ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วัคซีนโควิดจากจีนและรัสเซีย: ตัวเลือกสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องคิดหนัก


FILE - An engineer looks at monkey kidney cells as he tests an experimental vaccine for the COVID-19 coronavirus inside the Cells Culture Room laboratory at the Sinovac Biotech facilities in Beijing, April 29, 2020.
FILE - An engineer looks at monkey kidney cells as he tests an experimental vaccine for the COVID-19 coronavirus inside the Cells Culture Room laboratory at the Sinovac Biotech facilities in Beijing, April 29, 2020.
Vaccine Story
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:24 0:00


ขณะนี้สหรัฐฯ และบางประเทศในยุโรปกำลังระดมกำลังเเจกจ่ายวัคซีนต้านโคโรนาไวรัสไปสู่ประชากรของตน ท่ามกลางกระระบาดที่รุนเเรงขึ้นเมื่ออากาศเย็นลง

ประเทศต่างๆ ที่ยังไม่มีวัคซีนต้านโควิด-19 เป็นของตนเอง กำลังมองว่าวัคซีนสูตรของรัสเซียและจีนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แม้ว่าในตอนเเรกจะไม่เเน่ใจถึงคุณภาพก็ตาม

ประเด็นเรื่องความเหลื่อมลำ้ระหว่างประเทศร่ำรวยและยากจนชัดเจนขึ้นเมื่อมหาอำนาจทางเศรษฐกิจน้อยรายสามารถจับจองใช้วัคซีนส่วนใหญ่ที่ผลิตออกมาในช่วงแรก ของผู้ผลิตสองรายคือโมเดอร์นาและไฟเซอร์ของสหรัฐฯ โดยไฟเซอร์ร่มมือกับบริษัทเยอรมนี ไบโอเอ็นเทค

ส่วนโครงการนานาชาติที่จะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมลำ้ในการให้ได้มาซึ่งวัคซีนก็ดำเนินไปอย่างช้าๆเท่านั้น

ดังนั้น สำหรับหลายประเทศ วัคซีนของจีนและรัสเซียจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกันโครงการวัคซีนของทั้งสองประเทศนี้ก็เเสดงผลที่ให้ความหวังประเทศต่างๆ ได้ และอาจมีบทบาทสำคัญในการสยบการระบาดของโคโรนาไวรัส

อย่างไรก็ตามความหวังที่เกิดขึ้น มาพร้อมกับคำถามบางประการเกี่ยวกับความโปร่งใสและความปลอดภัย

A scientist works inside a laboratory of the Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology during the testing of a coronavirus vaccine, in Moscow, Russia, Aug. 6, 2020. (Russian Direct Investment Fund / Handout via Reuters)
A scientist works inside a laboratory of the Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology during the testing of a coronavirus vaccine, in Moscow, Russia, Aug. 6, 2020. (Russian Direct Investment Fund / Handout via Reuters)

สื่อวอชิงตันโพสต์สัมภาษณ์ นาออร์ บาร์ซีฟ แพทย์ด้านโรคติดเชื้อเเลนักระบาดวิทยา ซึ่งดำรงตำแหน่งรองศาสตรจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ Bloomberg School of Public Health ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอพกินส์

เขากล่าวว่า ความคิดที่ว่าวัคซีนของรัสเซียและจีนไม่ดีเท่าของประเทศอื่นเป็นความคิดปนกระเเสชาตินิยม เขาบอกว่า "ไม่มีเหตุผลที่จะเชื่อว่าวัคซีนของสองประเทศนี้ใช้ไม่ได้ผล" แต่ก็ย้ำว่า ผู้เชี่ยวชาญจะต้องเห็นข้อมูลจากการทดลองกับมนุษย์ในกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก หรือที่เรียกว่าการทดลองในเฟสที่สาม เสียก่อนที่จะมีข้อสรุปเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัย

ที่ผ่านมาประเทศกำลังพัฒนามีท่าทีที่ต่างกันออกไปในเรื่องการใช้วัคซีนจากจีนและรัสเซีย

สื่อต่างประเทศรายงานว่า นายกรัฐมนตรีฮุน เซนของกัมพูชาระบุว่ายังไม่สั่งวัคซีนของจีนโดยบริษัทซิโนเเวคเข้ามาใช้ เพราะกัมพูชา "ไม่ได้เป็นถังขยะ....และไม่ใช่ที่ทำการทดลองฉีดวัคซีน"

ทั้งนี้วัคซีนสูตรของซิโนเเวคยังไม่ได้ถูกรับรองโดยองค์กรระดับโลก

วอชิงตันโพสต์รายงานว่าตรุกีแสดงความกังขาต่อวัคซีนของรัสเซียในตอนเเรก แต่ก็ถอนคำวิจารณ์ในเวลาต่อมา ส่วนอาร์เจนตินาร์กล่าวว่าจะใช้วัคซีนของรัสเซียในเดือนนี้

นักวิจัยเจนนิเฟอร์ หวง บูอี้ แห่งบริษัท Rand Corp บอกกับวอชิงตันโพสต์ว่าการตอบรับวัคซีนของจีนและรัสเซียเกิดขึ้นขณะที่ยังไม่มีการพิจารณาผลการทดลองโดยผู้เชี่ยวชาญในขั้นตอน peer review เธอบอกด้วยว่าความมั่นใจเรื่องวัคซีนขึ้นอยู่กับผลการทดสอบในเฟสที่สาม

นอกจากนี้ผู้บริหารสูงสุดของซิโนเเวคเคยยอมรับในศาลว่าให้สินบนเจ้าหน้าที่จีนที่ดูเเลอุตสาหกรรมยาก่อนหน้านี้ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นของบริษัท ช่วงที่ยังไม่เกิดการระบาดของโคโรนาไวรัส ตามรายงานของสื่อสหรัฐฯ เช่น Seattle Times

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า หากเทียบกับโครงการวัคซีนของประเทศตะวันตก การทดลองของจีนมีข้อมูลน้อยมากเรื่องประสิทธิผลและความปลอดภัยที่เปิดเผยต่อสาธารณะ

FILE - Paramilitary police officers march in formation near a poster of Chinese President Xi Jinping at the gate to the Forbidden City, in Beijing, China, May 22, 2020.
FILE - Paramilitary police officers march in formation near a poster of Chinese President Xi Jinping at the gate to the Forbidden City, in Beijing, China, May 22, 2020.

อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีสี จินผิงของจีนได้กล่าวว่าวัคซีนของจีนจะเปิดให้มีการใช้ได้ทั่วโลก และบริษัทจีนก็ได้ลงนามความตกลงในการส่งวัคซีนต้านโควิด-19 กับหลายประเทศเเล้ว เช่นอินโดนีเซีย สิงคโปร์ ตุรกีและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยอ้างอิงระดับประสิทธิภาพร้อยละ 86 ในการทดลองกับคนกว่า 3 หมื่นราย ตามรายงานของบลูมเบิร์ก

รายงานฉบับนี้ระบุว่า นายหวาง หัวชิง ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของจีน กล่าวว่ามาตรฐานการพัฒนาและตรวจสอบความปลอดภัยของวัคซีนจีนเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก

XS
SM
MD
LG