ลิ้งค์เชื่อมต่อ

4 วิธีพิชิตความเหงา อ้างอิงจากผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์


loneliness
loneliness

รายงานวิจัยชิ้นใหม่ค้นพบว่า ภายในสมองของคนเหงามีปฏิกิริยาไฟฟ้าบางอย่างแตกต่างจากสมองของคนทั่วไป

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:57 0:00
Direct link

รายงานวิจัยชิ้นใหม่ค้นพบว่า ภายในสมองของคนเหงา หรือคนที่ตกอยู่ในอาการ อ้างว้างเปล่าเปลี่ยวนั้น มีปฏิกิริยาบางอย่างแตกต่างจากสมองของคนทั่วไป ซึ่งผลวิจัยเรื่องนี้อาจนำไปสู่การรักษาอาหารเหงาแบบรุนแรง หรืออาการซึมเศร้าได้

คนที่กำลังตกอยู่ในห้วงแห่งความเหงา บางครั้งแม้อยู่ท่ามกลางเพื่อนฝูงคนรู้จักมากมาย ก็อาจเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่อยากสุงสิงกับใครได้ ซึ่งยิ่งทำให้อาการเหงารุนแรงขึ้น

งานวิจัยสองชิ้นเกี่ยวกับความเหงา ซึ่งจัดทำโดยคณะนักวิจัยสามี-ภรรยา อาจารย์ John และอาจารย์ Stephanie Cacioppo แห่งศูนย์ศึกษาด้านประสาทวิทยา University of Chicago ได้ทดสอบปฏิกิริยาไฟฟ้าในสมองของกลุ่มตัวอย่าง 70 คนในครั้งแรก และ 19 คนในครั้งที่สอง ซึ่งแยกเป็นกลุ่มคนเหงา และกลุ่มคนไม่เหงา โดยมีการจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสมองเอาไว้เมื่อมีสิ่งกระตุ้นแต่ละอย่าง

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าภายในสมองของคนเหงา มีบางอย่างแตกต่างจากสมองของคนทั่วไป

กล่าวคือปฏิกิริยาไฟฟ้าในสมองของคนเหงา เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่าคนทั่วไปในส่วนที่ตอบรับผลด้านลบทางสังคม ชี้ให้เห็นว่าจิตใต้สำนึกของคนเหงานั้น กำลังกันตัวเองออกจากการถูกคุกคามทางสังคม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องต่อต้านความรู้สึกอยากแปลกแยกจากสังคมนั้นตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ความเหงายิ่งเพิ่มระดับรุนแรง ไปเป็นความเศร้าซึมหรืออาการอื่นๆ

นักวิจัยระบุว่า ความเหงากับการอยู่คนเดียวนั้นแตกต่างกัน เพราะบางครั้งคุณอาจเหงาได้แม้อยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย เป็นความอยากปลีกตัวออกจากสังคมรอบข้าง เพราะรู้สึกว่าไม่สามารถเชื่อมโยงระหว่างความสัมพันธ์ที่ต้องการกับความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ในรายงานชิ้นนี้ ดร.John Cacioppo ยังได้แนะนำ 4 วิธีพิชิตความเหงา ซึ่งเรียกง่ายๆว่า EASE (E-A-S-E)

หนึ่งคือ Extend Yourself หรือการเอื้อมไปถึงคนอื่นๆ เป็นการพยายามเข้าหาสังคมซึ่งไม่ใช่สังคมออนไลน์

สองคือ Action Plan หรือการวางแผนเข้าสังคมอย่างเป็นระบบระเบียบ มีตารางวันเวลาการทำกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ที่แน่นอน

สามคือ Share good time with people who have same interests หรือการทำกิจกรรมร่วมกับคนที่มีความชอบหรือความสนใจแบบเดียวกัน เช่นถ้าชอบอ่านหนังสือก็หาทางเข้าร่วมกับสโมสรนักอ่านต่างๆ หรือถ้าชอบวิ่งก็เข้าร่วมกับกลุ่มนักวิ่ง เป็นต้น

ประการสุดท้ายคือ Expect the Best หรือ คาดหวังสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งหมายถึงการมองโลกในแง่ดี เช่น เมื่อรู้สึกเหงาก็อย่าคิดว่าคนรอบข้างไม่ต้องการคุณ แต่ให้คิดว่าเขามีธุระอื่นที่ต้องทำ จนอาจไม่มีเวลาให้คุณ ซึ่งอาจช่วยผ่อนคลายอารมณ์เหงาลงได้บ้าง


(รายงานจาก Wall St. Journal / เรียบเรียงโดย ทรงพจน์ สุภาผล)

XS
SM
MD
LG