ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้ติดเชื้อชาวอังกฤษปลอดเชื้อเอชไอวี หลังปลูกถ่ายสเต็มเซลล์สำเร็จรายที่สอง


Free of HIV
Free of HIV
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:15 0:00

หน่วยงานแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติที่เป็นผู้นำในความพยายามระดับทั่วโลกในการยุติเอดส์ ได้แถลงว่า ทางหน่วยงานมีกำลังใจอย่างมากจากความเป็นไปได้ที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายหนึ่งในอังกฤษอาจได้รับการรักษาจนหายจากโรคเอดส์

ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เสาะหาหนทางรักษาการติดเชื้อเอชไอวีที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์มานานเกือบ 40 ปี

ผู้อำนวยการองค์การยูเอ็นเอดส์ (UNAIDS) ได้เรียกข่าวเกี่ยวกับชายผู้ติดเชื้อคนหนึ่งในกรุงลอนดอนที่ได้รับการบำบัดจนเข้าสู่ภาวะสงบนี้ว่า "เป็นความคืบหน้าครั้งใหญ่ของวงการยุติเอดส์"

สเตฟาน ดูจาร์ริค (Stephane Dujarric) โฆษกแห่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เป็นผู้ประกาศเรื่องนี้ว่า ความคืบหน้าครั้งสำคัญนี้สร้างความหวังเเก่อนาคต เเต่ยังเเสดงให้เห็นว่าเราคืบหน้ามากในความพยายามหยุดยั้งเอดส์โดยพึ่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เเละยูเอ็นเห็นว่าสำคัญมากที่ควรเดินหน้าเน้นงานป้องกันเเละความพยายามรักษาเอดส์ต่อไป

ชายชาวลอนดอนคนนี้ถือว่าปลอดจากเชื้อเอชไอวี หลังจากได้รับได้รับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากผู้บริจาคที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบน้อยมาก ที่เรียกว่า CCR5 โดยยีนที่กลายพันธุ์นี้ทำให้เขาสามารถต่อต้านต่อเชื้อเอชไอวีได้ นอกจากนี้โรคมะเร็งที่เขาเป็น ก็ได้รับการรักษาจนโรคเข้าสู่ภาวะสงบ

ศาสตราจารย์ ราวินดรา กุพตา (Professor Ravindra Gupta) แห่งมหาวิทยาลัย University College London กล่าวว่า ชายผู้นี้ได้เลิกใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีเเล้ว เเละมีสุขภาพเเข็งเเรงดี นอกจากนี้ ผลการตรวจเลือดพบว่ามีเชื้อเอชไอวีในร่างกายน้อยมากจนเเทบไม่มีเลย

ศาสตราจารย์กุพตายังลังเลทื่จะเรียกว่านี่เป็นการรักษาเอดส์ให้หายขาดเเล้ว เเต่นี่เป็นคนไข้รายที่ 2 ที่เเสดงให้เห็นว่าไม่มีเชื้อเอชไอวีในร่าง
กาย หลังจากได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายสเต็มเซลล์แบบเดียวกันกับชายคนแรกที่เป็นชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับการบำบัดในกรุงเบอร์ลินเมื่อหลาย 12 ปีก่อน

ด็อกเตอร์ โรวีนา จอห์นสตัน (Dr. Rowena Johnston) ผู้อำนวยการฝ่ายกรวิจัยที่ amfAR ซึ่งเป็นมูลนิธิเพื่อการวิจัยเอดส์ กล่าวว่า ความสำเร็จครั้งที่สองนี้มีความสำคัญ

Timothy Ray Brown, shown in Seattle March 4, 2019, is also known as the "Berlin patient," the first person to be cured of HIV infection, more than a decade ago. Now researchers are reporting a second patient has lived 18 months after stopping HIV treatmen
Timothy Ray Brown, shown in Seattle March 4, 2019, is also known as the "Berlin patient," the first person to be cured of HIV infection, more than a decade ago. Now researchers are reporting a second patient has lived 18 months after stopping HIV treatmen

ทั่วโลกมีคนติดเชื้อเอชไอวีราว 37 ล้านคน แต่การบำบัดดวยสเต็มเซลล์นี้ยังเป็นการบำบัดที่ทำได้ยาก

อันดับเเรก ผู้บริจาคต้องมีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้กับผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้บริจาคต้องมียีนกลายพันธุ์ชนิด CCR5 และขั้นตอนการบำบัดด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์สร้างความเจ็บปวดเเก่ผู้ป่วยเเละมีความเสี่ยง

ด็อกเตอร์ซาร่าห์ ฟิดเลอร่์ (Dr. Sarah Fidler) ศาสตราจารย์ด้านการบำบัดเอชไอวีที่ Imperial College London กล่าวว่า การผ่าตัดปลูกถ่ายไขกระดูกจะเป็นอันตรายมากเกินไปสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาต้านไวรัสเพื่อบำบัดเอเชไอวีเป็นประจำทุกวัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งสองคนต่างเป็นมะเร็งทั้งคู่เเละไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยอมเสี่ยงรับการบำบัด แต่นักวิจัยยังจะเดินหน้าต่อไปในการค้นหาวิธีการรักษาเอดส์

และอย่างน้อยในตอนนี้พวกเขาก็รู้เเล้วว่า 'โรคเอดส์สามารถรักษาให้หายได้'

(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG