ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การอพยพในรัฐยะไข่ กระทบการศึกษาของเยาวชนชาวโรฮิงจะ


Rohingya refugee children attend recitation classes of the holy Quran in a newly opened madrasa, or religious school, amid material stocked for constructing latrines in Balukhali refugee camp, Bangladesh, Monday, Oct. 30, 2017.
Rohingya refugee children attend recitation classes of the holy Quran in a newly opened madrasa, or religious school, amid material stocked for constructing latrines in Balukhali refugee camp, Bangladesh, Monday, Oct. 30, 2017.

การอพยพครั้งใหญ่ของชาวโรฮิงจะหลายแสนชีวิตจากเมียนมาไปยังบังคลาเทศ ได้สร้างผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กและเยาวชนชาวโรฮิงจะให้เลวร้ายลงกว่าเดิม

คลื่นผู้อพยพเกินกว่า 5 แสนคน มุ่งหน้าสู่พรมแดนเมียนมาเพื่อข้ามไปยังบังคลาเทศ เพื่อหวังจะได้มีชีวิตที่ดีและมีตัวตนในสังคม หลังเหตุความไม่สงบในรัฐยะไข่เมื่อกลางปีที่ผ่านมา

ทว่ามีปัญหาที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น คือ การตัดโอกาสทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนชาวโรฮิงจะ ที่เกิดขึ้นมาก่อนเหตุรุนแรงในพื้นที่เสียอีก

Cresa Pugh นักศึกษาปริญญาเอกด้านสังคมศาสตร์และนโยบายสาธารณะ ของมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งศึกษาเรื่องชุมชนในรัฐยะไข่ บอกว่า ชาวโรฮิงจะประสบปัญหาด้านการศึกษามานานกว่า 5 ปี นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการบริหารประเทศของเมียนมา

เยาวชนโรฮิงจะจำนวนมากถูกปิดกั้นโอกาสในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ด้วยการจำกัดการเดินทางออกจากรัฐยะไข่ และบางคนก็ถูกส่งไปอยู่ในค่ายผู้อพยพ

Pugh บอกเล่าประสบการณ์ในการลงพื้นที่ด้วยว่า แทบจะไม่มีสถานศึกษาให้กับชาวโรฮิงจะที่นั่น ขณะที่ค่ายผู้ลี้ภัยขององค์การสหประชาชาติในรัฐยะไข่ มีเพียงชั้นเรียนให้สำหรับเด็กเล็กเท่านั้น และไม่มีลู่ทางในการศึกษาต่อของพวกเขาเลย

มุมมองนี้แตกต่างจากถ้อยแถลงของนางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา ที่แสดงความกังวลถึงสถานการณ์ในรัฐยะไข่ และย้ำว่า ทุกคนที่อาศัยในรัฐยะไข่ สามารถเข้าถึงการศึกษาและระบบสาธารณสุขได้อย่างเท่าเทียมและไม่มีการเลือกปฏิบัติ

ข้อมูลจาก Oxford Burma Alliance ระบุว่า กว่า 60% ของเด็กชาวโรฮิงจะที่มีอายุระหว่าง 5-7 ปี ไม่เคยได้รับการศึกษาหรือไปโรงเรียน จากปัญหาความยากจน ข้อจำกัดของรัฐบาลในการห้ามเดินทาง และการขาดแคลนโรงเรียนในพื้นที่

เยาวชนโรฮิงจะจำนวนมากฝันอยากจะมาเรียนต่อในสหรัฐ ทว่าพ่อแม่ของพวกเขากลับมองว่าเป็นเรื่องที่ห่างไกลเกินฝัน เพราะพื้นฐานที่พ่อแม่ต่างไม่ได้รับการศึกษา ยืนยันจากข้อมูลของ Oxford Burma Alliance ที่ระบุว่า กว่า 70% ของชาวโรฮิงจะที่เป็นหัวหน้าครอบครัวไม่ได้รับการศึกษาที่เพียงพอ

สำหรับการศึกษาในระดับสูง Jessica Marks ประธานของ Refugee Center Online บอกว่า ปัจจุบันมีชาวโรฮิงจะเพียง 5% ที่ออกจากรัฐยะไข่เพื่อต่อยอดการศึกษาของตัวเองได้ และพวกเขามักถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกแบ่งแยก

Puge เพิ่มเติมด้วยว่า ตอนนี้นักเรียนนักศึกษาชาวโรฮิงจะหมดโอกาสศึกษาต่อในระดับสูง แม้ว่าชุมชนโรฮิงจะในพื้นที่จะพยายามสร้างมัสยิดหรือโรงเรียนสอนศาสนาเพื่อแก้ปัญหาการขาดการศึกษาของพลเมือง แต่ปัญหาสำคัญ คือ รัฐบาลเมียนมาไม่อนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนระดับมัธยมในค่ายผู้ลี้ภัยที่รัฐยะไข่

ตอนนี้สิ่งที่หน่วยงานระหว่างประเทศทำได้ คือ การจัดสรรงบประมาณเพื่อเพิ่มสถานศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัย ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนชายหญิงได้มีการศึกษาเท่าเทียมกัน

XS
SM
MD
LG