ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เปิดตัว 2 นวัตกรรมแก้ปัญหา ‘ขยะอาหาร’ ทั่วโลก


'ตู้เย็นชุมชน' นวัตกรรมแก้ปัญหา ‘ขยะอาหาร’ ทั่วโลก
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:04 0:00

'ตู้เย็นชุมชน' นวัตกรรมแก้ปัญหา ‘ขยะอาหาร’

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:31 0:00

ข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ระบุว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตได้ในแต่ละปีไม่ได้รับการบริโภค นั่นเท่ากับขยะอาหารเหลือทิ้งมากถึง 1 พัน 3 ร้อยล้านตัน ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคของผู้คน 700 ล้านคนทั่วโลก

พนักงานออฟฟิสและบรรดาร้านอาหารในเขต Brixton ในกรุงลอนดอน หอบหิ้วอาหารที่พวกเขาไม่ได้รับประทานมาแช่ไว้ในตู้เย็นชุมชน โดยมีเจ้าของร้านอาหารใกล้เคียงช่วยกันดูแลและทำความสะอาดตู้เย็นให้พร้อมใช้ได้ทุกวัน

นี่เป็นแนวคิดของกลุ่ม People’s Fridge ที่เริ่มจากนักเคลื่อนไหวด้านอาหารในกรุงลอนดอนเพียง 25 คน และทุนตั้งต้นโครงการ 2 พัน 5 ร้อยดอลลาร์ หรือราว 8 หมื่น 5 พันบาท ซื้อตู้เย็นมาตั้งไว้ใจกลางเขต Brixton เพื่อให้ผู้คนนำอาหารมาแช่และแบ่งปันได้ทุกเมื่อ โดยส่วนใหญ่อาหารในตู้เย็นจะอยู่ไม่ถึง 36 ชั่วโมงก็จะมีคนนำอาหารออกไปบริโภค

Rebecca Trevalyan หนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการนี้ บอกว่า ตู้เย็นชุมชนนี้จะช่วยเหลือผู้คนอีกมาก ไม่จำเป็นต้องเป็นคนยากจน แต่ยังรวมถึงคนที่ทำงานมีเงิน แต่ไม่เพียงพอต่อการซื้อหาอาหารที่ราคาพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ และเธอเชื่อว่าความต้องการของผู้คนในกลุ่มนี้จะเพิ่มสูงขึ้นมากเช่นกัน

ด้าน Sarah Cook ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของ Ritzy Cinema เป็นอีกคนที่สนใจแนวคิดของตู้เย็นชุมชน และนำเค้กจากร้านที่ทำมาเกินกว่าที่จะขายได้ มาแช่ไว้ในตู้เย็นแทนที่จะนำไปทิ้งเหมือนเมื่อก่อน

Sarah บอกว่า ธุรกิจของเธอต้องทิ้งอาหารที่ขายไม่ได้เป็นจำนวนมาก ทำให้การบริจาคเพื่อคนที่ไม่มีโอกาสได้รับประทานนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับเธอและธุรกิจมาก

ปัจจุบันมีชาวอังกฤษ 8 ล้าน 4 แสนคน ที่อยู่ในภาวะไร้ความมั่นคงทางด้านอาหาร ขณะที่ร้านอาหารต่างๆ ทั่วอังกฤษนำอาหารที่เหลือไปทิ้งมากถึง 9 แสนตันต่อปี ซึ่งก้าวเล็กๆ ของตู้เย็นชุมชน อาจเป็นแนวทางที่ดีของผู้คนในพื้นที่อื่นๆ ในกรุงลอนดอน หรือในเมืองใหญ่ทั่วโลกได้

นอกจากอังกฤษแล้ว ที่ไนจีเรีย ได้พัฒนาแอพพลิเคชัน Chowberry แอพพลิเคชั่นแลกเปลี่ยนอาหารที่ซื้อมาแล้วบริโภคไม่หมด

แอพพลิเคชันนี้จะเป็นสื่อกลางให้ร้านค้า หรือผู้ที่มีอาหารที่บริโภคไม่ทัน อัพโหลดอาหารผ่านทางแอพพลิเคชัน เพื่อให้องค์กรการกุศลมาซื้อไปในราคาที่ถูกลง และนำไปแจกจ่ายผู้คนที่ขาดแคลนต่อไป โดยจะมั่นใจได้ว่าอาหารทั้งหมดจะต้องไม่หมดอายุและมีความสดใหม่เพียงพอเมื่อถึงมือผู้ที่ต้องการ

ซึ่งผู้ก่อตั้งแอพพลิเคชันแลกเปลี่ยนอาหาร Oscar Ekponimo ได้นำความยากลำบากของครอบครัวในอดีตที่ต้องอดมื้อกินมื้อ มาเป็นแรงผลักดันเพื่อช่วยเหลือให้คนอื่นได้มีโอกาสรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ

Ugwu Chizoba หนึ่งในผู้ที่ได้รับอาหารจากแอพพลิเคชัน Chowberry บอกว่า เธอและครอบครัวมีชีวิตที่ดีขึ้น และมีโอกาสได้รับประทานอาหารที่ดีขึ้น

ผู้ก่อตั้งแอพพลิเคชันทิ้งท้ายไว้ว่า เป้าหมายต่อจากนี้คือการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางให้ผู้ผลิตอาหารเพื่อส่งผ่านไปยังผู้ที่ขาดแคลนได้มากขึ้นในอนาคต โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถส่งต่ออาหารดีๆให้แก่ผู้คน 1 แสนครัวเรือนในไนจีเรียได้ในปีหน้า

XS
SM
MD
LG