ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักจิตวิทยาเสนอ "วิธีเลี้ยงลูกแบบเชิงรุก" เน้นความร่วมมือและให้แรงจูงใจเเทนการทำโทษเด็ก


FILE - A man walks with his children during unseasonably warm weather in Washington, Feb. 22, 2017.
FILE - A man walks with his children during unseasonably warm weather in Washington, Feb. 22, 2017.

นักจิตวิทยาชาวอเมริกันชี้ว่าการลงโทษลูกแบบใช้อำนาจไม่ได้ผลในการปรับปรุงพฤติกรรมเด็ก

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:25 0:00

ตลอดชีวิตการทำงาน คุณ Ross Greene นักจิตวิทยาเด็กชาวอเมริกัน สังเกตุว่าพ่อเเม่ส่วนมากพยายามควบคุมลูก

เขากล่าวว่าพ่อเเม่ไม่จำเป็นต้องควบคุมลูก แต่ควรใช้อิทธิพลของตนต่อลูก และวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างอิทธิพลต่อลูก คือการสร้างความสัมพันธ์แบบร่วมมือกันสองฝ่าย

เขากล่าวว่า พ่อเเม่ควรรับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกของลูก ใส่ใจต่อความกังวลของลูก และช่วยให้ลูกเรียนรู้จากประสบการณ์ของพ่อเเม่ และคุณค่าที่มีความสำคัญทางจิตใจที่พ่อเเม่ยึดมั่น

Ross Greene กล่าวว่า หลายคนได้รับการเลี้ยงดูโดยพ่อเเม่ที่นิยมใช้อำนาจและการควบคุมลูก เมื่อพ่อเเม่เหล่านี้เริ่มปรับตัวไปใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบให้ความร่วมมือและการใช้อิทธิพลต่อลูก พวกเขาจะรู้สึกว่าสูญเสียอำนาจในการควบคุมลูก ทั้งๆ ที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องควบคุมลูกเลย

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า การสร้างระเบียบวินัยเเก่ลูกด้วยการควบคุมเป็นยุทธวิธีทีเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจ

Ross Greene นักจิตวิทยา กล่าวว่าพ่อเเม่ลงโทษลูกด้วยการขอเวลานอก โดยให้ลูกไปนั่งคนเดียวเพื่อทบทวนสิ่งที่ทำไปนั้น เป็นผลของการกระทำที่ผู้ใหญ่ตั้งขึ้น

ในโรงเรียน มีการลงโทษด้วยการกักตัว ห้ามไปโรงเรียนชั่วคราว การไล่ออก และการตี การลงโทษแบบนี้ล้วนเป็นการใช้อำนาจ ซึ่ง Ross Greene เชื่อว่าไม่ช่วยเเก้ปัญหาพฤติกรรม เพราะทำให้เด็กๆ ไม่อยากคุยกับพ่อเเม่หรือผู้ใหญ่

โดยเด็กจะมองว่าพ่อเเม่ไม่รับฟังความคิดเห็นและไม่เข้าใจ

หลังจากทำงานเป็นนักจิตวิทยาเด็กที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดนาน 20 ปี Ross Greene หันหลังให้กับชีวิตนักวิชาการ เเล้วตั้งหน่วยงานไม่หวังผลกำไร "Lives in Balance" ที่เน้นให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมรุนแรง และเขาได้คิดค้นการเเก้ปัญหาด้วยการเลี้ยงดูลูกแบบเชิงรุกและร่วมมือกัน

"วิธีแก้ปัญหาพฤติกรรมเเบบเชิงรุกและร่วมมือกัน" มีสามขั้นตอนด้วยกัน

ขั้นเเรก คือการทำความเข้าใจและเห็นใจกัน เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก โดยผู้ใหญ่ต้องพูดคุยกับเด็กเพื่อสอบถามให้ได้ข้อมูลจากเด็กมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อสร้างความเข้าใจในปัญหาว่า อะไรทำให้เด็กไม่เชื่อฟังหรือทำตัวไม่ดี?

ขั้นที่สอง เป็นขั้นที่ผู้ใหญ่เเสดงการรับรู้และใส่ใจ ต่อปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น

ขั้นที่สาม เป็นการเชื้อเชิญให้เด็กมีบทบาทในการแก้ปัญหาร่วมกัน ขั้นตอนที่สามนี้เป็นขั้นที่ผู้ใหญ่เเละเด็กร่วมมือกันหาทางออกแก้ปัญหา โดยทางออกที่ว่านี้ต้องช่วยบรรเทาความกังวลของทั้งสองฝ่าย

เขากล่าวว่า "ผู้ใหญ่ควรหลีกเลี่ยงการแก้ปัญหาทันทีทันควัน ขณะที่ทั้งผู้ใหญ่เเละเด็กต่างยังมีอารมณ์ยังร้อนด้วยกันทั้งคู่"

Greene นักจิตวิทยาเด็ก กล่าวว่าการเลี้ยงลูกแบบเชิงรุกเเละร่วมมือกัน เป็นโอกาสที่พ่อเเม่ได้เป็นตัวอย่างของการใช้ความสามารถ และคุณสมบัติที่พ่อเเม่อยากให้ลูกเอาเป็นแบบอย่าง

Greene กล่าวว่าความสามารถหลายๆ อย่าง เช่น การเข้าใจเเละเห็นใจผู้อื่น การเเสดงความชื่นชมต่อพฤติกรรมของคนอื่นที่มีผลต่อผู้อื่น การหาทางออกเเก่ความคิดเห็นที่เเตกต่างโดยไม่สร้างความขัดเเย้ง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และความซื่อสัตย์

ล้วนเป็นสิ่งที่พ่อเเม่ต้องสอนลูกในเรื่องเหล่านี้ตั้งเเต่เล็กๆ และไม่ควรรอให้ลูกโตเสียก่อน

(รายงานโดย Faiza Elmasry / เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG