ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักอนุรักษ์ร่วมปลุกกระแสต่อต้าน 'โครงการพลังงานความร้อนใต้พิภพ' ในเขตป่าผืนใหญ่บนเกาะสุมาตรา


FILE - A male orangutan hangs from a tree in Gunung Leuser National Park in Langkat district of the Indonesia's North Sumatra Province.
FILE - A male orangutan hangs from a tree in Gunung Leuser National Park in Langkat district of the Indonesia's North Sumatra Province.

กลุ่มนักอนุรักษ์ในอาเจะห์กังวลต่อแผนพัฒนาพลังงานความร้อนใต้ดินในผืนป่าอนุรักษ์ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:22 0:00

ป่า Leuser เป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ตั้งอยู่ในจังหวัดอาเจะห์และจังหวัดสุมาตราเหนือ บนเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย กินพื้นที่ 2 ล้าน 8 แสนเฮคเเตร์หรือกว่า 17 ล้านไร่ และถือเป็นพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนที่กว้างใหญ่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บรรดานักอนุรักษ์สัตว์ป่าเเละพันธุ์พืชชี้ว่า ป่า Leuser เป็นแหล่งที่อยู่เเหล่งสุดท้ายบนโลกของช้างสุมาตรา แรดสุมาตรา เสือสุมาตรา และลิงอุรังอุรังเเห่งสุมาตรา

เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นาย Zaini Abdullah ผู้ว่าจังหวัดอาเจะห์ได้เขียนจดหมายถึงรัฐบาลกลางของอินโดนีเซีย เพื่อขออนุญาตปรับประเภทการใช้ที่ดินในพื้นที่ป่ารวม 8,000 เฮคเเตร์หรือเกือบ 50,000ไร่ ของอุทยานแห่งชาติ Leuser National Park ซึ่งถือเป็นเขตมรดกโลกขององค์การยูเนสโก เพื่อให้บริษัทพลังงานที่เจ้าของเป็นเศรษฐีชาวตุรกี เข้าไปเสาะหาเเหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือ geothermal energy

นาย Zaini Abdullah ผู้ว่าจังหวัดอาเจะห์อ้างว่า โครงการเสาะหาพลังงานความร้อนจากใต้ดินนี้จะช่วยสนับสนุนแผนของประธานาธิบดีอินโดนีเซีย Joko Widodo ที่สัญญาว่าจะผลิตพลังงานไฟฟ้าเพิ่มแก่ประเทศอีก 3,500 เมกกะวัตต์ภายในปี ค.ศ. 2020

Leuser National Forest, in Aceh province, Indonesia
Leuser National Forest, in Aceh province, Indonesia

อย่างไรก็ตาม บรรดานักอนุรักษ์สิ่งเเวดล้อมต่างกังวลว่า การพัฒนาในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดนี้ จะสร้างผลกระทบเป็นทอดๆ ซึ่งจะทำให้ป่าฝนเขตร้อนแห่งนี้สูญสลายไปในที่สุด

คุณ Farwiza Farhan ประธานหน่วยงานพัฒนาเอกชน Forest, Nature, and Environment of Ache NGO หรือ HaKA ชี้ว่าหากเราสร้างถนนเข้าไปในป่า ความเสียหายจะตามมา เธอกล่าวว่าทั้งๆ ที่ไม่มีถนน ป่าผืนนี้ก็ถูกรังควานเป็นทุนเดิมอยู่เเล้ว โดยกลุ่มลักลอบตัดไม้และชาวนารายย่อยที่บุกรุกเข้าไปใช้ที่ดินทำกิน ทั้งๆ ที่ควรได้รับการปกป้องภายใต้กฏหมายอนุรักษ์ป่าของรัฐบาลกลาง

พื้นที่ป่าผืนนี้ถูกบุกรุกทำลายและลักลอบตัดไม้ถึงปีละ 5,500 เฮคเเตร์หรือมากกว่า 33,000 ไร่

บนเกาะสุมาตรา การตัดไม้และการถางป่าเพื่อทำการเกษตรได้กินเนื้อที่ในพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนผืนนี้ไปแล้วเกินหนึ่งในสี่ของพื้นที่ทั้งหมด ตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา

โครงการสำรวจเเหล่งพลังงานความร้อนจากใต้พื้นดินของรัฐบาลอาเจะห์ จะใช้พื้นที่ 50,000ไร่ บนที่ราบบนเทือกเขา Kappi ซึ่งมีพื้นที่ป่าที่ล้ำค่ามากที่สุดในผืนป่าอนุรักษ์แห่งนี้

FILE - This handout photograph taken in 2011 and released by the Leuser International Foundation shows a Sumatran rhinoceros at the Mount Leuser National Park in Indonesia's Sumatran island.
FILE - This handout photograph taken in 2011 and released by the Leuser International Foundation shows a Sumatran rhinoceros at the Mount Leuser National Park in Indonesia's Sumatran island.

คุณ Rudi Putra ผู้ก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ Leuser Conservation Forum กล่าวว่าที่ราบสูงเเห่งนี้มีสัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่หาไม่ได้ในที่อื่นใดในโลกอีกเเล้ว เขากล่าวว่าในพื้นที่นี้มีทะเลสาบน้ำเค็มหลายแห่ง ทำให้เทือกเขาเเห่งนี้กลายเป็นเเหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าทั้งเล็กเเละใหญ่ รวมทั้งช้างสุมาตราราว 200 เชือก ซึ่งถือเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรช้างที่เหลืออยู่ทั้งหมดทั่วโลก

เขาชี้ว่าหากโครงการพัฒนาเเหล่งพลังงานความร้อนจากใต้ดินได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลกลาง ช้างป่าสุมาตราเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการสูญหายไป และผืนป่าบนเทือกเขาเเห่งนี้ซึ่งเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของเกาะสุมาตรา ก็จะหมดไปเช่นกัน

ราว 40 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ที่มีพลังงานความร้อนจากใต้โลกอยู่ในอินโดนีเซีย โดยราวครึ่งหนึ่งอยู่ในเกาะสุมาตรา

คุณ Rudi กล่าวว่าเกาะสุมาตรามีเเหล่งพลังงานความร้อนใต้ดินอยู่อย่างมหาศาล แต่ไม่ชัดเจนว่าทำไมจะต้องมาทำโครงการนี้ในที่ราบสูงบนเทือกเขา Kappi เขากล่าวว่าตนเองไม่ได้ต่อต้านโครงการเสาะหาพลังงานความร้อนใต้ดิน แต่เห็นว่ายังมีทางเลือกด้านพลังงานอีกหลายอย่าง และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการทำโครงการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์

(รายงานโดย Cory Rogers / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG