ลิ้งค์เชื่อมต่อ

บริษัทอินเดียประสบปัญหาขาดแคลนผู้บริหารหญิงอ้างผู้หญิงขาดความสามารถ


India's largest private sector company, Reliance Industries chairman Mukesh Ambani, right, poses or photographs with his wife Nita Ambani, second right, mother Kokilaben Ambani, center, sons Akash Ambani, second left and Anant Ambani, left during the company's annual general meeting in Mumbai, India.
India's largest private sector company, Reliance Industries chairman Mukesh Ambani, right, poses or photographs with his wife Nita Ambani, second right, mother Kokilaben Ambani, center, sons Akash Ambani, second left and Anant Ambani, left during the company's annual general meeting in Mumbai, India.

หลายบริษัทไม่สามารถทำตามกฏหมายที่กำหนดว่าบริษัทเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องมีผู้หญิงหนึ่งคนดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริหาร

please wait

No media source currently available

0:00 0:05:03 0:00
Direct link

กฏหมายที่รัฐบาลอินเดียบังคับใช้เมื่อปีที่แล้วมุ่งสร้างความเท่าเทียมในที่ทำงานและต้องการเพิ่มจำนวนผู้หญิงที่ทำงานในตำแหน่งคณะกรรมการบริหารบริษัทให้มากขึ้น

แต่เมื่อครบกำหนดเส้นตายเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ราว 150 บริษัทจากทั้งหมดประมาณ 1,475 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ยังหาผู้ที่เหมาะสมเข้ารับตำแหน่งไม่ได้ ส่วนบริษัทที่หาผู้หญิงขึ้นดำรงตำแหน่งได้ เกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดแต่งตั้งญาติผู้หญิง ภรรยาหรือไม่ก็ลูกสาวขึ้นดำรงตำแหน่งดังกล่าว รวมทั้งบริษัท Reliance Industries ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย

คุณ Pranav Haldea แห่ง PRIME Database บริษัทวิจัยด้านการตลาดในกรุงนิวเดลลีรู้สึกคลางแคลงใจต่อกฏหมายนี้ เขากล่าวว่าที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือบริษัทเหล่านี้อ้างว่าทำตามข้อกำหนดทั้งๆ ที่แต่งตั้งสมาชิกในครอบครัวตัวเองที่เป็นผู้หญิงขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหาร เขาคิดว่านี่เป็นการล้อเลียนต่อกฏหมาย เพราะญาติผู้หญิงก็ต้องเข้าข้างเจ้าของบริษัท ส่งผลให้กฏหมายดังกล่าวไม่มีผลอย่างที่วางไว้

บริษัทเอกชนจำนวนมากให้เหตุผลว่าอินเดียขาดแคลนผู้หญิงที่มีความสามารถพอที่จะดำรงตำแหน่งในบอร์ดผู้บริหาร

นาย Uday Chawla ผู้อำนวยการแห่งบริษัทเสาะหาผู้บริหาร Transearch India บริษัทรับผู้เสาะหาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตามกำหนด กล่าวว่าเขาประสบปัญหาในการเสาะหาผู้หญิงที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งคณะกรรมการบริหารมาก่อนแล้ว

คุณ Chawla กล่าวว่า บริษัทเอกชนที่มีความเป็นมืออาชีพต้องการผู้หญิงที่จะเข้าดำรงตำแหน่งบอร์ดบริหาร ที่มีความสามารถในการทำงานให้บริษัทจริงๆ ไม่ใช่แค่แต่งตั้งให้ผู้หญิงคนใดก็ได้เข้าทำงานในตำแหน่งนี้เพียงเพราะต้องทำตามข้อบังคับของกฏหมายเท่านั้น

บริษัทเหล่านี้กำหนดคุณสมบัติเอาไว้สูงมากว่าต้องมีความสามารถและมีประสบการณ์ในตำแหน่งมาก่อน แต่มีผู้หญิงอินเดียน้อยมากที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งนี้มาก่อน

แต่นักวิจารณ์หลายคนชี้ว่าที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าบริษัทต่างๆ ไม่ให้ความสำคัญกับกฏหมายนี้และไม่เพิ่มความพยายามในการเสาะหาผู้ที่มีคุณสมบัติ

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ความล้มเหลวของบริษัทเอกชนอินเดียในการค้นหาผู้หญิงเข้าดำรงตำแหน่งบอร์ดผู้บริหารนี้ทำให้อินเดียมีผู้หญิงดำรงตำแหน่งทางด้านการบริหารระดับสูงมีน้อยมาก โดยจัดอยู่ในอันดับที่ต่ำที่สุดประเทศหนึ่งในโลกเพราะมีจำนวนผู้หญิงในตำแหน่งสูงๆ ของบริษัทเพียง 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ผลการศึกษาโดย Catalyst หน่วยงานไม่หวังผลกำไรที่มุ่งส่งเสริมสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่หลากหลายทางเพศชี้ว่า เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงที่ทำงานในบริษัทเอกชนอินเดียลาออกจากงานในช่วงระยะเริ่มต้นถึงตอนกลางของชีวิตการทำงาน เทียบกับ 29 เปอร์เซ็นต์ทั่วทวีปเอเชีย

Shachi Irde ผู้อำนวยการบริหารแห่ง บริษัท Catalyst India ชี้ว่าเหตุผลหนึ่งที่ผู้หญิงต้องลาออกจากงานเพราะต้องรับหน้าที่ดูแลครอบครัวเป็นหลัก เธอกล่าวว่าบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องใช้นโยบายก้าวหน้าในการเพิ่มจำนวนลูกจ้างเพศหญิง หากบริษัทเอกชนให้ความสำคัญและปฏิบัติต่อลูกจ้างผู้หญิงอย่างเท่าเทียม เธอคิดว่าจะมีผู้หญิงทำงานในบริษัทเพิ่มมากขึ้นแทนที่จะลาออกจากบริษัท

คุณ Irde กล่าวว่าทางบริษัทเอกชนควรใช้ประสบการณ์ในการทำงานเป็นเงื่อนไขหลัก ในการแต่งตั้งผู้หญิงเข้าเป็นคณะกรรมการบริหาร แทนการจำกัดว่าต้องเคยดำรงตำแหน่งมาก่อน

ด้านคุณ Pranav Haldea กล่าวว่าปัญหาที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า บริษัทอินเดียจำนวนมากไม่คิดว่าการมีลูกจ้างผู้หญิงในบริษัทจำนวนมากขึ้นเป็นการเพิ่มมูลค่าแก่บริษัท เขากล่าวว่าไม่เชื่อว่าการออกฏหมายออกมาเพิ่มเติมเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ถูกจุด แต่คิดว่าควรแก้ที่ทัศนคติของเจ้าของบริษัทมากกว่า ตราบใดที่เจ้าของบริษัทและฝ่ายจัดการไม่เห็นความสำคัญของการบริหารจัดการบริษัทที่ดี พวกเขาก็จะยังหาทางเลี่ยงกฏหมายกันต่อไป

XS
SM
MD
LG