ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยพบว่าทารกที่จ้องมองภาพแบบผ่านๆ มีปัญหาพฤติกรรมเมื่อโตขึ้น


นักวิจัยระบุการเคลื่อนไหวทางสายตาของทารกอาจจะเป็นตัวช่วยพยากรณ์พฤติกรรมเมื่อเติบโตขึ้นได้

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:10 0:00
Direct link

ในช่วงระยะเวลา 8 ปี ทีมนักวิจัยชาวอังกฤษและชาวอิตาลีได้ศึกษาระยะความสนใจของทารก 180 คนที่อายุระหว่าง 1 ถึง 4 วันในตอนเหนือของอิตาลี่โดยวัดจากความนานในการจ้องมองภาพต่างๆ ที่นักวิจัยให้เด็กดู

คุณ Angelica Ronald แห่ง Center for Brian and Cognitive Development ที่ University of London Birkbeck เป็นผู้ร่างผลการศึกษาอาวุโสของทีมงานกล่าวว่า ทารกบางคนมองภาพที่ให้ดูอย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพ่งดูแต่ละภาพแบบผ่านๆ แต่ทารกบางคนจะจ้องมองแต่ละภาพเป็นเวลานาน

ทีมนักวิจัยทำการติดตามดูพัฒนาการของทารกเหล่านี้เมื่ออายุระหว่าง 3 ปีกับ 10 ปี ทีมนักวิจัยขอให้พ่อแม่อย่างน้อยจาก 80 ครอบครัวจากทั้งหมดระบุลักษณะพฤติกรรมของลูก

นักวิจัยพบว่าทารกที่ใช้เวลาน้อยในการมองภาพต่างๆ ในระหว่างการวิจัย เมื่อโตเป็นเด็กเป็นคนไม่อยู่นิ่งๆ ตัดสินใจอย่างรวดเร็วโดยไม่คิดให้ถี่ถ้วนและมีปัญหาด้านพฤติกรรมมากกว่าทารกที่ใช้เวลาเพ่งดูภาพแต่ละภาพนานกว่า

คุณ Ronald ชี้ว่าทารกที่มองภาพแต่ละภาพนานกว่า กลายเป็นเด็กที่นิ่งมากกว่าและควบคุมพฤติกรรมตนเองได้ดีกว่า นักวิจัยเชื่อว่ามีปัจจัยบางอย่างที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กมาตั้งแต่กำเนิด ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อมภายในครรภ์มารดา ซึ่งช่วยกำจัดความเชื่อที่ว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กทารกหลังคลอดเป็นสาเหตุของพฤติกรรมบางอย่าง

คุณ Ronald นักวิจัยเตือนว่าการวิจัยนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และในขณะที่การวิจัยนี้อาจจะช่วยระบุได้ในอนาคตว่าทารกคนใดเสี่ยงต่อการมีปัญหาด้านความสนใจสั้น แต่เธอชี้ว่าผลการศึกษานี้ไม่ควรนำไปใช้เป็นตัวคาดคะเนว่าเด็กคนนั้นจะมีปัญหาทางพฤติกรรม

และไม่ควรเป็นแรงกดดันให้พ่อแม่ต้องรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขแต่อย่างใด

รายงานโดย Jessica Berman และเรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว

XS
SM
MD
LG