ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหรัฐฯ ประณาม "เมียนมา" ตัดสินจำคุกสองนักข่าวรอยเตอร์คนละ 7 ปี


Reuters journalist Wa Lone, center, talks to journalists as he is escorted by police to leave a court in Yangon, Myanmar, Sept. 3, 2018.
Reuters journalist Wa Lone, center, talks to journalists as he is escorted by police to leave a court in Yangon, Myanmar, Sept. 3, 2018.

รัฐบาลสหรัฐฯ มีแถลงการณ์ประณามคำตัดสินของศาลในเมียนมา ที่ให้จำคุกผู้สื่อข่าวชาวเมียนมาสองคนของสำนักข่าวรอยเตอร์ เป็นเวลาเจ็ดปี ในข้อหาละเมิดกฎหมายรักษาความลับของราชการ

แถลงการณ์ของสถานทูตสหรัฐฯ ประจำเมียนมา ระบุว่า "คำตัดสินครั้งนี้สร้างความกังวลอย่างยิ่ง และถือเป็นการถอยหลังทางประชาธิปไตยในเมียนมา" และว่า มีจุดบกพร่องชัดเจนในกระบวนการพิจารณคดีของ นายว้า โลน และนายจอว์ โซ อู สองผู้สื่อข่าวชาวเมียนมาที่ทำงานให้กับสำนักข่าวรอยเตอร์

เอกอัคราชทูตสหรัฐฯ ประจำเมียนมา นายสก็อตต์ มาร์เซียล กล่าวกับ VOA ว่า คำตัดสินดัวกล่าวเป็นเรื่องน่าเศร้าต่อผู้ที่ทำงานหนักเพื่อสนับสนุนให้เกิดประชาธิปไตยในเมียนมา และยิ่งทำให้ประชาชนเมียนมาเกิดความไม่ไว้วางใจในระบบยุติธรรมในประเทศนี้

ผู้สื่อข่าวทั้งสองคนถูกจับกุมเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วในข้อหาละเมิดกฎหมายรักษาความลับของทางราชการ หลังจากพบปะกับตำรวจเมียนมาสองคนที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในนครย่างกุ้ง และได้รับเอกสารจำนวนหนึ่งมาจากตำรวจสองคนนั้น

ผู้สื่อข่าวทั้งสองคนกำลังติดตามทำข่าวเรื่องวิกฤติการณ์ชาวโรฮิงจะในรัฐยะไข่ของเมียนมา โดยมุ่งเป้าไปที่การสังหาหมู่ชาวโรฮิงจะ 10 รายที่หมู่บ้านอินน์ ดิน ซึ่งเชื่อว่าเป็นฝีมือของตำรวจและทหารเมียนมา

การจับกุมผู้สื่อข่าวสองคนนี้ได้นำไปสู่การเรียกร้องของประชาคมโลกให้มีการปล่อยตัวทั้งสองคนออกมา และขอให้เมียนมาเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นโดยเสรีในประเทศ ภายใต้การนำของรัฐบาลนางออง ซาน ซูจี

ที่ผ่านมา รัฐบาลเมียนมาแทบไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศเดินทางเข้าไปยังรัฐยะไข่ พร้อมทั้งปฏิเสธข้อกล่าวหาของสหประชาชาติและสหรัฐฯ ที่ว่ากำลังมีการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมโรฮิงจะในรัฐยะไข่ ทำให้มีชาวมุสลิมจำนวนมากราว 7 แสนคน ต้องอพยพออกจากเมียนมาไปยังบังกลาเทศ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมการอิสระเพื่อหาข้อเท็จจริงของหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ นำเสนอรายงานความยาว 400 หน้า ที่ระบุว่า เป็นคำสั่งของกองทัพเมียนมาในการจัดการกับชนกลุ่มน้อย

รายงานดังกล่าวได้กล่าวหาผู้นำระดับสูงของกองทัพเมียนมา 6 นาย ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรมที่สร้างความรุนแรงมากที่สุดภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศ

แต่ต่อมา โฆษกรัฐบาลเมียนมา ซอว์ ฮเตย์ กล่าวผ่านสื่อของทางการเมียนมาว่า เมียนมาไม่ยอมรับมติของสหประชาชาติและรายงานฉบับนี้ และรัฐบาลเมียนมาจะจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริงจากสหประชาชาติ

XS
SM
MD
LG