ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ดุเดือดเเน่! วิเคราะห์เทคนิคโต้วาที 'ทรัมป์-ไบเดน' ก่อนศึกดีเบตรอบแรก


FILE - In this combination of file photos, former Vice President Joe Biden speaks in Wilmington, Del., on March 12, 2020, left, and President Donald Trump speaks at the White House in Washington on April 5, 2020.
FILE - In this combination of file photos, former Vice President Joe Biden speaks in Wilmington, Del., on March 12, 2020, left, and President Donald Trump speaks at the White House in Washington on April 5, 2020.
US Presidential Debate
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:00 0:00


สังเวียนการเมืองสหรัฐฯ เข้าสู่ช่วงคึกคักขึ้นอีกระดับหนึ่ง เมื่อตัวแทนผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งสองคน คือโดนัลด์ ทรัมป์ จากรีพับลิกัน และโจ ไบเดน จากเดโมเเครต เดินหน้าหาเสียงหลังการประชุมใหญ่ของแต่พรรค และทั้งคู่มีกำหนดขึ้นโต้วาทีออกโทรทัศน์รอบแรกในวันที่ 29 กันยายน

ในช่วงราวหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีทรัมป์ และ โจ ไบเดน อดีตรองประธานาธิบดีสมัยนายบารัค โอบามาเป็นผู้นำประเทศ ออกแสดงวิสัยทัศน์ ในรัฐที่มีคะเเนนคู่คี่กันคือ วิสคอนซิน เพนซิลเวเนีย และนอร์ธแคโรไลนา

รองศาสตราจารย์ เจนนิเฟอร์ เมอร์เซกา ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารแห่งมหาวิทยาลัย Texas A&M กล่าวว่าการดีเบตของทรัมป์และไบเดน คงจะดุเดือดแน่นอน เธอกล่าวว่าสไตล์ของทั้งสอง คือต่าง “มีความเป็นนักสู้”

นักวิชาการผู้นี้ระบุว่า หากพิจารณาถึงการโต้วาทีของทรัมป์ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ใน ค.ศ. 2016 แล้ว เขาเเสดงให้เห็นถึงความสามารถในการ “สวนหมัด” ระหว่างดีเบต

แนวทางหนึ่งที่โดนัลด์ ทรัมป์ ใช้คือการโจมตีความเป็นตัวบุคคลของคู่ต่อสู้มากกว่าโจมตีเนื้อหาจากวาทะของฝ่ายตรงข้าม และเขากล้าที่จะล้อและก่อการรังควาญด้วยวาจา ร.ศ. เมอร์เซกากล่าว

หากเปรียบเทียบกับโจ ไบเดน อาจารย์ผู้นี้กล่าวว่า ไบเดน เคยเเสดงมือในการดีเบต ที่ทำให้เห็นว่า น่าจะใช้วิธีวางตัวในจุดยืนอย่างมั่นคง และหากมองถึงการโต้วาทีในการเเข่งเป็นรองประธานาธิบดีเมื่อ 8 ปีก่อน สไตล์ของไบเดนมีจุดเหมือนกับทรัมป์ อยู่บ้าง

ร.ศ. เมอร์เซกา กล่าวว่าดูเหมือนว่า โจ ไบเดน เคยล้อและหัวเราะเยาะคู่ต่อสู้ในตอนนั้น ซึ่งก็คือ พอล ไรอันจากพรรครีพับลิกัน เช่นกัน แต่คงไม่ถึงกับรุนเเรงในระดับเดียวกับโดนัลด์ ทรัมป์ ในเรื่องนี้

ทั้งนี้การจัดโต้วาทีออกโทรทัศน์ระหว่างผู้ลงเเข่งขันเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ​ เกิดขึ้นครั้งเเรก เมื่อปี ค.ศ. 1960 หรือเมื่อ 60 ปี ก่อน และเมื่อกลับมาเริ่มจัดอีกครั้งในปี ค.ศ. 1976 รูปแบบของงานจะค่อนข้างเหมือนๆ กันทุกปี

AP - BUSH CLINTON PEROT DEBATE 1992
AP - BUSH CLINTON PEROT DEBATE 1992

จอห์น ค้อช อาจารย์ด้านการเมืองและผู้เชี่ยวชาญเรื่องการโต้วาทีทางการเมืองแห่งมหาวิทยาลัยเเวนเดอร์บิลท์ กล่าวว่า ดีเบตในการเลือกตั้งประธานาธิบดี เปรียบเหมือนการจัดแถลงข่าวร่วม ซึ่งสองฝ่ายผลัดกันเเสดงทัศนะต่อคำถามที่ถูกหยิบยกขึ้นมา

เขาเสนอว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ มาเป็นลักษณะที่ ผู้แข่งขัน รับชุดคำถามจากผู้เชี่ยวชาญตามสาขาต่างๆ แทนที่เป็นการถามของพิธีกร จากนั้นผู้เเข่งขันสามารถใช้เวลา 30 นาทีหารือกับทีมที่ปรึกษา จึงค่อยผลัดกันเเสดงทัศนะต่อประชาชน

อาจารย์ ค้อชกล่าวว่า แนวทางนี้น่าจะช่วย สะท้อนถึงสถานการณ์จริงเมื่อ ประธานาธิบดีต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ที่เข้ามา ผู้นำประเทศต้องตัดสินใจว่าจะมีจุดยืนเช่นใดผ่านการรับข้อมูลจากคณะที่ปรึกษา จากนั้นก็จะต้องสามารถให้เหตุผลสนับสนุนต่อจุดยืนนั้นกับประชาชน

ร.ศ. เมอร์เซกา แห่งมหาวิทยาลัย Texas A&M กล่าวว่า โอกาสที่ประชาชนได้เห็นผู้เเข่งขันเป็นประธานาธิบดี โต้อภิปรายกัน ช่วยในการพิจารณาถึง เนื้อหาสาระของนโยบาย และท่าทาง รวมถึงการเเสดงอารมณ์ในขณะที่พวกเขานำเสนอจุดยืน

ที่สำคัญอาจารย์ เมอร์เซกา บอกว่าการดีเบตยังเปิดโอกาสให้คู่แข่งขัน เเสดงทัศนะแย้งฝ่ายตรงข้ามได้ด้วย

คำถามที่น่าสนใจที่ตามมาคือการโต้อภิปรายมีผลต่อการตัดสินใจลงคะเเนนของประชาชนต่อผู้ลงเเข่งเลือกตั้งหรือไม่

เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ชาวอเมริกันมากถึง 84 ล้านคนดูการโต้วาทีรอบแรก ในศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี ระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ และฮิลลารี คลินตัน

Trump Clinton
Trump Clinton

อย่างไรก็ตาม จอห์น ค้อช แห่งมหาวิทยาลัยเเวนเดอร์บิลท์ กล่าวว่า งานวิจัยเรื่องผลต่อการตัดสินใจของคนจากการชมดีเบต ชี้ให้เห็นว่า ดีเบตมีผลน้อยต่อการเปลี่ยนใจประชาชนที่ทราบเเล้วว่าตนจะเลือกใคร

เขากล่าวว่าการดูโต้อภิปราย ช่วยให้คนได้ยินในสิ่งที่เชื่ออยู่แล้ว และยืนยันการมีความรู้สึกร่วมกับบุคคลที่ตนสนับสนุน

สำนักวิจัย Pew Research ระบุว่า ร้อยละ 10 ของผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งในปี ค.ศ. 2016 กล่าวว่าพวกเขาไม่ได้ตัดสินใจเลือกใครจนกระทั่งดูดีเบตจบ

ด้วยเหตุนี้ ร.ศ. เมอร์เซกา กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าเสียดายที่การเมืองอเมริกันมีการเบ่งขั้วรุนแรงขนาดนี้ และว่า ทางหนึ่งที่จะให้การโต้อภิปรายมีผลต่อการตัดสินใจตามหน้าที่ของมันที่ควรจะเป็น คือประชาชนควรฟังผู้ขึ้นเวทีดีเบตด้วยใจที่เปิดกว้าง

XS
SM
MD
LG