก็บได้เพียงปีละไม่กี่พันตันเท่านั้น

ทั้งนี้มนุษย์ผลิตก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนี้เท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์ปีละประมาณ 50,000 ล้านตัน โดยผู้แทนระหว่างประเทศจะร่วมการประชุม UN Climate Conference ว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศสกอตแลนด์ในช่วงปลายเดือนตุลาคมและเดือนพฤศจิกายนนี้

FILE PHOTO - In this Nov. 28, 2019 photo, smoke and steam rise from a coal processing plant in Hejin in central China's Shanxi Province.
FILE PHOTO - In this Nov. 28, 2019 photo, smoke and steam rise from a coal processing plant in Hejin in central China's Shanxi Province.

เมื่อเดือนพฤษภาคม ศูนย์นโยบายพลังงานโลกของมหาวิทยาลัย Columbia University ได้เผย แพร่รายงานเกี่ยวกับการรีไซเคิลคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งระบุว่า หากผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ทำจากน้ำมันใช้คาร์บอนไดออกไซด์ที่รีไซเคิลแทน จะทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยลงประมาณปีละ 6,800 ล้านตัน

แต่ Amar Bhardwaj หัวหน้านักวิจัยซึ่งเขียนรายงานฉบับนั้นกล่าวว่าการรีไซเคิลคาร์บอนไดออกไซด์อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดเสมอไปเพราะมีวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

อีกด้านหนึ่ง บริษัทเสื้อผ้าอย่าง Lululemon Athletica กับ LanzaTech กล่าวว่าตนได้ร่วมกันผลิตวัสดุโพลีเอสเตอร์จากก๊าซคาร์บอนที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ โดยการใช้แบคทีเรียในการรีไซเคิลเอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งให้เป็นเอทิลีน และเอทิลีนนั้นสามารถนำมาใช้ทำผ้าโพลีเอสเตอร์และภาชนะพลาสติกได้

รายงานของ รอยเตอร์ ระบุว่า LanzaTech สามารถระดมเงินมากได้ที่สุดในบรรดาบริษัทที่แข่งขันกันในแวดวงนี้

เจนนิเฟอร์ โฮล์มเกรน (Jennifer Holmgren) ซีอีโอ ของ LanzaTech กล่าวว่าแม้เอทานอลของตนมีราคาสูงกว่าเอทานอลที่ทำจากข้าวโพด แต่ลูกค้าที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็ยังคงยินดีที่จะซื้อผลิตภัณฑ์นี้อยู่ดี

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศจะไม่ใช่ความคิดที่ดีสำหรับนักลงทุน ซึ่งคิดว่ารัฐบาลควรเป็นผู้รับผิดชอบโครงการที่มีความเสี่ยงสูงและมีค่าใช้จ่ายสูงนี้ แต่ นิโคลัส มัวร์ ไอเซนเบอร์เกอร์ (Nicholas Moore Eisenberger) จากกลุ่มการลงทุน Pure Energy Partners กลับมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป เขาลงทุนในบริษัทดักจับอากาศชื่อ Global Thermostat เพราะเขามองเห็นถึงโอกาส และเชื่อว่าเมื่อโครงการเติบโตเพียงพอต้นทุนก็จะลดลง

เขากล่าวอีกว่าวิทยาศาสตร์ได้บอกไว้แล้วว่าเรามีเวลาเหลืออีกไม่ถึงหนึ่งทศวรรษที่จะเริ่มควบคุมการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่เวลาดังกล่าวก็น่าจะอยู่ในกรอบเวลาที่นักลงทุนส่วนใหญ่สนใจ

(ที่มา: สำนักข่าว รอยเตอร์)

XS
SM
MD
LG