ลิ้งค์เชื่อมต่อ

มองโกเลียมอบ 'ม้า' เป็นของขวัญแก่ รมต.กลาโหมสหรัฐฯ


U.S. Secretary of Defense Mark Esper is gifted a horse in Ulan Bator, Mongolia August 8, 2019.
U.S. Secretary of Defense Mark Esper is gifted a horse in Ulan Bator, Mongolia August 8, 2019.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:03 0:00

นาย Mark Esper รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ตัดสินใจเลือกชื่อ Marshall ตามชื่อของนายพลทหาร George Marshall ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวอเมริกันรู้จักกันดีเเละเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในความเป็นมาเกี่ยวกับม้าในมองโกเลีย ให้เป็นชื่อของม้าที่ตนได้รับมอบเป็นของขวัญในการเยือนประเทศมองโกเลีย

นายพล George Marshall เป็นนายพลทหารที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ ในช่วงยุค 1940 ซึ่งในเวลาต่อมาได้ขึ้นดำรงตำเเหน่งรัฐมนตรีกลาโหมเเละรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ

ตามวัฒนธรรม มองโกเลียจะมอบม้าเป็นของขวัญเเก่แขกของประเทศ เช่นเดียวกับที่มอบแก่รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ครั้งนี้

นักสังเกตการณ์หลายคนต่างอยากให้ประเด็นที่ยากต่อการตัดสินใจหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับเพื่อนบ้านของมองโกเลีย อย่าง รัสเซียเเละจีน ทำได้ง่ายดายเเละงดงามเหมือนกับการตั้งชื่อม้าตัวนี้

Mongolian Defense Minister Nyamaa Enkhbold, right, presents a horse as a gift to U.S. Defense Secretary Mark Esper at the Defense Ministry in Ulaanbaatar, Mongolia, Aug. 8, 2019. (C. Babb/VOA)
Mongolian Defense Minister Nyamaa Enkhbold, right, presents a horse as a gift to U.S. Defense Secretary Mark Esper at the Defense Ministry in Ulaanbaatar, Mongolia, Aug. 8, 2019. (C. Babb/VOA)

Rudy deLeon ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายด้านกลาโหมแห่ง Center for American Progress เเละอดีตรัฐมนตรีช่วยกลาโหม กล่าวว่า มองโกเลียเป็นชาติที่ตั้งอยู่ในจุดที่กำลังมีเหตุการณ์น่าจับตามองหลายอย่างเกิดขึ้นอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านรอบตัว ทั้งจีนเเละรัสเซีย

เจ้าหน้าที่กลาโหมอเมริกันอาวุโสคนหนึ่งกล่าวว่า นั่นเป็นเหตุผลหลักว่าทำไมรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ จึงไปเยือนมองโกเลีย ที่เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่อสหรัฐฯ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวกับบรรดาผู้สื่อข่าวที่เดินทางไปกับคณะว่าตนเองต้องการมาเยือนมองโกเลียเนื่องจากจุดที่ตั้งของประเทศเเละมองโกเลียสนใจที่ร่วมมือกับสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

ตั้งเเต่เดือนมกราคมปีที่แล้ว กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เริ่มใช้เเผน National Defense Strategy หรือ NDS ที่เน้นการปกป้องสหรัฐฯ จากประเทศคู่เเข่งอย่างจีนกับรัสเซีย

เเละแผนปฏิบัติการที่สำคัญอย่างหนึ่งในยุทธศาสตร์ NDS ของสหรัฐฯนี้คือการสร้างความร่วมมือที่เข้มเเข็งมากขึ้นระหว่างเครือข่ายพันธมิตรของสหรัฐฯ

นาย Esper กล่าวว่า มองโกเลียเป็นหนึ่งในชาติหลักในอินโด-เเปซิฟิก ที่เขาหวังว่าจะสร้างความสัมพันธ์ทางการทหารในระดับสูงกว่าเดิม เขาจัดให้มองโกเลียอยู่ในกลุ่มพันธมิตรใหม่ของสหรัฐฯ อย่างเวียดนามเเละอินโดนีเซีย ชาติที่เขาเรียกว่ามีความคิดเหมือนกันในการส่งเสริมอินโด-เเปซิฟิก ที่ส่งเสริมเสรีภาพเเละเปิดกว้าง มองเห็นคุณค่าในงานของสหรัฐฯ เเละเชื่อมั่นในเรื่องการเคารพอธิปไตยของกันเเละกัน ซึ่งต่างไปจากยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคอย่างจีน

Mark Esper, Mangolia
Mark Esper, Mangolia

ขณะเดินทางเยือนเอเชียเเปซิฟิกในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคมนี้ นายเอสเพอร์ได้กล่าวหลายครั้งว่า จีนบั่นทอนความมั่นคงของ Indo-Pacific ผ่านความก้าวร้าวทางการทหารในทะเลจีนใต้ การขโมยทรัพย์สินทางปัญญาที่รัฐบาลจีนหนุนหลังเเละมาตรการเศรษฐกิจเเบบนักล่า (predatory economics)

นายเอสเพอร์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวขณะที่เเวะเยือนนครซิดนีย์ว่า สหรัฐฯ จะไม่นิ่งเฉยหากประเทศใดประเทศหนึ่งพยายามเปลี่ยนแปลงภูมิภาคเพื่อผลประโยชน์ของตนเองบนความลำบากของเพื่อนบ้าน

ด้านมองโกเลียเองก็หวังว่าจะเพิ่มความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ทั้งทางทหารเเละทางเศรษฐกิจเพื่อลดการพึ่งพาต่อจีนลง การค้าของมองโกเลียส่วนใหญ่ในขณะนี้ต้องผ่านทางจีน เเละเจ้าหน้าที่กล่าวว่าทางการมองโกเลียในกรุงอูลานบาตาร์ อยากมองหาเส้นทางการค้าเส้นทางอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับจีน

เเละความสนใจของมองโกเลียต่อเรื่องนี้ตรงใจประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่กระตือรือร้นที่จะเพิ่มจำนวนชาติพันธมิตรที่อยู่ใกล้กับจีน ขณะที่ความขัดเเย้งทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ กำลังทวีความรุนแรงขึ้น

ทรัมป์ได้พบกับนายคัลต์มา บัตทุลกา ประธานาธิบดีเเห่งมองโกเลีย เมื่อเร็วๆ นี้ที่ทำเนียบขาว เพื่อหารือกันเกี่ยวกับการค้าเเละความมั่นคง

Bradley Bowman ผู้อำนวยการอาวุโสของ Center on Military and Political Power หรือ CMPP แห่งมูลนิธิเพื่อการปกป้องความเป็นประชาธิปไตย (Foundation for Defense of Democracies) กล่าวว่าเนื่องจากรัฐบาลมองโกเลียไม่ต้องการกระทบกระทั่งกับชาติเพื่อนบ้านที่ทรงอำนาจ

มองโกเลียจึงอยากเสาะหาชาติมหาอำนาจต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปอย่างสหรัฐฯ เพื่อช่วยคานอำนาจกับประเทศเพื่อนบ้าน

(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG