ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ร้านอาหารในสหรัฐฯ บริการด้วยใจให้กับ “ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม”


ร้านอาหารในสหรัฐฯ บริการด้วยใจให้กับ “ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม”
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:34 0:00

ร้านอาหารในสหรัฐฯ บริการด้วยใจให้กับ “ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม”

มีร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมืองเฮิร์นดอน รัฐเวอร์จิเนีย แม้ภายนอกจะดูเหมือนร้านทั่วไป แต่ที่นี่มีความพิเศษ ด้วยบริการที่มีความรู้ ความเข้าใจสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:46 0:00

ด้านหน้าของร้านอาหาร Virginia Kitchen มีสติ๊กเกอร์รูปปลาดาวสีม่วงแปะอยู่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าร้านนี้มีพนักงานที่พร้อมให้บริการด้วยความเข้าใจต่อผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม

คุณ Toni Reinhart คือเจ้าของความคิดนี้ และเธอคือผู้ก่อตั้งองค์กร Dementia Friendly America หรือ DFA ณ เมือง Herndon คุณพ่อของเธอมีภาวะสมองเสื่อม และนั่นทำให้เธอตระหนักได้ว่าในประเทศสหรัฐฯ ยังมีความรู้ ความเข้าใจที่น้อยมากสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้

เธอกล่าวกับวีโอเอว่า “รู้สึกตกใจกับความยากลำบากในการพาสมาชิกครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อมออกไปใช้ชีวิตในชุมชน และเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้”

ตามการศึกษาของ National Health and Aging Trends Study ระบุว่ามากกว่าร้อยละ 70 ของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมจะอาศัยอยู่แต่ในบ้านเท่านั้น เหตุผลหลักมาจากคนในสังคมขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่รู้ว่าจะต้องบริการผู้ที่มีภาวะดังกล่าวอย่างไร คุณ Reinhart จึงได้ประสานกับองค์กร DFA และเริ่มรณรงค์ในพื้นที่รัฐเวอร์จิเนีย เธอได้สร้างกิจกรรมให้ความรู้กับร้านค้าทั่วไปโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจบริการ แนะแนวทางว่าควรปฏิบัติกับลูกค้าที่มีภาวะสมองเสื่อมอย่างไรจึงจะเหมาะสม

เธอเล่าว่า “หลายครั้งที่ไปจัดกิจกรรมตามโบสถ์เพื่อให้ความรู้กับชุมชน มีหลายคนที่ฟังข้อมูลแล้วตระหนักได้ว่า อาการดังกล่าวไปสอดคล้องกับพฤติกรรมคนใกล้ตัวอย่างเช่นเพื่อนบ้าน ซึ่งนั่นจะทำให้พวกเขารู้วิธีในการปฏิบัติกับคนที่มีภาวะสมองเสื่อมได้ดียิ่งขึ้น”

คุณ Reinhart และเพื่อนร่วมงานคิดว่าควรจะเริ่มต้นมุ่งเป้าไปยังธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งร้าน Virginia Kitchen เป็นหนึ่งในร้านอาหารกลุ่มแรกที่ร่วมมือกับองค์กร DFA ณ เมือง Herndon เพื่อให้บริการผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมด้วยความเข้าใจ

คุณ Lincoln Krueger เจ้าของร้าน Virginia Kitchen กล่าวว่า “การสื่อสารกับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก คนกลุ่มนี้อาจจะเป็นคนในครอบครัวหรือเพื่อนของเราก็ได้ คนในสังคมควรที่จะทำให้พวกเขาไม่รู้สึกแปลกแยก”

ทางด้านคุณ Reinhart แนะนำวิธีสื่อสารกับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยพวกเขามักจะใช้เวลาประมวลผลนานกว่าปกติ เราควรที่จะมองตาและยิ้มแย้มเวลาสนทนา หลีกเลี่ยงการโต้เถียง ควรพูดให้ช้าและออกเสียงให้ชัด

เธออธิบายว่า “คนอเมริกันมักจะพูดเร็ว รวมถึงตัวเธอเองด้วย สิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้คือพูดให้ช้าลง และให้ข้อมูลที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ การลดจำนวนตัวเลือกก็เป็นอีกเทคนิค อย่างน้ำสลัดแทนที่จะให้เลือกจาก 40 กว่าชนิดก็ลดให้เหลือแค่สองตัวเลือกง่ายๆ”

จากการศึกษาพบว่าการเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะสมองเสื่อม การสร้างความตระหนักรู้ในสังคมต่อประเด็นภาวะสมองเสื่อมถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นในปัจจุบัน เพราะเชื่อว่าจำนวนผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 75 ล้านคนทั่วโลก ภายใน 10 ปีข้างหน้า

XS
SM
MD
LG