ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ไอเอ็มเอฟ เรียกร้องรัฐบาลนานาประเทศปรับเปลี่ยนแผนนโยบายการคลังเพื่อจัดการกับหนี้โควิด


(FILES) In this file photo taken on April 15, 2020 a sign is seen outside the headquarters of the International Monetary Fund (IMF) as the IMF and World Bank hold their Spring Meetings virtually due to the outbreak of COVID-19, known as coronavirus, in…
(FILES) In this file photo taken on April 15, 2020 a sign is seen outside the headquarters of the International Monetary Fund (IMF) as the IMF and World Bank hold their Spring Meetings virtually due to the outbreak of COVID-19, known as coronavirus, in…
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:45 0:00


กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แนะนำว่า รัฐบาลประเทศต่างๆ ควรเริ่มวางแผนกลับไปดำเนินแผนงบประมาณแบบยั่งยืนอีกครั้ง ภายใต้นโยบายที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในหมู่นักลงทุน หลังออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ออกมาต่อสู้กับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในช่วงกว่าปีที่ผ่านมา ตามรายงานของสำนักข่าว รอยเตอร์

IMF ระบุในรายงานการสังเกตการณ์สถานะทางการคลัง (Fiscal Monitor) ฉบับล่าสุดว่า แต่ละประเทศต้องตัดสินใจสรุปเงื่อนเวลาและจังหวะที่เหมาะสมในการสะสางปรับเปลี่ยนนโยบายทางการคลังของตนให้สอดรับกับสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศ ซึ่งหมายถึง การพิจารณาดูสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ความเสี่ยงด้านการคลังที่เผชิญอยู่ ความเสี่ยงต่อบาดแผลระยะยาวของเศรษฐกิจ แรงกดดันจากประชากรสูงอายุ ความต้องการด้านโครงการพัฒนาต่างๆ และความยากลำบากในการจัดเก็บรายได้ที่ผ่านมา

เปาโล เมาโร รองผู้อำนวยการด้านนโยบายการคลังของ IMF บอกกับ รอยเตอร์ว่า ในเวลานี้ ยังมีประเทศที่เผชิญภาวะระบาดรุนแรงอยู่ ซึ่งทำให้ลำดับความสำคัญที่รัฐบาลนั้นๆ ต้องใส่ใจยังคงเป็นเรื่องของแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับสถานการณ์ด้านสาธารณสุขตอไป

แต่สำหรับประเทศที่เริ่มมีการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว เมาโร แนะว่า “ควรเริ่มคิดวิธีที่จะค่อยๆ ลดแผนสนับสนุนทางการคลังที่ดำเนินการมาเพื่อพยุงเศรษฐกิจได้แล้ว”

รายงานที่อ้างอิงการวิจัยของ IMF ยังระบุด้วยว่า ประเทศที่ดำเนินแผนความยั่งยืนทางการคลังในระยะกลาง ภายใต้กรอบงบประมาณที่เชื่อถือได้ สามารถทำการกู้ยืมด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าและมีความสามารถมากกว่าที่จะรีไฟแนนซ์หนี้ของตน ทั้งยังแนะนำให้นานาประเทศพยายามตั้งเป้าการคลังแบบกว้างๆ ควบคู่นโยบายภาษีและนโยบายค่าใช้จ่ายที่หนุนกันเป็นระยะเวลา 3-5 ปี รวมทั้งพิจารณาการดำเนินนโยบายเฉพาะบ้าง เช่น การปรับขึ้นภาษี หรือเพดานอายุสำหรับผู้ที่จะมีสิทธิ์รับสวัสดิการหลังเกษียณ เป็นต้น

(ที่มา: สำนักข่าว รอยเตอร์)
XS
SM
MD
LG