ลิ้งค์เชื่อมต่อ

คำในข่าว – คลังศัพท์ว่าด้วยภาวะ “ฟิวส์ขาด”


Serena Williams ap diskete ak abit Brian Earley pandan final feminen tounwa tenis Open Ameriken an.
Serena Williams ap diskete ak abit Brian Earley pandan final feminen tounwa tenis Open Ameriken an.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:11 0:00

นาทีนี้วงการลูกสักหลาดถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง หลังประเด็นดราม่าของเซเรน่า วิลเลียม เจ้าของแชมป์แกรนด์สแลม 23 รายการ ระเบิดอารมณ์ใส่ผู้ตัดสิน ในการแข่งขันเทนนิส ยูเอส โอเพ่น รอบชิงชนะเลิศหญิงเดี่ยว ที่นิวยอร์ก เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

พาดหัวข่าวของ CNN ระบุว่า Serena Outburst overshadows US Open หมายถึงการระเบิดอารมณ์ของเซเรน่าเป็นเงาปกคลุมการแข่งขัน ยูเอส โอเพ่น โดยแทนที่การแข่งขันครั้งนี้ สปอตไลท์ควรเฉิดฉายไปที่ นาโอมิ โอซากะ (Naomi Osaka) นักเทนนิสหญิงจากญี่ปุ่น วัย 20 ปี มือวางอันดับ 20 ของโลก ในการสร้างประวัติศาสตร์เป็นนักเทนนิสญี่ปุ่นคนแรกที่คว้าแชมป์เทนนิสแกรนด์สแลม ในรายการยูเอสโอเพ่น ด้วยการเอาชนะเซเรน่า วิลเลียมส์ ซึ่งเป็นนักเทนนิสในดวงใจของเธอ แต่กลับกลายเป็นชัยชนะที่เต็มไปด้วยคำถามและดราม่าของเซเรน่า วิลเลียมส์บดบังไปเสียหมด

ขณะที่สื่อฝรั่งเศส France 24 พาดหัวว่า Tennis world divided after Serena Williams’ US Open outburst ซึ่งหมายถึง วงการเนสนิสโลกเสียงแตกหลังเซเรน่า วิลเลียม ระเบิดอารมณ์ในการแข่งขันยูเอส โอเพ่น

โดยมุมมองของ บิลลี จีน คิง (Billie Jean King) อดีตนักเทนนิสหญิงมือหนึ่งของโลก และนักรณรงค์เพื่อสิทธิของนักกีฬาหญิง ทวีตข้อความระบุว่า "เมื่อผู้หญิงแสดงอารมณ์ออกมา พวกเธอถูกเรียกว่าตีโพยตีพายและถูกลงโทษ แต่เมื่อผู้ชายทำแบบเดียวกัน พวกเขากลับได้รับการยกย่องว่า 'กล้าพูดอย่างเปิดอก' และไม่มีผลตามมาแต่อย่างใด"

และว่า "ขอบคุณเซเรน่าที่ทำให้เห็นถึงการตัดสินแบบสองมาตรฐาน และหวังว่าจะมีคนที่กล้าออกมาทำเช่นเดียวกัน"

ด้านมาร์ตินา นาฟราติโลว่า (Martina Navratilova) อดีตนักเทนนิสมือวางอันดับ 1 ของโลกอีกคน ผู้เขียนบทความใน The New York Times มองต่างไปว่า พฤติกรรมดังกล่าวของเซเรน่าไม่ควรแสดงออกในสนาม และในฐานะนักเทนนิสด้วยกัน มีหลายครั้งที่เธอเกิดอารมณ์อยากจะทำลายแรคเก็ตให้แตกเป็นเสี่ยงๆ แต่ต้องควบคุมอารมณ์ไว้เพราะเธอนึกเสมอว่ามีเด็กและเยาวชนที่ยังชมการแข่งขันอยู่

และว่านักเทนนิสควรแสดงความดราม่าในคอร์ดผ่านการแข่งขันที่เอาชนะกันอย่างดุเดือดมากกว่า

คำในข่าว สัปดาห์นี้ ขอหยิบยกกลุ่มคำที่เกี่ยวข้องกับภาวะฟิวส์ขาด มาฝากกัน

คำแรก คือ outburst เป็นคำนาม หมายถึง การระเบิดอารมณ์ออกมา meltdown เป็นคำนาม หมายถึง การสูญเสียการควบคุมตัวเอง ข่าวจากการแข่งขันนี้ ยังพูดถึงคำที่อธิบายอารมณ์ อย่างคำว่า hysterical หมายถึงอาการคุ้มคลั่ง

ส่วนอีกคำคือ explosive เมื่อใช้กับการอธิบายอารมณ์จะหมายถึงภาวะพลุ่งพล่าน เดือดดาล

และยังมีคำว่า blowup เป็นคำนามหมายถึง การระเบิด ในที่นี้หมายถึงการระเบิดอารมณ์รุนแรงอีกเช่นกัน

นอกจากนี้ ยังมีคำที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน อย่าง short fuse เป็นคำนามแปลว่า อาการฟิวส์ขาดง่าย และมีกลุ่มคำ temper อย่าง lose (someone’s) temper เป็นกริยา หมายถึง ภาวะโมโห

และกลุ่มวลีที่ว่า hot-tempered และ short-tempered ก็ให้ความหมายว่าคนอารมณ์ร้อนอีกเช่นกัน และที่น่าจะพบบ่อย คือ hot-headed ที่หมายถึง คนอารมณ์ร้อน ซึ่งในภาษาคนรุ่นใหม่จะใช้ว่า “หัวร้อน” นั่นเอง

XS
SM
MD
LG