ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯและญี่ปุ่นร่วมเปิดตัวโครงการ ‘Let Girls Learn’ สนุนการศึกษาเด็กผู้หญิง


U.S. first lady Michelle Obama, center left, and Japanese counterpart Akie Abe, center right, talk with participants during the roundtable meeting as part of Japan-U.S. Joint Girls Education event at Iikura Guest House in Tokyo, Thursday, March 19, 2015.
U.S. first lady Michelle Obama, center left, and Japanese counterpart Akie Abe, center right, talk with participants during the roundtable meeting as part of Japan-U.S. Joint Girls Education event at Iikura Guest House in Tokyo, Thursday, March 19, 2015.

World Economic Forum ชี้ไม่มีช่องว่างทางเพศในการศึกษาในญี่ปุ่น แต่มีการเลือกปฏิบัติทางเพศอย่างมากในอาชีพการงาน

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:45 0:00
Direct link

นาง Michelle Obama สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐกำลังอยู่ในระหว่างการเยือนกรุงโตเกียว เพื่อเปิดตัวโครงการ ‘Let Girls Learn’ ที่กรุงโตเกียวร่วมกับสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของญี่ปุ่น นาง Akie Abe ภริยาของนายกรัฐมนตรี Shinzo Abe

สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐ กล่าวย้ำถึงความเป็นจริงที่ว่า มีเด็กหญิงทั่วโลกราวๆ 62 ล้านคน ที่อาจไม่มีโอกาสได้เข้าโรงเรียน ซึ่งนับเป็นการสูญเสียศักยภาพของมนุษย์อย่างใหญ่หลวง

นอกจากอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นของโครงการ Japan Overseas Cooperation จะร่วมมือกับหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกา หรือ Peace Corps ทำงานเพื่อส่งเสริมโอกาสการศึกษาให้กับเด็กหญิงตามโครงการนี้แล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นยังจะให้เงินสนับสนุนโครงการอีก 340 ล้านดอลลาร์ด้วย

ในอีกด้านหนึ่ง นายกเทศมนตรี Naomi Koshi ของเมือง Otsu ในญี่ปุ่น กล่าวยกย่องโครงการของนาง Michelle Obama และให้ความเห็นว่า ญี่ปุ่นเองก็มีปัญหาช่องว่างทางเพศที่ควรแก้ไขกันด้วย โดยเฉพาะเรื่องผู้หญิงมีการศึกษา แต่ถ้าแต่งงานมีลูกแล้ว โอกาสจะได้ทำงานต่อไปมีน้อยมาก

รายงานของ World Economic Forum ในเรื่องช่องว่างระหว่างเพศปี ค.ศ. 2013 ซึ่งประเมินและจัดอันดับประเทศต่างๆ ในด้านเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา และมาตรวัดทางด้านสุขภาพอนามัย จัดให้ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 105 จาก 136 ประเทศ

และในขณะที่ญี่ปุ่นไม่มีช่องว่างในการศึกษา แต่ในสภาพการทำงานแล้ว ผู้หญิงญี่ปุ่นประสบปัญหาอย่างมากทั้งในด้านสถาบันและวัฒนธรรม เช่นการเลี้ยงลูกยังถือว่าเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้หญิง ในขณะที่สถานรับเลี้ยงดูเด็กอ่อนมีน้อยและราคาแพง ทำให้มากกว่า 60% ของผู้หญิงญี่ปุ่นต้องออกจากงานเพื่ออยู่บ้านเลี้ยงลูก

นักเศรษฐศาสตร์ Machiko Osawa ของสถาบันวิจัยเรื่องผู้หญิงและอาชีพของ Japan Women’s University บอกว่าด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติในวงการธุรกิจญี่ปุ่น

นักวิชาการผู้นี้บอกว่า บริษัทธุรกิจลงทุนมากในการฝึกอบรมลูกจ้างพนักงาน แต่ผู้หญิงมักจะต้องลาออกจากงาน ถ้าแต่งงานหรือมีลูก บริษัทธุรกิจจึงไม่อยากเสี่ยงจ้างผู้หญิง

ส่วนนายกเทศมนตรี Koshi บอกว่า เธอต้องตัดสินใจไม่แต่งงานหรือมีลูก ถ้าอยากจะแข่งขันในสังคมที่เต็มไปด้วยอิทธิพลของผู้ชาย

ช่องว่างทางเพศเช่นนี้ ยังทำให้เด็กญี่ปุ่นที่มีแม่เป็นผู้หาเลี้ยงคนเดียว โดยไม่มีพ่อ มีสภาพความเป็นอยู่ยากจนในอัตราสูง

นักต่อสู้เคลื่อนไหวเรื่องผู้หญิงในญี่ปุ่นให้ความเห็นว่า รัฐบาลสามารถช่วยได้ด้วยการจัดหาสถานรับเลี้ยงดูเด็กที่ราคาพอสมควร ทำให้กฎหมายเรื่องความเสมอภาคทางเพศมีเขี้ยวเล็บและบังคับใช้อย่างได้ผล รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่ชักจูงให้ผู้ชายเข้ามามีความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูลูกด้วย

นายกรัฐมนตรี Shinzo Abe ให้คำมั่นไว้ว่าจะส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงในการทำงานอาชีพ รวมทั้งปรับค่าจ้างแรงงานให้ด้วย เวลานี้ ผู้หญิงญี่ปุ่นได้รับเงินค่าจ้างน้อยกว่าผู้ชาย 30% แม้จะทำงานอย่างเดียวกันก็ตาม

นักเศรษฐศาสตร์ Machiko Osawa บอกว่าได้รับฟังคำมั่นของนายกรัฐมนตรี และกำลังจับตาดู แต่ยังไม่เห็นการกระทำตามที่พูดไว้

XS
SM
MD
LG