คุณ Patrick Kanold คือผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินจาก University of Maryland และเป็นผู้ร่วมจัดทำรายงานการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงความสามารถทางประสาทสัมผัสที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่
คุณ Kanold กับนักวิจัยจาก Johns Hopkins University พยายามหาคำตอบว่า คนที่พิการทางสายตามีประสาทสัมผัสด้านการได้ยินดีกว่าคนปกติจริงหรือไม่ โดยคณะนักวิจัยชุดนี้ใช้วิธีลดความสามารถทางการมองเห็นของหนูทดลอง ด้วยการปล่อยหนูทดลองที่มีประสาทสัมผัสปกติดีเข้าไปในห้องมืดและให้อาศัยอยู่ในนั้นเป็นเวลา 1 สัปดาห์เต็ม หลังจากครบ 1 สัปดาห์ นักวิจัยได้นำหนูทดลองตัวนั้นมาวัดความสามารถในการได้ยิน แล้วประมวลผล ซึ่งการทดสอบพบว่าหนูทดลองตัวนั้นมีประสาทสัมผัสด้านการได้ยินดีขึ้น และการเชื่อมโยงของวงจรควบคุมการได้ยินในสมองก็เปลี่ยนไปด้วย
คุณ Kanold บอกว่าผลลัพธ์ที่ออกมานั้นน่าแปลกใจ เพราะแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวอย่างชัดเจนว่า หากความสามารถทางการมองเห็นลดลง ความสามารถทางการได้ยินจะเพิ่มขึ้น
นักวิจัยระบุว่าหนูทดลองที่ผ่านประสบการณ์อยู่ในห้องมืดมานั้น มีพัฒนาด้านการเชื่อมโยงของระบบประสาทมากขึ้น สามารถแยกแยะเสียงระดับต่างๆ ได้ดีขึ้น และยังได้ยินเสียงเบาๆ ได้ดีขึ้นด้วย โดยเสียงที่หนูทดลองได้ยินนั้น เป็นเสียงซึ่งหนูที่เติบโตมาอย่างปกติไม่สามารถแยกแยะได้ จึงสามารถบอกได้ว่าหนูทดลองที่ถูกปล่อยให้อยู่ในห้องมืดนั้น สามารถจำแนกความถี่ของคลื่นเสียงได้ดีขึ้น
คุณ Patrick Kanold ระบุด้วยว่าความสามารถทางการได้ยินที่เพิ่มขึ้นนั้นจะกลับสู่ปกติในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทำให้เชื่อได้ว่าสมองของสิ่งมีชีวิตที่เติบใหญ่แล้วนั้น อาจสามารถปรับตัวได้ดีกว่าที่เคยคิดกันไว้ โดยในขั้นตอนต่อไป นักวิจัยจะนำวิธีนี้ไปทดลองกับมนุษย์ เพื่อพิสูจน์ให้แน่ใจว่าหากคนๆ หนึ่งมีความสามารถทางการมองเห็นลดลง จะทำให้ความสามารถทางการได้ยินเพิ่มขึ้นตามไปด้วยจริงหรือไม่
และหากเป็นเช่นนั้นจริง การค้นพบครั้งนี้ก็จะเป็นประโยชน์สำคัญสำหรับผู้มีปัญหาด้านการได้ยินราว 360 ล้านคนทั่วโลกอย่างแน่นอน
ผลการวิจัยเรื่องนี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Neuron
รายงานจาก Rosanne Skirble / เรียบเรียงโดย Songphot Suphaphon
คุณ Kanold กับนักวิจัยจาก Johns Hopkins University พยายามหาคำตอบว่า คนที่พิการทางสายตามีประสาทสัมผัสด้านการได้ยินดีกว่าคนปกติจริงหรือไม่ โดยคณะนักวิจัยชุดนี้ใช้วิธีลดความสามารถทางการมองเห็นของหนูทดลอง ด้วยการปล่อยหนูทดลองที่มีประสาทสัมผัสปกติดีเข้าไปในห้องมืดและให้อาศัยอยู่ในนั้นเป็นเวลา 1 สัปดาห์เต็ม หลังจากครบ 1 สัปดาห์ นักวิจัยได้นำหนูทดลองตัวนั้นมาวัดความสามารถในการได้ยิน แล้วประมวลผล ซึ่งการทดสอบพบว่าหนูทดลองตัวนั้นมีประสาทสัมผัสด้านการได้ยินดีขึ้น และการเชื่อมโยงของวงจรควบคุมการได้ยินในสมองก็เปลี่ยนไปด้วย
คุณ Kanold บอกว่าผลลัพธ์ที่ออกมานั้นน่าแปลกใจ เพราะแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวอย่างชัดเจนว่า หากความสามารถทางการมองเห็นลดลง ความสามารถทางการได้ยินจะเพิ่มขึ้น
นักวิจัยระบุว่าหนูทดลองที่ผ่านประสบการณ์อยู่ในห้องมืดมานั้น มีพัฒนาด้านการเชื่อมโยงของระบบประสาทมากขึ้น สามารถแยกแยะเสียงระดับต่างๆ ได้ดีขึ้น และยังได้ยินเสียงเบาๆ ได้ดีขึ้นด้วย โดยเสียงที่หนูทดลองได้ยินนั้น เป็นเสียงซึ่งหนูที่เติบโตมาอย่างปกติไม่สามารถแยกแยะได้ จึงสามารถบอกได้ว่าหนูทดลองที่ถูกปล่อยให้อยู่ในห้องมืดนั้น สามารถจำแนกความถี่ของคลื่นเสียงได้ดีขึ้น
คุณ Patrick Kanold ระบุด้วยว่าความสามารถทางการได้ยินที่เพิ่มขึ้นนั้นจะกลับสู่ปกติในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทำให้เชื่อได้ว่าสมองของสิ่งมีชีวิตที่เติบใหญ่แล้วนั้น อาจสามารถปรับตัวได้ดีกว่าที่เคยคิดกันไว้ โดยในขั้นตอนต่อไป นักวิจัยจะนำวิธีนี้ไปทดลองกับมนุษย์ เพื่อพิสูจน์ให้แน่ใจว่าหากคนๆ หนึ่งมีความสามารถทางการมองเห็นลดลง จะทำให้ความสามารถทางการได้ยินเพิ่มขึ้นตามไปด้วยจริงหรือไม่
และหากเป็นเช่นนั้นจริง การค้นพบครั้งนี้ก็จะเป็นประโยชน์สำคัญสำหรับผู้มีปัญหาด้านการได้ยินราว 360 ล้านคนทั่วโลกอย่างแน่นอน
ผลการวิจัยเรื่องนี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Neuron
รายงานจาก Rosanne Skirble / เรียบเรียงโดย Songphot Suphaphon