ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สงครามบิดเบือนข่าวสารวัคซีนปัญหาใหญ่ในยุคโควิด-19


FILE PHOTO: A nurse prepares to administer the AstraZeneca/Oxford vaccine under the COVAX scheme against the coronavirus disease (COVID-19) at the Eka Kotebe General Hospital in Addis Ababa, Ethiopia March 13, 2021. REUTERS/Tiksa Negeri/File Photo
FILE PHOTO: A nurse prepares to administer the AstraZeneca/Oxford vaccine under the COVAX scheme against the coronavirus disease (COVID-19) at the Eka Kotebe General Hospital in Addis Ababa, Ethiopia March 13, 2021. REUTERS/Tiksa Negeri/File Photo
Covid-19 Vaccine Disinformation
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:00 0:00


สหรัฐฯ เดินหน้าบริจาควัคซีนโควิด-19 กว่า 500 ล้านโดส ให้กับ 92 ประเทศทั่วโลกจนถึงมิถุนายนปีหน้าเพื่อต่อสู่กับปัญหาการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าปัญหาการบิดเบือนข่าวสารเพื่อทำลายความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนยังเป็นปัญหาใหญ่ที่องค์การอนามัยโลกต้องเร่งแก้ไข

ทันทีที่ องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA อนุมัติให้วัคซีนไฟเซอร์ สามารถใช้ในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 ได้ในช่วงเดือนธันวาคม คริสตศักราช 2020 ที่ผ่านมา กระแสการสร้างข้อมูลเท็จเพื่อโจมตีและทำลายความน่าเชื่อถืออย่างเป็นขบวนการจากสื่อในรัสเซียก็เริ่มทำงานในทันที โดยการกล่าวอ้างว่าเป็นวัคซีนที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

สื่อจากรัสเซียใช้หลากหลายช่องทาง ระดมโพสต์และเผยแพร่ โดยการอ้างว่า มีผู้เสียชีวิตแล้วหลังได้รับวัคซีนไฟเซอร์โดยไม่มีที่มา หรืออ้างว่าวัคซีนที่ผลิตโดยทีมวิจัยสหรัฐฯ ทั้งไฟเซอร์และโมเดอร์นา มีผลทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือด เป็นต้น

เจ้าหน้าที่ องค์การอนามัยโลก ระบุว่า การอ้างข้อมูลเท็จของรัสเซีย น่าจะเพื่อทำลายความเชื่อมั่นที่มีต่อวัคซีนที่ผลิตโดยประเทศตะวันตก

พญ. มากาเร็ต แฮร์ริส (Dr Margaret Harris) โฆษกองค์การอนามัยโลก ยอมรับว่า สภาวะที่เรียกว่า infodemic หรือ การเผยแพร่ข้อมูลเท็จที่แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางการระบาดใหญ่ หรือ Pandemic กลายเป็นปัญหาสำคัญที่น่ากลัวมากกว่าการระบาดของเชื้อไวรัสไปแล้ว

นอกจากนี้ ในรายงานของหน่วยงานด้านกิจการต่างประเทศของสหภาพยุโรป หรือ European External Action Service ยังระบุว่า การสร้างข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน ยังพบได้จากสื่อที่ที่สนับสนุนรัสเซีย และ จีน เป็นส่วนใหญ่โดยมุ่งทำลายความน่าเชื่อถือวัคซีนจากยุโรป และสหรัฐอเมริกา

ด้าน นายแดเนียล คิมเมจ (Daniel Kimmage) เจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน Global Engagement Center กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า สหรัฐฯ จะทำทุกวิถีทางที่จะตอบโต้ปัญหาการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ด้วยการทำงานร่วมกับรัฐบาลประเทศต่างๆ รวมทั้งองค์กรเอกชนที่ทำงานในด้านนี้ โดยเชื่อมั่นว่า ในสภาวะการระบาดใหญ่ของโลกนั้น การที่จะผู้คนได้รับวัคซีนถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่จำเป็นต้องมาพร้อมกับการแสวงหาข้อเท็จจริง ซึ่งน่าดีใจที่มีหน่วยงานยังคงทำงานในด้านนี้เเพิ่มมากขึ้นเรี่อยๆ

ผลของการบิดเบือนข่าวสารทำให้การต่อสู้กับการระบาดใหญ่ทำได้ยากมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญยังระบุว่า การสร้างกระแสบั่นทอนความน่าเชื่อถือในวัคซีน ยังกลับส่งผลเสียกลับไปยังรัสเซีย เมื่อพบว่ามีชาวรัสเซียจำนวนไม่น้อย ยังตั้งข้อสงสัยกับประสิทธิภาพชองวัคซีน สปุทนิก วี (Sputnik V)ของรัสเซียเอง

XS
SM
MD
LG