ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทย์จี้ ‘โลกร้อน’ จนทะเลสาบทั่วโลกเหือดแห้ง


FILE - An aerial view shows the coastline of the Caspian Sea near Baku, Azerbaijan, May 27, 2019.
FILE - An aerial view shows the coastline of the Caspian Sea near Baku, Azerbaijan, May 27, 2019.

การศึกษาชิ้นใหม่ที่มีการเผยแพร่ออกมาในเดือนพฤษภาคมชี้ว่า นับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา กว่าครึ่งหนึ่งของทะเลสาบและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วโลกประสบภาวะหดตัวลง อันมีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลให้เกิดกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ และการใช้น้ำเพื่อการบริโภคของผู้คน

ทีมนักวิจัยนานาชาติกลุ่มรายงานว่า แหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของโลกบางแห่ง อย่างเช่น บริเวณตั้งแต่ทะเลแคสเปียน (Caspian Sea) ระหว่างยุโรปและเอเชีย ไปจนถึงทะเลสาบติติกากา (Lake Titicaca) ในอเมริกาใต้ ได้สูญเสียน้ำในอัตราสะสมประมาณ 22 กิกะตัน หรือราว 22 ล้านล้านล้านกิโลตันต่อปี เป็นเวลานานเกือบสามทศวรรษแล้ว โดยปริมาณดังกล่าวนั้นคิดเป็นราว 17 เท่าของอ่างเก็บน้ำเลคมีด (Lake Mead) อ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ

ฟางฟาง เหยา นักอุทกวิทยาผิวดินจากมหาวิทยาลัยแห่งเวอร์จิเนีย (University of Virginia) ผู้นำทีมการศึกษาซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร Science อธิบายว่า 56% ของการลดลงของทะเลสาบธรรมชาติเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนและการบริโภคของมนุษย์ โดยสาเหตุภาวะโลกร้อนอยู่ในสัดส่วนที่มากกว่า

ภายใต้ทฤษฎีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศมักเชื่อว่า สภาพการดังกล่าวจะทำให้พื้นที่แห้งแล้งในโลกมีแนวโน้มที่จะแห้งแล้งมากขึ้น และพื้นที่ชื้นก็จะยิ่งชื้นมากขึ้น แต่จากการศึกษาพบว่า มีการสูญเสียน้ำอย่างมากแม้แต่ในพื้นที่ที่มีความชื้น นักอุทกวิทยาผิวดินจึงย้ำว่า “สิ่งนี้เป็นประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม”

Aymara Indigenous women arrive in boats on Lake Titicaca from the Uros floating islands to attend a march marking International Women's Day in to Puno, Peru, March 8, 2023.
Aymara Indigenous women arrive in boats on Lake Titicaca from the Uros floating islands to attend a march marking International Women's Day in to Puno, Peru, March 8, 2023.

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการประเมินทะเลสาบขนาดใหญ่เกือบ 2,000 แห่งทั่วโลก และทำการวัดโดยใช้เทคโนโลยีดาวเทียม ร่วมกับแบบจำลองภูมิอากาศและอุทกวิทยา ก่อนจะพบว่า ระดับน้ำในทะเลสาบทั่วโลกลดลง เพราะมนุษย์ใช้น้ำอย่างไม่คำนึงถึงความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝนและน้ำในลำธารรวมถึงการกักเก็บน้ำไว้ใต้ผิวดินตามธรรมชาติ และอุณหภูมิที่สูงขึ้น อีกทั้งยังพบว่า ราว 53% ของระดับน้ำในทะเลสาบทั่วโลกลดลงในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 1992 ถึงปี 2020

ทั้งนี้ ประชากรเกือบ 2 พันล้านคนที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณทะเลสาบและอ่างเก็บน้ำที่แห้งลงได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรง ในขณะที่หลายภูมิภาคต้องเผชิญปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาด้วย

เหล่านักวิทยาศาสตร์และนักรณรงค์ได้ออกมาเตือนในประเด็นที่ว่า เราจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส (2.7 องศาฟาเรนไฮต์) เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ว่า ในความเป็นจริงนั้น อุณหภูมิของโลกปรับสูงขึ้นไปแล้วราว 1.1 องศาเซลเซียส (1.9 องศาฟาเรนไฮต์)

การศึกษาชิ้นนี้ยังเผยอีกว่า การที่มนุษย์ใช้น้ำอย่างไม่คำนึงถึงความยั่งยืน ทำให้ทะเลสาบต่าง ๆ ต้องเผชิญความแล้ง เช่น ทะเลอารัล (Aral Sea) ในเอเชียกลาง และทะเลเดดซี (Dead Sea) ในตะวันออกกลาง ขณะที่ ทะเลสาบในอัฟกานิสถาน อียิปต์ และมองโกเลีย ก็กำลังได้รับผลกระทบของอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้พื้นที่ดังกล่าวสูญเสียน้ำมากขึ้นได้

  • ที่มา: รอยเตอร์
XS
SM
MD
LG