ลิ้งค์เชื่อมต่อ

‘กูเกิล’ เผย บริการค้นหาเที่ยวบินของตนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้


FILE - A Google logo is seen at the company's headquarters in Mountain View, California, July 19, 2016.
FILE - A Google logo is seen at the company's headquarters in Mountain View, California, July 19, 2016.
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:45 0:00


‘กูเกิล’ บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ประกาศว่า ระบบช่วยค้นหาเที่ยวบินที่เพิ่งเปิดตัวออกมาใหม่ของตน มีความสามารถช่วยนักเดินทางตัดสินใจเลือกเที่ยวบินที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ต่ำได้ ซึ่งหมายถึง การเดินทางทางอากาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

สำนักข่าว เอพี รายงานว่า ระบบช่วยค้นหาเที่ยวบินพร้อมลูกเล่นใหม่ที่ กูเกิล เพิ่งเปิดตัวออกมาเมื่อวันพุธนี้ จะแสดงให้เห็นถึงข้อมูลปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แต่ละเที่ยวบินปล่อยออกมาตั้งแต่เริ่มออกบินจนถึงจุดหมายปลายทาง ขณะที่ผู้ใช้งานสามารถเลือกจัดอันดับเงื่อนไขการค้นหาโดยเน้นไปที่อัตราการปล่อยก๊าซเป็นหลัก เหมือนเวลาที่ตั้งเงื่อนไขเรื่องราคาขณะค้นหาเที่ยวบินได้ด้วย

รายงานข่าวระบุว่า เที่ยวบินที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมัธยฐานจะถูกไฮไลท์ด้วยแถบสีเขียว

กูเกิล เปิดเผยว่า ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณก๊าซคาร์บอนของแต่ละเที่ยวบินนั้น เป็นการประเมินตัวเลขที่รวบรวมมาจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรปและข้อมูลเฉพาะของแต่ละเที่ยวบินที่สายการบินแต่ละแห่งรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยออกมา ซึ่งรวมความถึง อายุ รุ่น และระบบของตัวเครื่อง รวมทั้งความเร็วและระดับความสูงของการบิน และระยะทางจากจุดเริ่มต้นจนถึงที่หมายด้วย

อย่างไรก็ตาม กูเกิล อธิบายว่า ผลการค้นหาเที่ยวบินบางเที่ยวอาจไม่มีตัวเลขประเมินการปล่อยก๊าซ เนื่องจากไม่สามารถหาข้อมูลได้หรือมีข้อมูลไม่เพียงพอ และย้ำด้วยว่า ตัวเลขประเมินที่ระบบแสดงให้ผู้ใช้งานเห็นไม่ได้นับรวมข้อมูลด้านเส้นทางของตัวเครื่องบิน ซึ่งเป็นปัจจัยค่อนข้างสำคัญเพราะจะบอกได้ว่า เป็นการบินตามลมหรือทวนลม หรือว่า เที่ยวบินนั้นๆ ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพหรือตัวเลือกเชื้อเพลิงอื่นๆ

ทั้งนี้ เครื่องบินเป็นแหล่งกำเนิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนแหล่งหนึ่ง ที่แม้จะมีสัดส่วนการปล่อยเพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์ แต่สัดส่วนนี้มีลักษณะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและคาดกันว่า จะขยายตัวได้ถึง 3 เท่าภายในช่วงกลางทศวรรษนี้

(ที่มา: สำนักข่าว เอพี)

XS
SM
MD
LG