ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ปูติน ขู่ดำเนินการแปรรูปธุรกิจชาติตะวันตกที่ถอนตัวจากรัสเซียเป็นของรัฐ


FILE - An electronic screen, installed on the facade of a business tower, shows an image of Russian President Vladimir Putin speaking during his annual state of the nation address, in St. Petersburg, Russia, April 21, 2021.
FILE - An electronic screen, installed on the facade of a business tower, shows an image of Russian President Vladimir Putin speaking during his annual state of the nation address, in St. Petersburg, Russia, April 21, 2021.

เจ้าหน้าที่รัฐบาลรัสเซียเปิดเผยแผนการแปรรูปสินทรัพย์ของบริษัทชาติตะวันตกที่ประกาศถอนตัวออกจากรัสเซียเพราะการโจมตียูเครน ให้กลายมาเป็นของรัฐ โดยแผนการดังกล่าวถูกมองว่า จะส่งผลเสียด้านเศรษฐกิจอย่างหนักต่อธุรกิจหลายร้อยแห่ง แต่จะช่วยให้ชาวรัสเซียนับหมื่นได้มีงานทำต่อไปได้

รายงานข่าวที่อ้างข้อมูลซึ่งรวบรวมโดยวิทยาลัยการจัดการ แห่งมหาวิทยาลัยเยล ระบุว่า มีบริษัทอย่างน้อย 375 แห่งที่ประกาศนโยบายถอนธุรกิจออกจากรัสเซียแล้ว โดยบางบริษัทได้ตัดสัมพันธ์กับรัสเซียจนหมดสิ้น ขณะที่ บางแห่งเพียงสั่งระงับการทำธุรกิจไว้ก่อน เพื่อรอโอกาสกลับคืนมาดำเนินงานต่อในอนาคต

สื่อหลายแห่งรายงานว่า บริษัทสัญชาติตะวันตกหลายสิบแห่งได้รับการติดต่อจากอัยการรัสเซียพร้อมคำเตือนว่า สินทรัพย์ของบริษัทเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น โรงงาน สำนักงาน หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เครื่องหมายการค้า อาจถูกรัฐบาลมอสโกยึด หากผู้บริหารตัดสินใจถอนตัวออกจากประเทศนี้จริง

People eat in a McDonald's restaurant near Kremlin in central Moscow, Russia, March 9, 2022.
People eat in a McDonald's restaurant near Kremlin in central Moscow, Russia, March 9, 2022.

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ออกมาให้การรับรองข้อเสนอยึดสินทรัพย์ของธุรกิจชาติตะวันตกของสมาชิกอาวุโสรายหนึ่งของพรรค United Russia ซึ่งเป็นพรรคการเมืองหลักของรัสเซีย

รายงานข่าวเปิดเผยว่า ข้อเสนอดังกล่าวมีมากกว่าการยึดสินทรัพย์ เพราะมีการนำเสนอนโยบายจับกุมผู้บริหารของบริษัทต่างชาติที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลรัสเซียด้วย ขณะที่ สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า ข้อเสนออีกข้อที่กำลังมีการพิจารณาอยู่ก็คือ การพุ่งเป้าจัดการบริษัทมหาชนต่างๆ หากบริษัทนั้นๆ มีผู้ถือหุ้นสัดส่วนมากกว่า 25% ที่เป็นบุคคลซึ่งมาจาก “รัฐที่ไม่เป็นมิตร”

เอลิซาเบธ บรอว์ นักวิชาการอาวุโสจากสถาบัน American Enterprise Institute บอกกับ วีโอเอ ว่า “นี่ไม่ใช่ประเด็นว่า รัสเซียกำลังขู่ว่า ‘เราคิดว่า เราจะสามารถจัดการธุรกิจของบริษัทเหล่านี้ด้วยตนเองได้ดีกว่า’ แต่หากเป็นการลงโทษบริษัททั้งหลาย” ซึ่งแตกต่างจากกรณีในอดีตของรัฐบาลอื่นๆ เช่น คิวบา หลังเหตุการณ์ปฏิวัติ หรือ อิหร่าน ที่ยึดธุรกิจชาติตะวันตกมาเพียงเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ โดยมีการวางยุทธศาสตร์ไว้ก่อนว่า จะพุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมใดซึ่งรัฐบาลจะพัฒนาต่อยอดต่อไปได้มากกว่า

FILE - Russian President Vladimir Putin, 2nd left, visit Mercedes-Benz's new factory outside Moscow, April 3, 2019.
FILE - Russian President Vladimir Putin, 2nd left, visit Mercedes-Benz's new factory outside Moscow, April 3, 2019.

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนให้ความเห็นว่า รัสเซียไม่น่าจะหาผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาบริหารสินทรัพย์ของบริษัทต่างชาติที่ตนขู่จะยึดมาแปรรูปได้โดยง่าย เพราะที่ผ่านมา ผู้บริหารในบริษัทที่ไม่ใช่ของรัสเซียมักเป็นทีมงานต่างชาติ ที่ตอนนี้ต่างเดินทางออกจากรัสเซียไปกันมากมายแล้ว

แต่ เอลิซาเบธ บรอว์ จากสถาบัน American Enterprise Institute มองว่า ขณะที่ ในระยะสั้น แผนการดังกล่าวอาจทำให้เครมลินได้ใจจากประชาชนที่ยังจะมีงานทำต่อไป รัฐบาลมอสโกจะต้องเร่งหาทางบริหารธุรกิจที่แปรรูปมาให้ได้ มิฉะนั้น ผลบวกที่ได้จากการดำเนินมาตรการนี้ก็จะหดหายไปอย่างรวดเร็ว

XS
SM
MD
LG